13 ก.ย. เวลา 13:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เนเธอร์แลนด์ หยุดน้ำท่วม ที่เจอมา 1,000 ปี ได้ด้วย “โครงการเดียว”

“น้ำท่วม” เป็นปัญหาที่ประเทศไทยต้องเจอมาตลอด และสร้างความสูญเสียนับไม่ถ้วน อย่างเช่น เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2011 จนมาถึงน้ำท่วมเชียงราย ในช่วงล่าสุด
7
แต่รู้ไหมว่า 1,000 ปีที่แล้ว เนเธอร์แลนด์ ก็เจอปัญหาไม่ต่างกัน แถมยังหนักกว่าด้วยซ้ำ เพราะประเทศแห่งนี้มีพื้นที่ส่วนใหญ่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
4
จนในที่สุด ความไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา และการวางแผนด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ก็ทำให้เนเธอร์แลนด์ หยุดน้ำท่วมซ้ำซากได้ ด้วยโครงการใหญ่ โครงการเดียว
1
เนเธอร์แลนด์ ทำอะไรถึงหยุดน้ำท่วมได้
ประเทศไทย เรียนรู้จากเรื่องนี้อย่างไรได้บ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
6
ตั้งแต่ปี 1000 เป็นต้นมา เนเธอร์แลนด์ต้องเผชิญกับพายุรุนแรงมาโดยตลอด เพราะโดยเฉลี่ยแล้ว ทุก ๆ 9 ปี พายุจะมาเยือนเนเธอร์แลนด์แบบไม่ได้รับเชิญเสมอ
1
และพายุไม่ได้เดินทางกลับไปด้วยตัวคนเดียว เพราะยังลากชาวดัตช์กว่า 360,000 ชีวิตไปด้วย
2
ทำให้เนเธอร์แลนด์ พยายามป้องกันภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นให้ได้ แต่ก็ยังไม่เป็นระบบมากเท่าไรนัก
1
จนในปี 1932 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ เริ่มต้นโครงการ “Zuiderzee” ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการเกี่ยวกับเขื่อนขนาดยาวกว่า 30 กิโลเมตร ทางด้านตอนเหนือของประเทศ
3
ทว่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เป้าหมายการฟื้นฟูประเทศ กลายเป็นเรื่องแรกที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้ความสำคัญ
งบประมาณและการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ จึงถูกละเลย และเลื่อนออกไปก่อนแทน
1
แต่แล้ว พายุก็เดินทางมาเยือนประเทศแห่งนี้อีกครั้งในปี 1953 โดยไม่สนใจเลยว่า เนเธอร์แลนด์พร้อมรับมือกับพายุแล้วหรือยัง..
และด้วยสภาพของระบบการป้องกันที่ขาดการดูแลก่อนหน้านี้ เมื่อทำนบกั้นน้ำพังทลาย น้ำจึงเข้าท่วมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอย่างรวดเร็ว
2
ความสูญเสียที่เนเธอร์แลนด์เผชิญ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจมากถึง 5,400 ล้านยูโร หรือคิดเป็นมูลค่าราว ๆ 2 ล้านล้านบาท ในปัจจุบันหลังปรับด้วยเงินเฟ้อ
7
และที่ประเมินเป็นมูลค่าไม่ได้เลยก็คือ ชีวิตของประชาชนที่สูญเสียไปเกือบ 2,000 คน สัตว์ที่ล้มตายไปถึง 10,000 ชีวิต และบ้านเรือนที่เสียหายจำนวนมาก
4
จากบทเรียนที่แสนเจ็บปวดและมีราคาแพงสำหรับเนเธอร์แลนด์ ทำให้รัฐบาลกลับมาตั้งเป้าหมายและให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ
3
ด้วยโครงการที่ชื่อว่า “Delta Works” เพื่อสร้างระบบจัดการน้ำให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
2
โดยโครงการนี้ จะมีทั้ง ประตูล็อกกั้นน้ำ เขื่อน ทำนบกั้นน้ำ และเขื่อนกั้นพายุทะเล ไว้สำหรับจัดการน้ำในช่วงเวลาปกติ และป้องกันน้ำในช่วงที่มีพายุมาเยือน
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างพื้นที่ว่างให้แม่น้ำ หรือ River Room โดยขยายพื้นที่ริมแม่น้ำให้กว้างขึ้นและกั้นด้วยทำนบ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมได้อย่างรวดเร็ว
7
โดยเริ่มต้นก่อสร้างตั้งแต่ปี 1954 เป็นต้นมา ก่อนเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดในปี 1997 ด้วยงบประมาณทั้งหมดกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
5
ซึ่งหากคิดเป็นเงินปัจจุบัน โครงการนี้มีมูลค่ากว่า 3.3 แสนล้านบาท เลยทีเดียว
1
และปัจจุบัน โครงการนี้ยังได้รับเงินสนับสนุน
ต่อปีกว่า 4.6 หมื่นล้านบาท
โดย 55% ถูกใช้ในการก่อสร้างใหม่ ๆ และที่เหลืออีก 45% ใช้สำหรับการดูแลรักษาระบบจัดการน้ำโดยรวม
1
โดยเงินสนับสนุนตรงนี้ ก็มาจากภาษีจัดการน้ำของชาวดัตช์ และงบประมาณจากรัฐบาลส่วนกลาง
2
อย่างไรก็ตาม โครงการที่ดีไม่อาจสำเร็จได้ ถ้าไม่มีการวางระบบไว้ เนเธอร์แลนด์จึงวางระบบต่าง ๆ เพื่อให้โครงการ Delta Works ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3
ไล่ตั้งแต่ “ระบบคาดการณ์และติดตาม”
1
ศูนย์จัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์ (WMCN) จะคอย
คาดการณ์การเกิดพายุ สั่งปิดประตูเขื่อน และเตือนภัยเมื่อระดับน้ำถึงจุดในระดับความเสี่ยงต่าง ๆ
4
ซึ่งการเตือนภัยจะแบ่งออกเป็นระดับสีที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่สีเขียวที่ไม่น่ากังวล ไปจนถึงสีแดงที่น่ากังวล และต้องเตรียมอพยพผู้คนออกจากพื้นที่
ศูนย์นี้ยังทำงานร่วมกับหน่วยงานการสื่อสารยามวิกฤติของประเทศ (NKC) เพื่อกระจายข่าว แจ้งเตือนผู้คนให้รับรู้เหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที และคอยประชาสัมพันธ์ให้รับรู้ความเสี่ยงของการเกิดน้ำท่วม ผ่านคู่มือการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ
ระบบต่อมา คือ “ระบบซ่อมบำรุง”
สิ่งนี้ก็มีความสำคัญในการจัดการน้ำทั้งระบบ เพราะหากมีปัญหาในการใช้งาน ระบบจัดการน้ำทั้งหมดจะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่
2
โดยก่อนฤดูฝนจะมาเยือน จะมีการทดสอบการทำงานในทุก ๆ 2 อาทิตย์, 3 เดือน หรือ 1 ปี สลับกันไป
3
หากพบปัญหา ก็จะมีการเข้าไปแก้ไข ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนอะไหล่
1
นอกจากดูแลอุปกรณ์แล้ว บุคลากรทำงาน ก็เป็นส่วนสำคัญซึ่งจะได้รับการฝึกอบรมในช่วงเดียวกัน
โดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่า เมื่อใช้งานจริง ระบบทั้งหมดจะสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น
3
และอีกส่วนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ คือ
“ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล”
เนเธอร์แลนด์ได้กลายเป็นพื้นที่ที่ให้ประเทศต่าง ๆ มาเรียนรู้ระบบการจัดการน้ำ
เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนี้มากขึ้น
1
อีกทั้งยังเข้าร่วมเครือข่ายเขื่อนกั้นพายุระหว่างประเทศ โดยความรู้และความเชี่ยวชาญที่ได้แลกเปลี่ยนกัน
ทำให้เนเธอร์แลนด์สามารถพัฒนานวัตกรรมการจัดการน้ำต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง
1
นอกจากระบบที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์แล้ว เนเธอร์แลนด์ยังใช้ประโยชน์จากธรรมชาติด้วยการสร้างระบบ “Sand Motor” ที่นำทรายปริมาณมหาศาลไปเทบริเวณปากอ่าว เพื่อทับถมให้กลายเป็นกำแพงกั้นคลื่นเพิ่มเติม
1
โดยระบบทั้งหมดนี้ ก็จะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรกลางเพียงแห่งเดียวที่ชื่อว่า Delta Commission เพื่อทำให้การทำงานเป็นระบบและไม่วุ่นวาย
1
ทั้งหมดนี้คือความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับเนเธอร์แลนด์
ประเทศที่รัฐตัดสินใจอย่างจริงจังว่า ต้องจัดการปัญหาเรื่องน้ำท่วมให้ได้ เพื่อไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่อีก..
1
ด้วยการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในการจัดการน้ำ สร้างระบบสนับสนุนการทำงาน ผสมผสานวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
1
ก็น่าคิดว่า ด้วยงบประมาณที่ทุ่มไปกว่า 3.3 แสนล้านบาท สามารถปกป้องชาวดัตช์ได้จากน้ำท่วมซ้ำซาก และหากเกิดน้ำท่วม ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะไม่มากนัก
1
หันกลับมามองที่ประเทศไทย บทเรียนจากเนเธอร์แลนด์ก็คงเห็นแล้วว่า โครงการที่ดี ต้องมาพร้อมการจัดการน้ำที่เป็นระบบ ถึงจะทำให้ระบบป้องกันน้ำท่วมทรงพลังได้
และหากลองเทียบเล่น ๆ ว่างบประมาณที่เนเธอร์แลนด์ลงทุนไปมากแค่ไหน เราลองมาเทียบกันดู
2
โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 450,000 ล้านบาท
งบประมาณสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ 120,000 ล้านบาท
ท่าเรือแหลมฉบัง เฟสสาม 110,000 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ 100,000 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีแดง 96,000 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีชมพู 53,000 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 50,000 ล้านบาท
สถานีรถไฟกลางบางซื่อ 16,000 ล้านบาท
4
จะเห็นได้ว่า เนเธอร์แลนด์ใช้งบมากกว่าหลาย ๆ โครงสร้างพื้นฐาน ที่ประเทศไทยสร้างขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่า โครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต เสียอีก..
18
โฆษณา