14 ก.ย. เวลา 06:14 • ศิลปะ & ออกแบบ
วัดยางหลวง อ.แม่เเจ่ม เชียงใหม่

ต้นสลาก "ผ้าจกหน้าหมอน" และ "ผ้าเช็ด" ของชาวแม่แจ่ม

ต้นสลากของพ่ออุ้ยหลานและแม่อุ้ยวิไล บุญเทียม พร้อมครอบครัว ประดับตกแต่งด้วย "ผ้าจกหน้าหมอน" และ "ผ้าเช็ด" รูปแบบแม่แจ่ม (อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่)
ต้นสลากที่ตกแต่งด้วยผ้าทอพื้นเมืองแม่แจ่ม
"ผ้าจกหน้าหมอน" และ "ผ้าเช็ด" (ผ้าพาดบ่าสำหรับบุรุษ) ทอตกแต่งลวดลายด้วยวิธีเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษแบบไม่ต่อเนื่องและวิธีเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษแบบต่อเนื่อง ซึ่งในท้องถิ่นจะเรียกวิธีการทอทั้ง 2 วิธีนี้ว่า "จก" (ใช้ขนเม่น และไม้หรือเหล็กที่มีขนาดยาว มีปลายเล็กเรียวมนในการคัดแยกเส้นยืนออกจากกันเป็น 2 ส่วน ตามลวดลายที่ต้องการ) ทำให้ต้นสลากต้นนี้ดูโดดเด่นและสวยงามเป็นพิเศษกว่าต้นสลากอื่นๆ
"ผ้าหน้าหมอน" หรือ "ผ้าจกหน้าหมอน" และ "ผ้าเช็ด" (หรือผ้าพาดบ่าสำหรับบุรุษ)
งานตานสลากวัดยางหลวง 8 กันยายน 2567
ข้อมูลและถ่ายภาพ: อรรถพงษ์ ประดิษฐพงษ์
สามารถแชร์ข้อมูลได้
แต่ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดลอกข้อมูล เพื่อไปใช้ในงานส่วนตัว ก่อนการได้รับอนุญาตทุกกรณีครับ
.
อ้างถึงสิทธิในลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันที นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีการใดๆ
โฆษณา