ในทางกลับกันในเยอรมนีปัจจุบันมีรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าล้วน ๆ เพียง 1.4 ล้านคันเท่านั้น เป็นไปได้ที่เยอรมนีจะพลาดเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะต้องมีรถ EV อย่างน้อย 15 ล้านคัน ภายในปี 2030 ในเวลานี้สัดส่วนการลงทะเบียนใหม่ของรถ EV แทบจะไม่เพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลแจ้งให้ทราบเพียงไม่กี่วันก่อนสิ้นปี 2023 ว่า รัฐบาลจึงระงับโครงการสนับสนุนการซื้อรถ EV ซึ่งการตัดสินใจอย่างกะทันหันนี้ได้ชะลอการพัฒนาตัวของตลาดรถ EV ลงอย่างชัดเจน
ดังนั้นในปัจจุบันเป็นเรื่องไร้สาระที่ในเวลานี้ภาคการเมืองจะมัวออกมาทำการอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาการทุ่มตลาดการส่งออกรถ EV ของจีนจนบดบังปัญหาหาใหญ่ในประเทศ ภาคการเมืองเยอรมันจะต้องเร่งมุ่งสร้างแรงผลักดันเชิงบวกมากขึ้น เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศยังสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดในอนาคตต่อไปได้มากกว่า
ระหว่างปี 2030 ถึง 2040 ตลาดรถยนต์ทั่วโลกจะทยอยบอกลาเครื่องยนต์สันดาป ขนาดประเทศญี่ปุ่นซึ่งก่อนหน้านี้มุ่งเน้นไปที่รถยนต์ประเภทไฮบริดและไฮโดรเจนก็กำลังหันมาลงทุนอย่างมากขึ้นนกับรถ EV จากข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจฯ คาดว่า ส่วนแบ่งการส่งออกรถ EV ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 2.4% ในปี 2022 เป็น 30% ในปี 2030 โดยประเทศสหรัฐฯ ก็กำลังเสริมความแข็งแกร่งให้กับตลาดรถ EV ในประเทศด้วยการผสมผสานมาตรการต่าง ๆ ระหว่าง
มาตรการกีดกันรถ EV ของ EU เพียงอย่างเดียวไม่น่าจะเพียงพอในการรักษาตลาดยานยนต์ในประเทศได้เยอรมนีคงต้องลุ้นผลักดันนโยบายต่างๆ ควบคู่กันไป รอจนค่ายรถยนต์ใหญ่ๆ อย่าง VW สามารถออกรถยนต์รุ่นที่สามารถแข่งขันด้านราคากับบริษัท EV ต่าง ๆ ของจีน เช่น SAIC, BYD, BAIC และ Geely ได้ออกมา ซึ่งในเวลานี้ก็เหมือน EU ออกมาซื้อเวลาให้กับผู้ผลิตรถยนต์ใน EU เพราะไม่ว่าช้าก็เร็วพวกเขาทั้งภาครัฐและเอกชนก็ต้องปฏิรูปด้านต่างๆ มากกว่านี้
ซึ่งภาครัฐของไทยต้องดูว่า การเข้ามาของรถ EV ในไทยนั้นสร้างประโยชน์หรือโทษมากกว่ากัน และสามารถสร้างงานและรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้มากน้อยขนาดไหนและดูว่าเราตกอยู่ในภาวะผูกพันขนาดไหน
และต้องการที่จะลดภาวะผูกพันนี้หรือไม่ ซึ่งควรจะทดลองทำ Stress testing ในหลายๆธุรกิจและสินค้าได้แล้ว ในส่วนภาคเอกชนไทยก็ต้องดูว่า จุดยืนของตนอยู่ที่ใดพร้อมที่จะปรับใช้การเข้ามาของรถ EV จากจีนให้เป็นประโยชน์ขนาดไหนไปพร้อมๆกัน และเร่งสื่อสารความเห็นชัดเจนให้กับภาครัฐเพื่อสร้างกรอบการทำงานที่ชัดเองออกมารองรับความต้องการเหล่านี้