14 ก.ย. เวลา 10:59 • ท่องเที่ยว
สี่ป้อ

EP.16 สิ้นแสงฉาน..สู่เจ้าฟ้าองค์สุดท้าย ณ สีป้อ

จากหนังสือ “สิ้นแสงฉาน” Twilight Over Burma ที่เขียนขึ้นโดย อิงเง่ ซาเจนท์ สตรีชาวออสเตรียผู้เป็นหญิงที่รักของเจ้าฟ้าจาแสงแห่งเมืองสีป้อ ภาพคฤหาสน์สีขาวสไตล์โคโลเนียล เป็นแรงบันดาลใจให้สักครั้งย้อนอดีตกลับไปที่เคยเป็นบ้านแห่งความรักของคนละฟากฟ้าทีมาใช้ชีวิตด้วยกัน
เส้นทางจากมันดะเลไปเมืองสีป้อในรัฐฉาน
จากมันดะเล ไปพินอูวินแลต่อไปสีป้อเป็นระยะทาง 200 กว่ากิโล มีรถไฟหวานเย็นที่นั่งจากมันดะเล หรือจะขึ้นที่พินอูลวินได้ ฉันเลือกเหมารถส่วนตัวจากพินอูลวินไปกลับวันเดียวระยะเวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงกว่าต่อเที่ยว ระหว่างทางเป็นวิวเขาสลับไป เส้นทางไม่ค่อยดีนัก
เมืองสีป้อจากมุมสูง
“เมืองสีป้อเป็นเมืองของชาวไทใหญ่ในรัฐฉานในอดีตมีชื่อว่า “องค์ป่อง” แต่พม่าเรียกว่าสีป้อ ตามพงศาวดารกล่าวว่าเมืององค์ป่องเป็นนครรัฐที่ปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้ามายาวนานกว่า 2,000 ปีตั้งแต่59 ปีก่อนคริสตกาล คือ เจ้าขุนคำซอ จนถึง ค.ศ.1960 คือ เจ้าจาแสง เจ้าฟ้าองค์สุดท้ายของเมืองสีป้อ รวมทั้งสิ้น 95 องค์ ตั้งอยู่ในรัฐฉานค่อนไปทางเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 11,712 ตารางกิโลเมตร
อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1,000 ฟุต อากาศจึงอบอุ่นกว่าเมืองที่อยู่บนที่ราบสูง"
เจ้าจาแสงและมหาเทวีแห่งสีป้อ
เจ้าจาแสงและมหาเทวีแห่งสีป้อได้ชื่อว่าเป็นคู่รักราชนิกุลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาเมืองไทใหญ่ 30 กว่าแห่ง เจ้าจาแสงเรียนจบหลังจากได้ไปศึกษาในสหรัฐอเมริกามา 4 ปีเต็ม ในสาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ และมุ่งมั่นนำความรู้กลับมาพัฒนาสีป้อ อีกส่วนอาจเป็นเพราะมหาเทวีเป็นชาวต่างชาติ เจ้าจาแสงเมื่อได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าฟ้าหลวงของสีป้อก็ได้พัฒนาการเกษตรของสีป้อ และบุกเบิกอุตสาหกรรมเหมืองแร่เข้ามาสู่เมืองสีป้อ
พระองค์มีความตั้งใจที่จะปฏิรูปการเมืองการปกครองของสีป้อเพื่อเปลี่ยนจากระบอบศักดินาที่ชาวบ้านต้องหมอบกราบและคลานเข้าเฝ้าตลอดเวลาให้เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น เจ้าจาแสงตั้งใจที่จะฟื้นฟูความเป็นอยู่ที่เสื่อมถอยลงจากช่วงสงครามให้ดีขึ้นโดยเร็วที่สุด รวมทั้งฟื้นฟูอุตสาหกรรมในครัวเรือน เจ้าจาแสงยังได้ปลดข้าราชการระดับสูง 2 คน ออกจากตำแหน่งในข้อหาคอร์รัปชั่นและใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่ผิด ทั้งๆ ที่การให้สินน้ำใจแก่ข้าราชการถือเป็นเรื่องที่ธรรมดายิ่งในรัฐฉาน
ในด้านกรรมสิทธิ์ที่นา เจ้าจาแสงได้ยกที่นาทุกผืนให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ชาวนาผู้ทำกิน ซึ่งแต่เดิมที่นาเป็นหมื่นๆ ไร่ ของสีป้อเป็นกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรมของเจ้าฟ้าหลวง
อิงเง่ ซาเจนท์เป็นนักเรียนทุนจากประเทศออสเตรีย ได้พบรักกับเจ้าจ่าแสงที่มหาวิทยาลัยด้านเหมืองแร่โคโลราโด
อิงเง่ ซาเจนท์เป็นนักเรียนทุนจากประเทศออสเตรีย ได้พบรักกับเจ้าจ่าแสงที่มหาวิทยาลัยด้านเหมืองแร่โคโลราโด (The Colorado School of Mines) และเรียนจบด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ ทั้งสองได้แต่งงานกันในปี ค.ศ.1953 จากนั้นจึงเดินทางกลับมายังรัฐฉานโดยได้มีการสถาปนาอิงเง่ ซาเจน์ขึ้นเป็นมหาเทวี หรือ เจ้าสุจันทรี มหาเทวี แต่ชาวเมืองสีป้อ
มักเรียกเธอว่า “เจ้าแม่” อิงเง่ได้เปิดโรงเรียนสามภาษา คือ ไทใหญ่ พม่า และอังกฤษ สำหรับเด็กเล็กใกล้ๆ หอตะวันออก
คฤหาสน์ของเจ้าฟ้าจาแสง กับนางอิงเหง่
ประตูทางเข้า
วันที่เราไปถึงทางคฤหาสน์หลังนี้ปิดไม่ให้เข้า คนขับรถโทรติดต่อคนรู้จักจนให้คนที่ถือกุญแจที่เป็นญาติห่างๆเป็นผู้ดูแลมาเปิดให้เข้าชม
เจ้าฟ้าจาแสง อิงเง่ ซาเจนท์ ลูกทั้งสอง คือ ‘เจ้าเกนรี’ และ ‘เจ้ามายารี’
การล่มสลายของเจ้าฟ้าไทใหญ่
ในวันที่ 2 มีนาคม ปี ค.ศ.1962 นายพลเนวินนำกำลังทหารยึดอำนาจของรัฐบาลอูนุที่มาจากการเลือกตั้งล้มล้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป้าหมายหลักที่นายพลเนวินทำรัฐประหารก็เพื่อสกัดกั้นการใช้สิทธิ์ในการถอนตัว (Right secession) ออกจากสหภาพของรัฐฉาน รัฐบาลพม่า ตามสนธิสัญญาปางโหลง
ภายใต้การนำของนายพลเนวินได้พยายามลดบทบาทเจ้าฟ้าไต โดยการโอนอำนาจของเจ้าฟ้าให้ไปอยู่ภายใต้รัฐบาลแห่งรัฐฉาน (Government of the Shan States) เจ้าฟ้าชาวไตทั้งหมดจะต้องสละอำนาจที่มีตั้งแต่ครั้งอดีตพร้อมทั้งโอนทรัพย์สมบัติของตนให้กับรัฐบาลแห่งรัฐฉาน โดยทางรัฐบาลจะแลกเปลี่ยนโดยการให้เงินบำนาญเลี้ยงชีพให้แก่เจ้าฟ้า
นายพลเนวินที่สั่งการให้จับกุมเจ้าฟ้าชาวไตและผู้นำชาวคะเรนนีทั้งสิ้น 36 คน พร้อมกับรัฐมนตรีอีก 5 คน หลังการจับกุมตัวได้มีเจ้าฟ้าสองคนที่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย คือ เจ้าจาแสง เจ้าฟ้าเมืองสีป้อ และเจ้าส่วยแต้ก เจ้าฟ้าเมืองยองห้วย ผู้เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของพม่า
อิงเง่ ซาร์เจนท์ หรือ เจ้าสุจันทรีมหาเทวี ชายาของเจ้าจาแสงเชื่อว่า เจ้าจาแสงนั้นถูกทหารของเนวินจับตัวไป เพราะหลังถูกจับตัวไปไม่นานได้รับจดหมายข้อความสั้นๆ จากเจ้าจาแสงที่ระบุว่า ถูกจับตัวไว้ที่กระท่อมแห่งหนึ่ง แต่เมื่อหลายปีผ่านไปก็ไม่ได้รับข่าวของเจ้าฟ้าสีป้ออีกเลย
เจ้าสุจันทรีจึงได้พาธิดาทั้งสอง ซึ่งก็คือ “เจ้าเกนรี” และ “เจ้ามายารี” เดินทางออกจากพม่า ใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบัน
คฤหาสน์ของเจ้าฟ้าจาแสง
ร้านค้าในเมืองสีป้อ
ที่มา
  • อัครเดช เชยใย
  • Wikipedia
  • กว่าจะสิ้นแสงฉาน - อิงเหง่ (แปลโดยมนันยา)
โฆษณา