17 ก.ย. เวลา 11:10 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เงินสด = ทรัพย์สินที่ด้อยค่าได้ วิชาการเงิน 101 อ่านจบ เอาไปใช้ได้ทันที

1. เงินสดในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่รัฐบาลแต่ละประเทศผลิตขึ้นมา เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2
2. รัฐบาลไม่ได้การันตีว่า เงินสดในระบบจะมีปริมาณเท่าเดิม
3. นักเศรษฐศาสตร์รู้ดีจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในอดีต ว่าการผลิตเงินสดแจกจ่ายให้ประชาชนมากไป จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ หรือแปลว่า เงินด้อยค่าลง และต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้นในการซื้อสินค้าชิ้นเดิม
4. แต่นักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้มีอำนาจเสมอไป.. รัฐบาลที่ใช้อำนาจเหนือนักเศรษฐศาสตร์ ก็จะพบกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงเกินไป ตัวอย่างประเทศที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ก็คือ เวเนซุเอลา, อาร์เจนตินา, ตุรกี, ซิมบับเว หรือแม้แต่ ประเทศลาว
4
5. ในโลกยุคปัจจุบัน การผลิตเงินมากเกินไปไม่ได้ส่งผลต่อเงินเฟ้อแบบตรงไปตรงมา มันเกี่ยวกับความต้องการของเงินสกุลนั้น ๆ ด้วย ซึ่งมันเกี่ยวกับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศ, การขาดดุลการค้า, การพึ่งพาสินค้านำเข้าที่จำเป็นจากต่างประเทศ
3
6. ตัวอย่างเช่น ประเทศที่นำเข้าน้ำมันเยอะ หนี้ต่างประเทศเยอะ ส่งออกได้น้อย ประเทศนั้นก็จะมีเงินเฟ้อสูงได้ เพราะต้องใช้เงินสกุลท้องถิ่นมากขึ้นในการได้มาซึ่งสินค้าจำเป็นที่นำเข้าจากต่างประเทศ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เงินกีบของลาว
3
7. ในขณะเดียวกัน บางรัฐบาลผลิตเงินสดเยอะ แต่ประเทศยังส่งออกสินค้ามาก ก็อาจจะไม่ได้ทำให้เงินเฟ้อสูงเกินไป เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งยังเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหลักของโลก เช่น น้ำมัน อีกด้วย
3
8. แต่โดยทั่วไปแล้ว สกุลเงินแทบจะทุกประเทศ จะมีเงินเฟ้อเสมอ ไม่เว้นแม้แต่ญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่เงินเฟ้อต่ำสุด รวมถึงประเทศไทย เงินก็จะเฟ้ออยู่เสมอในทุก ๆ ปี
9. เงินเฟ้อ = เงินด้อยค่าลง
ถ้าเรามีเงินสด 100 บาท ถ้าเงินด้อยค่าไปเรื่อย ๆ ติดต่อกันหลายปี เงิน 100 บาทนั้น อาจจะซื้ออะไรไม่ได้เลยในวันข้างหน้า
3
10. เงินสด (Cash) ไม่เท่ากับ เงินฝาก (Saving)
แต่บางทีเราเรียกติดปาก เพราะเงินฝากมันเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว จนคล้ายกันมาก
3
11. เงินฝาก = การเอาเงินสดที่เป็นทรัพย์สินของเราไปให้ธนาคารยืมเงิน โดยธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้เราเพื่อแลกกับการให้ยืม
1
12. ธนาคารยอมจ่ายดอกเบี้ย เพราะว่าธนาคารสามารถเอาเงินสดนี้ไปปล่อยกู้ต่อได้ แต่ธนาคารก็ต้องรับความเสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ของผู้กู้ด้วย
1
13. การถือเงินฝาก จะดีกว่าเงินสด เพราะอย่างน้อยได้ดอกเบี้ย ดังนั้นถ้าเงินฝากสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในเสี้ยววินาทีแบบในยุคนี้ ไม่มีเหตุผลที่เราจะต้องมีเงินสดเยอะในกระเป๋าสตางค์
2
14. ถึงตรงนี้คงมีคำถามต่อว่า ทรัพย์สินที่เราถือแล้วช่วยให้ไม่ด้อยค่าลง นอกจากเงินฝากแล้วมีอะไรอีก ?
1
15. เมื่อใดก็ตามที่เรามีคำถามนี้ แปลว่าเราเริ่มสนใจคำว่า “การลงทุน” แล้ว
ลงทุนแมน จะสรุปให้ฟังว่าจักรวาลของสินทรัพย์การลงทุน มีอะไรบ้าง ?
2
เอาให้ง่ายที่สุดแบบภาษาชาวบ้าน การลงทุนแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ
15.1 การเอาเงินไปให้คนอื่นยืม
ถ้าระยะสั้น ก็เช่น เงินฝาก, ตั๋วเงิน
แต่ถ้าระยะยาวเราจะเรียกว่า ตราสารหนี้
4
การให้ยืมจะแลกกับการที่เราจะได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนในรูปของ “ดอกเบี้ย”
15.2 การเอาเงินไปแลกกับทรัพย์สิน
ทรัพย์สินลงทุน เป็นสิ่งที่คนคาดว่าจะไม่ด้อยค่าลง เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดฯ ทองคำ ตราสารทุน (หุ้น) กองทุนรวม หรือแม้แต่ พระเครื่อง คริปโทเคอร์เรนซี
1
ถ้าเราเอาเงินไปแลกกับทรัพย์สินที่รู้อยู่แน่นอนแล้วว่าจะด้อยค่าลง “จะไม่ถือเป็นการลงทุน” เช่น เอาเงินไปซื้อ รถยนต์ เสื้อผ้า
5
แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราเอาทรัพย์สินที่รู้ว่าจะด้อยค่าลง ไปใช้เป็นเครื่องมือในการหาเงิน ก็อาจถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการลงทุนทำธุรกิจได้เช่นกัน เช่น ซื้อรถมาส่งสินค้า
4
16. สรุปผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์
16.1 เงินสด ไม่ให้ผลตอบแทนอะไรเลย แต่ถ้าเราคาดว่าเงินเฟ้ออยู่ที่ 2% ต่อปี ผลตอบแทนที่แท้จริงก็จะ -2% ต่อปี
16.2 การลงทุนที่ เอาเงินไปให้คนอื่นยืม
- เงินฝากออมทรัพย์ ให้ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี แต่ให้ผลตอบแทนที่แท้จริงหลังหักเงินเฟ้อที่ -1.5% ต่อปี
- ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ให้ดอกเบี้ย 3% ถึง 7% ต่อปี ตามแต่ Rating ความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร ซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่แท้จริงหลังหักเงินเฟ้อที่ 1% ถึง 5% ต่อปี
ถ้าหุ้นกู้ต้องดู Rating ควรลงทุนระดับ A ขึ้นไป และมีอายุการถือครอง
1
- หรือแม้แต่ กองทุนรวมวายุภักษ์ ที่ขายกันอยู่ตอนนี้ ซึ่งลงทุนแมนถือว่าเป็น Structured Note ที่คล้ายเอาเงินไปให้กองทุนรวมวายุภักษ์ยืม และจะจ่ายดอกเบี้ยให้ 3% ถึง 9% ต่อปี จึงให้ผลตอบแทนที่แท้จริงหลังหักเงินเฟ้ออาจอยู่ที่ 1% ถึง 7% ต่อปี โดยกองทุนรวมวายุภักษ์ มีอายุในการฝาก 10 ปี ซึ่งสามารถขายคืนในตลาดรอง ที่ราคารับซื้ออาจไม่เท่าเดิม
1
16.3 การลงทุนที่ เอาเงินไปแลกกับทรัพย์สิน
1
- อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน คอนโดฯ จะได้ผลตอบแทนเยอะหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการในอนาคตของอสังหาริมทรัพย์ชิ้นนั้น ซึ่งบางชิ้นก็อาจมีมูลค่าที่ลดลง บางชิ้นก็อาจมีมูลค่าเพิ่มได้ในอนาคต
1
รวมถึงหากนำอสังหาฯ ไปปล่อยเช่า อัตราผลตอบแทนจากค่าเช่า มีช่วงค่อนข้างกว้างมาก เช่น 2% ถึง 7% ต่อปี หรืออาจปล่อยเช่าไม่ได้เลยก็มี
- หุ้น (ตราสารทุน) ของบริษัทต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่นเดียวกันธุรกิจบนโลกนี้มีทั้งรุ่งเรือง และล่มสลาย การที่เราเข้าไปถือหุ้นก็เปรียบเสมือนเราเป็นเจ้าของธุรกิจนั้น ควรดูดี ๆ ว่าสิ่งที่เราเข้าไปถือหุ้น เป็นกิจการที่จะมีกำไรเพิ่มขึ้นในอนาคตหรือไม่
1
ซึ่งเราจะได้รับผลตอบแทนจากหุ้น ในรูปของส่วนต่างราคา (Capital Gain) และเงินปันผล
- กองทุนรวม จะเป็นการที่เราเอาเงินไปให้ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพดูแล ซึ่งก็แล้วแต่นโยบายของกองทุนรวมนั้น ว่าจะนำเงินของเราไปแลกกับทรัพย์สินอะไร มีทั้งตราสารหนี้ และหุ้น (ตราสารทุน) เสี่ยงน้อยที่สุดก็คือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
2
17. ประเด็นทั้งหมดมันอยู่ที่จะพูดต่อจากนี้
ถือเงินสด มูลค่าด้อยลงแน่นอน 2% ต่อปี เพราะเงินเฟ้อ
1
ให้เงินคนอื่นยืม ได้ดอกเบี้ยชัดเจน
ถ้าเป็นเงินฝากระยะสั้น มูลค่าก็จะด้อยลงอยู่ดี
แต่ถ้าเป็นเงินฝากระยะยาว ก็จะด้อยค่าไม่มาก
ถ้าเอาเงินไปแลกกับทรัพย์สินลงทุน
จะมีความเสี่ยงเฉพาะตัว
เลือกได้ดี มูลค่าก็เพิ่ม
เลือกได้ไม่ดี มูลค่าอาจด้อยมากกว่าการถือเงินสดเสียอีก..
1
18. แล้วเราควรเอาเงินสดไปวางไว้ตรงไหนดี ?
3
ถ้าคำถามคือ การบริหารจัดการเงินสดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
2
คำตอบที่ควรจะเป็น ก็คือ
ควรถือเงินสดให้น้อย เพราะรู้อยู่แล้วว่ามันจะด้อยค่าโดยไม่ได้ดอกเบี้ย
ที่ข่าวบอกว่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ ถือเงินสดเยอะมากสุดเป็นประวัติการณ์ แต่จริง ๆ แล้ววอร์เรน บัฟเฟตต์ เอาเงินไปวางไว้ที่ตราสารหนี้ระยะสั้น ที่ได้รับดอกเบี้ย
2
เราควรมีเงินฝากที่ได้รับดอกเบี้ย โดยสามารถแลกกลับเป็นเงินสดได้ทันที อย่างน้อยในระดับที่เราพอใช้จ่ายได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ถ้าเราจะใช้เดือนละ 20,000 บาท การมีเงินฝากอย่างน้อยสัก 200,000 บาท อาจจะไม่ได้ผิดอะไร
19. แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ เงินก้อนใหญ่ในชีวิต ที่เป็นส่วนเกินจากเงินฝาก เราควรนำไปกระจายแลกกับทรัพย์สินที่เราคิดว่ามันไม่ด้อยค่าลง และน่าจะมีความน่าเชื่อถือสูงที่จะเพิ่มมูลค่าในอนาคต
20. การกระจายการลงทุนไปยังทรัพย์สิน ถ้าเราไม่มีความรู้ในทรัพย์สินนั้น ก็อาจใช้มืออาชีพมาช่วย เช่นกองทุนรวม
1
ถ้าเรายังไม่อยากเสี่ยงมาก ก็อาจเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น ตอนนี้ให้ผลตอบแทนประมาณ 2% ต่อปี
ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนเพิ่ม เราก็ควรกล้าเสี่ยงเพิ่มขึ้น และต้องศึกษาหาความรู้มากขึ้น เพื่อบริหารความเสี่ยงในการลงทุน
21. บางทีเราก็ไม่รู้แน่ชัดหรอกว่าอันไหนจะดี หรือไม่ดี แต่ในระยะยาวแล้ว การกระจายไปในทรัพย์สินที่ดี ส่วนใหญ่แล้วจะทำให้ค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนมากกว่าการให้คนอื่นยืมเงิน
22. สรุปแล้ว ถ้าถามว่า เงินสด คือทรัพย์สิน หรือหนี้สิน คำตอบแบบตรงไปตรงมา ตามหลักบัญชี การลงทุน การเงิน หลักอะไรก็แล้วแต่ในโลกนี้ เงินสด = ทรัพย์สิน เพราะถ้าเราครอบครองสิ่งนั้นโดยไม่มีภาระ สิ่งนั้นถือเป็นทรัพย์สินของเรา
2
ซึ่งเราเอาทรัพย์สินที่เป็นเงินสดนี้ ไปแลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นได้อีกด้วย
2
23. แต่ถ้าเราตีความว่า หนี้ = ภาระ มันก็อาจแปลทางอ้อมได้ว่า เงินสดที่เป็นทรัพย์สินของเรา มีภาระการด้อยค่า ที่รอชดใช้อยู่ไปเรื่อย ๆ
2
24. ผู้ใช้คำว่า Cash = Debt อยู่เป็นประจำคือ Robert Kiyosaki ผู้เขียนหนังสือชื่อดังอย่าง Rich Dad Poor Dad ซึ่งเขาจงใจบิดความหมายให้เป็นไปในทางอ้อม เพื่อกระตุกให้ผู้อ่านได้รับรู้คือ การที่ถือเงินสดโดยไม่มีการลงทุน จะทำให้ความมั่งคั่งลดลง และเป็นหนี้ให้กับการด้อยค่าของเงิน นั่นเอง..
12
.
ถ้าอยากรู้เรื่องการเงินให้มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมไม่ให้เงินด้อยค่าลง
ลงทุนแมน กำลังจะจัด “The Money Forum” งานรวมความรู้ การเงิน การลงทุน สำหรับทุกคน 30 พ.ย. นี้
อัดแน่นไปด้วย ความรู้เรื่องการเงิน เข้าใจได้ง่าย คนที่ไม่มีพื้นฐานเข้าใจทันที
5
The Money Forum จะมีทั้งการบรรยายบนเวที และ Workshop จากนักธุรกิจ นักลงทุน ผู้เชี่ยวชาญ และ Speakers มากประสบการณ์ มาเล่าให้ฟัง จองบัตรได้แล้ว พร้อมกันที่ The Money Forum..
ตัวอย่างหัวข้อการบรรยายบนเวที เช่น
- The Investment Superpower
พลังมหัศจรรย์การลงทุน - ลงทุนแมน
- First Payslip in hand, First Retirement in mind
เริ่มมีรายได้ เริ่มวางแผนเกษียณ - คุณเฟิร์น ศิรัถยา Wealth Me Up
- Work vs Invest Mindset
ชำแหละกรอบความคิด ทำงาน vs ลงทุน - คุณดิว วีรวัฒน์ และคุณซีเค Fastwork
- The Intelligent Investor
นักลงทุนผู้ชาญฉลาด - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และคุณกวี ชูกิจเกษม
นอกจากนั้น The Money Forum ก็ยังมีห้อง Workshop ที่สอนเรื่องการเงิน และการลงทุน แบบจับมือทำ เช่น
- คลาสอ่านงบการเงินม้วนเดียวจบ กลับบ้านใช้ได้ทันที
- วางแผนมีเงิน 10 ล้าน ในกระดาษแผ่นเดียว
1
พิเศษ ทุกที่นั่งจะสามารถรับชม Rerun Online ย้อนหลัง ทั้ง Main Stage และ Workshop
ใครที่อยากรู้เรื่องเงิน ๆ มากขึ้น
เพื่อให้เราสามารถจัดการเงินในกระเป๋าของตัวเองได้ดีกว่าเดิม
และช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น..
พบกันที่งาน The Money Forum..
1
โฆษณา