17 ก.ย. เวลา 08:14 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำไม ธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงมองว่า เงินสด = หนี้สิน

ช่วงวันที่ผ่านมานี้ มีเรื่องถกเถียงกันในออนไลน์ว่า เงินสดเท่ากับหนี้สินหรือไม่ เพราะมูลค่าของเงินที่เสื่อมลงเรื่อย ๆ ก็เหมือนภาระหนี้ที่เราจ่ายออกไปตลอด
เรื่องนี้อาจจะไม่มีคนที่ผิดและถูก 100% เพราะขึ้นอยู่กับมุมมองและแนวคิดของแต่ละบุคคล
แต่อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางผู้คนที่ถกเถียงกันอย่างดุเดือด ก็มีอยู่คนหนึ่ง ที่มองว่าเงินสดเท่ากับหนี้สิน อยู่ตลอดมา
2
และคนที่เราว่ามานั้น ก็คือ “ธนาคารแห่งประเทศไทย” นั่นเอง..
แล้วทำไมธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องมองว่าเงินสด เป็นหนี้สินด้วย ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
2
ก่อนอื่นเราต้องพูดถึงส่วนประกอบของงบดุลธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติกันก่อน
ในฝั่งสินทรัพย์ของแบงก์ชาติ หลัก ๆ แล้วจะประกอบไปด้วยสินทรัพย์ 2 ประเภท คือ
- เงินสำรองระหว่างประเทศ ที่ประกอบไปด้วย ทองคำ, เงินตราต่างประเทศ, สิทธิพิเศษถอนเงินจาก IMF เป็นต้น
3
- พันธบัตรรัฐบาลไทย ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยถือ ในฐานะเจ้าหนี้ ที่รัฐบาลไทยมากู้เงิน
ส่วนในด้านของหนี้สิน หลัก ๆ แล้วจะประกอบไปด้วย 3 ประเภท
- พันธบัตรของ ธปท. ที่ขายให้คนทั่วไป รวมถึงหน่วยงานรัฐ
1
- เงินรับฝากจากสถาบันการเงิน ที่ธนาคารพาณิชย์ถูกกำหนดให้สำรองไว้ตามหลักเกณฑ์ Basel รวมทั้งเงินรับฝากจากรัฐบาล หรือ เงินคงคลัง
1
- ธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือเงินสดที่อยู่ในกระเป๋าเงินของเรานั่นเอง
1
แต่จะไม่รวมถึงเงินที่อยู่ในบัญชีธนาคาร ที่เราเอาไว้ใช้โอนหรือสแกนจ่าย เพราะเป็นเงินฝากกับทางธนาคาร ทำให้เงินส่วนนี้ จะอยู่ในส่วนของเงินรับฝากจากสถาบันการเงิน
หนี้สินอันแรก อันนี้พอเข้าใจได้ เพราะการออกพันธบัตร
ทำให้แบงก์ชาติจะกลายเป็นลูกหนี้ การบันทึกบัญชีว่าเป็นหนี้สินก็ดูสมเหตุสมผล
แต่ทำไม ธนบัตรในระบบเศรษฐกิจ ถึงกลายเป็นหนี้สินของแบงก์ชาติไปได้ ?
7
ตรงนี้เราต้องเข้าใจกันก่อนว่า ในอดีตนั้น จุดเริ่มต้นของเงินตรา ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า สะดวกสบายขึ้น
3
เช่น เวลาเราไปตลาดจะซื้อหมูซื้อไก่ เราก็ใช้จ่ายในรูปของธนบัตร แลกเปลี่ยนเอาสิ่งเหล่านี้มาได้เลย
แต่ธนบัตรก็ไม่ได้มีมูลค่าในตัวมันเองแต่อย่างใด แต่มีทองคำเป็นตัวค้ำประกันไว้ เพื่อให้ธนบัตรมีมูลค่าในการแลกเปลี่ยนนั่นเอง
9
ด้วยหลักคิดนี้เอง จึงทำให้ธนาคารกลางทุกประเทศทั่วโลก มองว่าธนบัตรเป็นหนี้สินนั่นเอง เพราะต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกันอย่างทองคำก่อน
5
แล้วค่อยพิมพ์เงินออกมา แจกจ่ายเข้าไปในระบบ เพื่อให้ผู้คนใช้เงินในการแลกเปลี่ยน แทนที่จะต้องขนทองคำไปซื้อของเอง
อย่างไรก็ตาม แม้ในวันนี้เราจะไม่ได้มีทองค้ำประกันเงินในระบบเศรษฐกิจอยู่ 100% เหมือนแต่ก่อนแล้ว แต่แนวคิดนี้ก็ยังคงถูกใช้อยู่
6
ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึงแบงก์ชาติไทยเอง ก็ยังมองว่า เงินสดในระบบคือหนี้สิน
ในปัจจุบันนี้ การพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ยังต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกันอยู่ เช่น ทองคำจำนวนหนึ่ง และสินทรัพย์ในสกุลเงินตราต่างประเทศ
ดังนั้น ธนบัตรที่พิมพ์ออกมาก็ยังจะเป็นหนี้สินอยู่ และแบงก์ชาติ ก็มีภาระหน้าที่ ที่จะต้องรักษามูลค่าเงินบาท และสินทรัพย์ของคนไทย ให้มีเสถียรภาพ
4
หากไม่เป็นเช่นนั้น ถ้าธนบัตรไม่สามารถรักษามูลค่าไว้ได้ หรือมีค่าผันผวนมาก ๆ
เงินบาทไทยของเราก็คงจะไม่มีค่า จนเราก็อาจจะต้องนำหมูไปแลกไก่ แบบในสมัยก่อนแทน..
5
References
-ธนาคารแห่งประเทศไทย
1
โฆษณา