14 ก.ย. เวลา 02:49 • หุ้น & เศรษฐกิจ

De-dollarization เกิดจากการกระทำของตัวเอง

การด้อยค่าหรือยกเลิกใช้สกุลเงินดอลลาร์ (De-dollarization) เป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งมันเกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ เอง และส่งผลต่อการลดความน่าเชื่อถือและความสนใจในสกุลเงินดอลลาร์ทั่วโลกไปแล้ว เนื้อหาใจความสำคัญจากบทความซึ่งเขียนโดย เดวิด ลูบิน จาก Chatham House สถาบันวิจัยและคลังสมองของอังกฤษ - อ้างอิง: [1]
1
ลูบินตั้งข้อสังเกตว่า “การเติบโตของอำนาจทางเศรษฐกิจและการทหารของจีนไม่ได้หมายความว่าดอลลาร์จะถูกแทนที่ได้โดยอัตโนมัติด้วยเงินหยวน” เพราะว่า “ดอลลาร์มีไว้สำหรับการเงินระหว่างประเทศ เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารระหว่างประเทศ” มันสะดวกและหยั่งรากลึกไปแล้ว นั่นคือเหตุผลที่ดอลลาร์คิดเป็นประมาณ 60% ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของโลกและ 90% ของการชำระเงินทั่วโลก แม้ว่าจีดีพีสหรัฐฯ จะคิดเป็นประมาณ 25% ของทั้งโลกก็ตาม
1
จริงอยู่ที่เมื่อ 20 ปีก่อน ดอลลาร์คิดเป็น 67% ของเงินสำรองเงินตราต่างประเทศของโลก ในขณะที่การสูญเสียไป 7% (เหลือตอนนี้อยู่ 60%) เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนทิศทางของผู้เล่นจำนวนหนึ่งไปยังสกุลเงินของแคนาดา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ลูบินเรียกประเทศเหล่านี้ว่า “พันธมิตรของอเมริกา”
เครดิตภาพ: ByoungJoo / Getty Images
ตามเนื้อหาในบทความของ Chatham House ปัจจัยสองประการที่สามารถ “ทำลายดอลลาร์” ได้นั้น ทั้งสองอย่างเป็นข้อบกพร่องในโครงสร้างของสหรัฐฯ เอง ปัจจัยแรกคือ “อุปทานส่วนเกินทั่วโลกของดอลลาร์” หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ กำลังเติบโตในอัตราที่เร็วกว่าเศรษฐกิจประเทศหลายเท่า และมูลค่าที่แท้จริงของดอลลาร์ก็ลดลง 20% ในช่วงสามปีที่ผ่านมา (อ้างอิง: [2]) อย่างไรก็ตามในที่นี้เรากำลังพูดถึงความเสี่ยงต่ออัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ของสหรัฐฯ เป็นหลัก ไม่ใช่ต่อสถานะของสกุลเงิน
ปัจจัยที่สองซึ่งเลวร้ายกว่านั้นคือ “นโยบายคว่ำบาตรของสหรัฐฯ” การอายัดทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ถือเป็นการใช้ดอลลาร์เป็นอาวุธที่รุนแรงที่สุดจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่มีการโจมตีธนาคารกลางของลิเบีย อิหร่าน เวเนซุเอลา และอัฟกานิสถาน ในลักษณะที่คล้ายกัน (แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก) นี่คือปัจจัยหลักที่ทำให้โลกต้องกลับมานั่งคิดถึงทางเลือกอื่นแทนดอลลาร์
หนังสือ Economic Sanctions as an Instrument of U.S. Foreign Policy by Helen Osieja
แม้ว่าลูบินจะตั้งข้อสังเกตว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เขาไม่เห็นความเสี่ยงใดๆ ที่เงินดอลลาร์สหรัฐจะสูญเสียสถานะสกุลเงินชั้นนำของโลก แต่เขาอาจคิดผิดก็ได้ เพราะจำนวนวิกฤตที่มากขึ้นอาจส่งผลร้ายที่มีนัยสำคัญตามมา
ตัวอย่างเช่น แผนนโยบายหนึ่งของ “กมลา แฮร์ริส” หากเธอเข้ามานั่งเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอัดฉีดเงิน 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ในรูปแบบของสวัสดิการ และนี่อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์แล้ว และยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อัตราเงินเฟ้อจะพุ่งสูงขึ้น หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้กับผู้ถือตราสารหนี้ของอเมริกา เป็นต้น เมื่อถึงจุดหนึ่ง “ระบบแชร์ลูกโซ่ของหนี้อเมริกา” นี้จะล่มสลายและเกิดอย่างกะทันหันไม่ทันตั้งตัว
7
บทความต้นเรื่องอ้างอิงได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
1
เครดิตภาพ: Chatham House
เรียบเรียงโดย Right Style
14th Sep 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Modern Diplomacy>
โฆษณา