งานวิจัยนี้ได้ประมวลความรู้ไว้อย่างน่าสนใจว่า ในทางรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การมี “Power” หรือ “อำนาจ” คือ การครอบครองความสามารถในการทำให้ผู้อื่นหรือประเทศอื่นทำตาม ทั้งนี้ Power จะแบ่งออกเป็น Hard Power และ Soft Power
Hard Power คือ ความสามารถในการ “บังคับ” ให้ผู้อื่นทำตาม โดยส่วนมากมักจะเป็นการใช้กำลังทางทหาร การใช้กลยุทธ์การทูตเชิงบังคับ และการใช้อำนาจคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นได้มายาวนานในประวัติศาสตร์มวลมนุษยชาติ โดยเฉพาะในยุคล่าอาณานิคม
2
ในทางตรงกันข้าม Soft Power คือ ความสามารถในการ “ชักจูง” หรือ “ดึงดูด” ให้ผู้อื่นทำตาม ไม่ใช่การบังคับ โดย Soft Power นั้น เป็นคำที่ได้รับการนำเสนอเป็นครั้งแรกในปี 1990 โดย Joseph Nye นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์คนสำคัญของสหรัฐฯ และปรากฎในผลงานอื่นของเขาต่อ ๆ มา
3
กล่าวอีกนัยหนึ่ง Soft Power หมายถึง ความสามารถของประเทศในการชักจูงและดึงดูดประเทศอื่น ๆ ให้ทำตาม ผ่านวัฒนธรรม และที่จริงอาจขยายไปถึงค่านิยมทางการเมืองอีกด้วย โดยอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงในการเผยแพร่ Soft Power คือ อุตสาหกรรมบันเทิงและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ (หรือของประเทศไทยคืออุตสาหกรรมอาหารด้วย)
2
มาถึงตรงนี้ ทุกท่านคงเห็นแล้วว่า ประเทศหนึ่ง ๆ ที่จะมีทั้ง Hard Power และ Soft Power ในทางปฏิบัติได้ มักจะเป็นประเทศมหาอำนาจหรือประเทศขนาดใหญ่ในโลก
อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศขนาดเล็กอย่างไทย แม้ว่าจะไม่ได้มีอำนาจเทียบเท่ากับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ โดยเฉพาะอำนาจการบังคับหรือ Hard Power แต่การจะมีที่ยืนบนเวทีโลกและมีแต้มต่อในการเจรจาระหว่างประเทศนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมี Soft Power ที่มากไปกว่าอาหารไทยที่อยู่ตามประเทศต่าง ๆ
นอกจากนี้ Soft Power ของไทยยังจะดึงดูดให้คนต่างชาติอยากมาลงทุนสร้างโรงงาน ซื้ออสังหาริมทรัพย์ มาใช้ชีวิตในเมืองไทย หรือ work from anywhere ที่เมืองไทย ซึ่งทำให้ได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
การจะไปถึงจุดนั้นได้ จำเป็นต้องพัฒนา Soft Power อย่างสร้างสรรค์และมีเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างจริงจัง ไม่เป็นแค่ไฟไหม้ฟาง ยกตัวอย่างเช่น
[1] Wilson III, E. J. (2008). Hard power, soft power, smart power. The annals of the American academy of Political and Social Science, 616(1), 110-124.