17 ก.ย. เวลา 02:00 • สุขภาพ

14 สัญญาณ ที่ย้ำว่าเรา ‘เครียด’

ภาวะเครียดเป็นปัญหาที่หลายคนต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน บางครั้งเราอาจไม่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ความเครียดก็สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจได้ ซึ่งหากไม่ระวังอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ดังนั้นการรู้จักสัญญาณเตือนของความเครียดจะช่วยให้เราสามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง 🧠
ซึ่งในบทความนี้ เอไอเอจะพาไปรู้จักกับ 14 สัญญาณที่บ่งบอกว่าเราเข้าข่ายมีภาวะความเครียด พร้อมทั้งแนะนำวิธีป้องกันเพื่อให้ห่างไกลจากภาวะนี้กัน ได้แก่
1. ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อตึง ปวดบริเวณคอหรือหลัง : ความเครียดสามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะและกล้ามเนื้อตึงเครียด โดยเฉพาะบริเวณคอและหลัง การทำงานที่ต้องนั่งนาน ๆ หรือการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ การยืดกล้ามเนื้อและทำกายบริหารเป็นวิธีที่ดีในการช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น
2. ปวดท้อง : ความเครียดทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด หรือท้องเสีย ดังนั้นการปวดท้องจึงเป็นหนึ่งในอาการของภาวะเครียดแบบไม่รู้ตัว
3. ปากแห้ง : เมื่อเกิดความเครียด ระบบในร่างกายผลิตจะน้ำลายน้อยลง ทำให้ปากแห้ง ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก การดื่มน้ำบ่อย ๆ และเคี้ยวหมากฝรั่งไร้น้ำตาลสามารถช่วยได้ให้ลดความเครียดลงได้
4. เจ็บหรือแน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็วขึ้น : ความเครียดทำให้หัวใจเต้นเร็วและรู้สึกเจ็บหรือแน่นหน้าอก อาการนี้อาจทำให้เรารู้สึกหวาดกลัวว่าเป็นโรคหัวใจ ดังนั้นการทำสมาธิและฝึกการหายใจลึก ๆ จะช่วยลดภาวะให้คงตัวได้
5. นอนหลับยาก หลับไม่สนิท : อาการของคนหลับไม่สนิท หรือนอนไม่ค่อยหลับ บ่งบอกถึงความเครียดที่เกิดขึ้น ฉะนั้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการนอนและหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ก่อนนอนจะช่วยให้หลับได้ดี และลดความเครียดลง
6. เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย : ความเครียดทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียง่าย แม้ว่าจะไม่ได้ทำกิจกรรมที่หนักหน่วงก็ตาม การพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มพลังงานได้
7. เบื่ออาหาร หรือทานจุในเมนูที่ชอบ : ภาวะเครียดส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการรับประทาน บางคนอาจเบื่ออาหาร ในขณะที่บางคนอาจรับประทานมากเกินไปในเมนูที่ชอบ
8. ร่างกายอ่อนแอลง เป็นหวัดง่ายขึ้น : เมื่อเกิดอาการเครียดจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้เป็นหวัดหรือเจ็บป่วยง่าย ดังนั้นการสำรวจอาการป่วยของตัวเอง จึงมีผลต่อการสังเกตภาวะเครียดเช่นกัน
9. ขาดความจดจ่อ สมาธิลดลง : ความเครียดทำให้มีปัญหาในการโฟกัสและขาดสมาธิ การทำกิจกรรมที่ช่วยฝึกสมาธิ เช่น การทำโยคะจึงมีส่วนการลดความเครียดลง
10. ความจำแย่ลง สะเพร่า หลงลืม : ความเครียดทำให้ความจำเสื่อมลงและมีปัญหาในการจดจำสิ่งต่าง ๆ
11. มีอาการกระวนกระวาย : พฤติกรรมกระวนกระวายก็เป็นส่วนหนึ่งของความเครียดที่เกิดขึ้นในบุคคล ซึ่งจะแสดงออกผ่านการอยู่นิ่งไม่ได้ ฉะนั้นการฝึกหายใจลึก ๆ และการทำสมาธิจะช่วยลดอาการดังกล่าวให้เบาลงได้
12. หงุดหงิดง่าย : ความเครียดทำให้รู้สึกหงุดหงิดและโกรธง่าย จนเกิดพฤติกรรมแบบที่สังเกตได้
13. ใจร้อน โกรธง่าย : ความเครียดทำให้เรามีแนวโน้มที่จะใจร้อนและโกรธง่าย การฝึกการควบคุมอารมณ์และการพูดคุยกับคนที่เราไว้ใจจะช่วยบรรเทาความเครียดให้เบาบางลง
14. วิตกกังวล : ความเครียดทำให้เกิดความวิตกกังวลบ่อย ๆ ทั้งเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ที่เจอในชีวิตประจำวัน
และถึงแม้ร่างกายจะแสดงออกมาว่าเรามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายภาวะเครียด เราก็สามารถคลายเครียดได้เริ่มต้นจากวิธีง่าย ๆ เช่น
☑️ จัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ - การจัดการเวลาที่ดีจะช่วยลดความเครียดจากการทำงานหรือการเรียน ควรทำตารางเวลาที่ชัดเจนและแบ่งเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆ
☑️ ออกกำลังกายเป็นประจำ - การออกกำลังกายช่วยลดความเครียดและเพิ่มพลังงาน เช่น การเดิน วิ่ง หรือโยคะ
☑️ การผ่อนคลายจิตใจ - หาวิธีผ่อนคลายจิตใจจากกิจวัตรอย่างการทำสมาธิ การฝึกหายใจลึก ๆ หรือการทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือทำงานฝีมือ
☑️ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ - การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและลดความเครียด
☑️ พักผ่อนให้เพียงพอ - การนอนหลับที่เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้ฟื้นฟู ซึ่งควรนอนหลับให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
ไม่ว่าใครก็เกิดความเครียดได้ การจัดการกับความเครียดและรับรู้ว่าตนเองกำลังเข้าสู่ภาวะเครียดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ทุกคนควรหมั่นใส่ใจ เพื่อทำใหความสุขของเรายั่งยืนและเกิดขึ้นได้ทุกวัน
ขอบคุณข้อมูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ติดตาม Community AIA Thailand ได้ที่ https://www.blockdit.com/aiathailand
โฆษณา