15 ก.ย. เวลา 05:11 • ประวัติศาสตร์

กรุงเทพมหานครในป้ายวัด

วันนี้เป็นเรื่องเล็กๆในวัดกับเรื่องราวของ "ป้ายวัด" เพราะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีทุกวัด หลายวัดมีการเปลี่ยนป้ายไปตามกาลเวลา แต่บางวัดถึงจะเปลี่ยนป้ายใหม่แล้วก็ยังเก็บป้ายเก่าไว้ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ในการเที่ยววัดเหมือนกัน วันนี้เลยเอาป้ายวัดน่าสนใจ 3 ยุคมาให้ชมกันครับ และทั้งหมดเป็นป้ายวัดจากกรุงเทพมหานครครับ
วันนี้เป็นเรื่องเล็กๆในวัดกับเรื่องราวของ "ป้ายวัด" เพราะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีทุกวัด หลายวัดมีการเปลี่ยนป้ายไปตามกาลเวลา แต่บางวัดถึงจะเปลี่ยนป้ายใหม่แล้วก็ยังเก็บป้ายเก่าไว้ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ในการเที่ยววัดเหมือนกัน วันนี้เลยเอาป้ายวัดน่าสนใจ 3 ยุคมาให้ชมกันครับ และทั้งหมดเป็นป้ายวัดจากกรุงเทพมหานครครับ
ที่บอกว่าแบ่งเป็น 3 ยุค เพราะชื่อของกรุงเทพมหานครนี้ผ่านการเปลี่ยนครั้งใหญ่ๆมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2459 มีการประกาศให้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น "จังหวัด" ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครมี 2 จังหวัด คือ "จังหวัดพระนคร" และ "จังหวัดธนบุรี" ในยุคสมัยนี้ยังใช้คำว่า ตำบล และ อำเภอ
ป้ายวัดซุนเฮงยี่ (ปัจจุบันรวมกับศาลเจ้าโจวซือกง)
ป้ายวัดอัมพวา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 มีการรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเข้าเป็นจังหวัดเดียวกัน คือ "จังหวัดพระนครหลวงกรุงเทพธนบุรี" ซึ่งยุคนี้ยังคงใช้คำว่า ตำบล และ อำเภอ เช่นกัน แต่ชื่อจังหวัดนี้ใช้เพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น ทำให้ในบรรดาป้ายจังหวัดของกทม. รุ่นนี้จะเป็นรุ่นที่หายากที่สูด
ป้ายวัดกำแพงบางจาก ย่อจังหวัดเหลือแค่ นครหลวงฯ
ปีถัดมา พ.ศ. 2515 มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "กรุงเทพมหานคร" พร้อมกับการเปลี่ยนคำเรียกเป็น แขวง และ เขต ซึ่งเป็นระบบที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ป้ายวัดแก้วฟ้าจุฬามณี
โฆษณา