14 ก.ย. เวลา 07:28 • ความคิดเห็น

ออกจากม.33 และรอรับเงินบำนาญชราภาพ หรือเข้าม.39 เพื่อคงสิทธิการรักษาพยาบาล แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน ?

จากมนุษย์เงินเดือน ถูกหักประกันสังคมทุกเดือนตามมาตรา 33 นอกจากจะได้สิทธิรักษาพยาบาลรพ.รัฐ ,ทำฟัน,เงินชดเชยว่างงานหรือออกจากงาน แล้ว อีกอย่างนึงที่หลายคนคาดหวังคือ บำนาญชราภาพ ที่จะได้รับหลังเกษียณนี่แหละค่ะ แต่อย่างที่แปะรูปไว้ข้างต้น (ขอบคุณรูปภาพ จาก fb สำนักงานประกันสังคมกรมแรงงาน นะคะ) มีเงื่อนไขและข้อกำหนดของการได้รับบำนาญ คือ ต้องนำส่งประกันสังคม 180 เดือน (หรือ 15 ปี) และอายุ 55 ปี ทั้งสองอย่าง แล้วถ้าเราอยู่ในเงื่อนไขครบหรือไม่ครบก็ตาม แต่ออกจากงานออกจากงานก่อน จะทำอย่างไร
หลายคนเลือกที่จะนำส่งม.39 เพื่อรักษาสิทธิรักษาพยาบาล แต่ก็ยังคาดหวังการได้รับบำนาญชราภาพด้วย และคิดว่าได้ตามยอดเงิน 3 พันบาท แต่!!! เดี๋ยวก่อน ลองอ่านวิธีคำนวณก่อนค่ะ เราคำนวณจาก 20% ของเงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย(5 ปี) และบวกเพิ่มอีก 1.5% ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน!
เน้นที่ 60 เดือนสุดท้ายนะคะ โดยหลักแล้วถ้าเราหัก ตามม.33 สมมุตที่เงินค่าจ้างสุดท้ายของเราอยู่ที่ 15,000 ทั้ง 60 เดือน เฉลี่ยเท่านี้แหละ (ปกส.หักเงินค่าจ้างสูงสุดที่ 15,000) ถ้าเข้าทุกข้อตามนี้ ทำงาน 15 ปี ไม่มียื่นม.39 เลย บำนาญจะได้ 3000 บาท
ตามสูตรคำนวณในภาพเลยค่ะ
แล้วบังเอิญออกจากงานเราไปนำส่งม.39 เพื่อสิทธิทำฟัน หรือรักษาพยาบาลล่ะ ถึงเวลาอายุ 55 ไปรับเงินบำนาญจะไมได้ที่ 3000 นะคะ จะคำนวณให้ดู เนื่องจากฐานค่าจ้างเปลี่ยน ม.38 ฐานค่าจ้างคือ 4800 บาท ต่อเดือน
ดังนั้นค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายจะเปลี่ยน เช่นหลังจากออกจากงาน ไปยื่นม. 39 มา 2 ปี (24 เดือน ) สมมุตินะคะ ดังนั้น ฐานเงินค่าจ้างที่จะคำนวณ (15,000x36)+ (4,800x24 ) หาร 60 = 10,920 บาท บำนาญจะได้รับ 20x10,920 หาร 100 = 2,184 บาท แต่ส่วนใหญ่กว่าจะรู้ก็คืออายุ 55 แล้วไปทำเรื่องรับบำนาญแล้วและยื่นม.39 มาเนิ่นนานแล้ว จนกลายเป็นฐาน เฉลี่ย 60 เดิอนสุดท้าย ทำให้บำนาญที่ได้รับคือ 20x4,800 หาร 100 = 960 บาท!!! หลายคนไม่รู้ และทุกวันนี้ก็ยังมีอีกมากที่ไม่รู้
แล้วแบบนี้จะทำอย่างไร วางแผนแบบไหน ก็ต้องกลับมาถามตัวเองก่อน ว่าวิถีชีวิตเรา ต้องใช้อะไร หรือจำเป็นอย่างไร เช่น บางคน ต้องไปรพ.รัฐและใช้สิทธิเป็นประจำด้วยมีโรคประจำตัว ต้องไปรับยา ไปหาหมอตามนัดอยู่เสมอ แบบนี้ คงสิทธิรักษาพยาบาล แล้วเข้าม.39 น่าจะคุ้มค่ากว่า แต่ลองแอบๆไปดูสิทธิบัตรทองด้วยแล้วเปรียบเทียบกัน แอบๆถามหมอหรือพยาบาลที่เราไปเจอบ่อยๆก็ได้ว่า ยาหรือโรคของเราใช้สิทธิบัตรทองได้มั้ย ก็ดูความจำเป็นของเราเป็นหลักค่ะ เพราะ 960 มันได้แน่ๆ แค่ช้ำใจคิดว่าจะได้ 3พัน ก็ต้องแลกกัน
อีกอย่างกรณี ม.39 กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทจะได้รับสิทธิคือ
1.ช่วยเหลือค่าจัดการศพ 50,000
2.เงินสงเคราะห์จะจ่ายตามจำนวนและระยะเวลาที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบไว้ก่อนเสียชีวิต ก็เงินสะสมแหละค่ะ อันนี้จะเป็นเงินก้อน
แต่ถ้าไม่ได้มีความจำเป็นเรื่องสิทธิรักษาพยาบาล คำนวณดูแล้ว มีประกันสุขภาพ หรือรู้สึกว่าสิทธิบัตรทองประกันสุขภาพทั่วหน้า (จะได้ทันทีอัตโนมัติกรณีออกจากประกันสังคม และสิทธิอยู่ในรพ.ใกล้บ้าน แต่ปัจจุบัน สธ.กำลังดำเนินการให้สิทธิบัตรทองไปรพ ไหนก็ได้ไม่ต้องทำใบส่งตัว) ก็แนะนำอย่าไปเข้าม.39 ค่ะ ส่วนตัวมีความจำเป็นและออกจากงานแล้วเหมือนกัน คง 60 เดือนสุดท้ายทีค่าจ้างเฉลี่ย 15,000 ค่ะ แต่ของเราจากที่คำนวณบำนาญน่าจะได้ที่ประมาณ 4 พันกว่าบาท เพราะส่งมา 21 ปี
อันนี้เป็นทริคนะคะ เคยไปศึกษามาเหมือนกัน และตั้งใจว่าอาจจะทำแบบนี้ คือพออายุ 55 เราก็ไปทำเรื่องรับเงินบำนาญ รับก่อนสัก 2 เดือน แล้วค่อยหยุดรับ เพื่อล็อคฐานที่ 15,000 หลังจากนั้นก็สมัครม.39 ส่วนตัวไม่ได้สนใจเรื่องสิทธิรักษาพยาบาล เพราะมีประกันสุขภาพ แต่จะยื่นสักพัก เพื่อประโยชน์จากการบวกเพิ่ม 1.5% ของระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ แต่ต้องระวังว่าต้อง ครบ 12เดือนด้วยนะคะ ไม่งั้นจะยื่นแล้วไม่ได้ปย.ใดๆ ก็ถ้าประกันสังคมเค้ายังไม่แก้ไขวิธีคำนวณ อาจจะทำให้ได้บำนาญเพิ่มจากเดิม 4 พันกว่า เป็น 5 พันกว่าๆได้
1
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับหลายๆท่านนะคะ ในการวางแผนในอนาคตค่ะ
โฆษณา