16 ก.ย. 2024 เวลา 05:45 • สุขภาพ

โรคติดต่อและโรคติดเชื้อช่วงน้ำท่วม เผยอาการสัญญาณอันตรายและการป้องกัน

น้ำท่วม นอกจากทรัพย์สินที่เสียหายแล้ว ยังบั่นทอนสุขภาพด้วยหากดูแลไม่ดีพอ เผยโรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นในช่วงหน้าฝนและน้ำท่วม!
ในช่วงฤดูฝนบวกกับแม่น้ำโขงมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้พื้นที่หลายจังหวัดพื้นที่ภาคเหนือ ประสบกับปัญหาน้ำท่วม ซึ่งแน่นอนว่าในปีนี้ค่อนข้างวิกฤติ มากกว่าในทุกๆ ปี นำมาซึ่งความเสียหายอย่างสิ่งหลายอย่าง และพัดพาโรคภัยมาด้วยหากไม่ดูแลสุขภาพหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอาจซ้ำเติมสถานการณ์มากกว่าเดิมเพราะแหล่งน้ำขังส่วนใหญ่จะเป็นที่ที่เชื้อโรคเพาะพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เผย โรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อต่างๆ เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจะช่วยให้เราไม่ต้องเจ็บป่วย หรือหากเกิดอาการจะได้รู้เท่าทันและรีบไปพบแพทย์
น้ำท่วมขัง
โรคที่มักระบาดในช่วงหน้าฝน น้ำท่วมขัง
●โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ (ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม)
● อาการ มีไข้ มีน้ำมูก คัดจมูก ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร
● การป้องกัน
- ดูแลร่างกายให้แห้งและอบอุ่นอยู่เสมอ ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรค
- รักษาสุขอนามัยให้ดี เช่น ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดบ่อยๆ
- ไม่ว่าเราจะเป็นผู้ป่วยหรือไม่ ควรปิดปากและจมูกเมื่อไอ หรือจาม
●โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร (โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ และโรคตับอักเสบ)
●อาการ : ถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว เบื่ออาหาร หรือมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง
●การป้องกัน
- ควรทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกทุกครั้ง ไม่ควรทานอาหารกระป๋องที่หมดอายุ บวม หรือขึ้นสนิม
- ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำจากขวดที่มีฝาปิดสนิท หรือน้ำต้มสุก เป็นต้น
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้ง ทั้งก่อนทำอาหาร ก่อนทานอาหาร และหลังทานอาหาร รวมถึงหลังการขับถ่าย
- ห้ามถ่ายอุจจาระลงไปในแหล่งน้ำ หากใช้ส้วมไม่ได้ ควรถ่ายลงในถุงพลาสติก - - - ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในถุงขยะ
●โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส
●อาการ : มีไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา หรือหลัง บางรายอาจมีอาการตาแดง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ตาเหลือง และปัสสาวะน้อย
●การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการลงไปแช่ หรือลุยน้ำ ลุยโคลน
- หากจำเป็นต้องลุยน้ำ ลุยโคลน ควรรีบล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำ แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุด
- หากมีบาดแผล ควรป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำ เช่น สวมรองเท้าบูทยาง
โรคน้ำกัดเท้า
●อาการ : คันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย มีผิวหนังอักเสบบวมแดงเป็นผื่นพุพอง หรือมีลักษณะเท้าเปื่อยและเป็นหนอง
●การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการลงไปแช่ หรือลุยน้ำ ลุยโคลน
หากจำเป็นต้องลุยน้ำ ลุยโคลน ควรรีบล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำ แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุด
- หากมีบาดแผล ควรป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำ เช่น สวมรองเท้าบูทยาง
โรคตาแดง
อาการ มีอาการระคายเคืองตา ตาแดง หนังตาบวม ตาสู้แสงไม่ได้ หรือมีน้ำตาไหล
การป้องกัน
เมื่อมีฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกเข้าตา ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที
เมื่อมีอาการคันตา ไม่ควรขยี้ตาด้วยมือที่สกปรกหรือยังไม่ได้ล้าง
หากพบผู้ป่วยที่มีอาการของโรคตาแดง ควรแยกผู้ป่วยออกจากผู้อื่นก่อน
ไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคตาแดง เพื่อป้องกันการระบาดและการติดโรค
● โรคไข้เลือดออก
●อาการ : มีไข้สูงลอย (อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่าปกติตลอด 24 ชม. โดยอุณหภูมิที่สูงสุดและต่ำสุดในแต่ละวันมีความแตกต่างกัน ไม่เกิน 1 องศาเซลเซียส) ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรืออาจมีเลือดออกตามไรฟัน
●การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด
- ติดมุ้งลวดที่ประตูและหน้าต่าง
- ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว
- กำจัดแหล่งน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
หากพบความผิดปกติรีบพบแพทย์ทันที ในหลายพื้นที่น้ำลดแต่ยังต้องทำความสะอาดที่อยู่อาศัยที่เต็มไปด้วยดินและโคลน ขอเตือนว่าอย่าลืมใส่ถุงมือและรองเท้าบูทหากทำความสะอาดเสร็จให้รีบล้างตัวทันทีนะคะ ที่สำคัญหากเป็นแผลอยู่ไม่ควรฝืนทำเพราะเชื้อโรคต่างๆ อาทิ โรคไข้ดิน โรคฉี่หนู อาจแทรกซึมเข้าทางแผลได้ ทั้งนี้ทีมข่าวพีพีทีวีของเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัยทุกท่านด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/health/care/5866
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา