18 ก.ย. เวลา 09:49 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สรุป กองทุนวายุภักษ์ การแบกระดับ 100,000 ล้าน ของรัฐบาลไทย

- 10 คนใกล้ตัว ที่ลงทุนแมนถามว่า จะซื้อกองทุนวายุภักษ์ ไหม ?
เกือบทั้งหมดตอบว่า
- ยังไม่แน่ใจ ยังไม่รู้ ซื้อแล้วได้อะไร
- คุ้มครองเงินต้นหรือเปล่า
- หุ้นตกได้เงินคืนไหม
- ผลตอบแทนคุ้มค่าไหม
3
ทันทีที่ลงทุนแมนได้ฟัง ก็รู้เลยว่า คนเหล่านั้นคงยัง “งง” กับกลไกที่ซับซ้อนของกองทุนนี้
1
และกว่าจะรู้ตัว กองทุนนี้ก็คงปิดรับจองแล้ว
2
รู้ไหมว่า ไม่เคยมีครั้งไหนที่ประเทศไทย ที่จะมีการระดมทุนครั้งไหนใหญ่เท่าครั้งนี้
- หุ้น OR ที่มีคนแห่จองซื้อ 5.3 แสนราย เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ระดมทุนไปได้ 47,000 ล้านบาท
- หุ้น CRC เป็นหุ้นที่เคยระดมทุนได้มากสุด เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ระดมทุนไปได้ 78,000 ล้านบาท
- ตอนนี้ กองทุนวายุภักษ์ ตั้งเป้าหมายว่า จะเป็นกองทุนที่จะระดมเงินมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยเงินก้อนนี้จะมีขนาดมหึมา มากถึง 150,000 ล้านบาท..
2
วายุภักษ์ มีอะไรดี ? ทำไมถึงมั่นใจว่าจะได้เงินมากขนาดนั้น ?
เปิดสมองให้พร้อม
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
จุดเริ่มต้น วายุภักษ์ เกิดขึ้นปี 2546 หรือเมื่อ 21 ปีที่แล้ว
ผู้ถือหน่วย วายุภักษ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท
2
ประเภท ก. คือ ผู้ลงทุนทั่วไป ที่ไม่ใช่รัฐบาล
1
ประเภท ข. คือ รัฐบาล โดยกระทรวงการคลังเป็นตัวแทน
สิ้นสุดโครงการแรกไปเมื่อ 2556 ตอนนั้นกองทุนวายุภักษ์ซื้อคืนหน่วยลงทุน ทำให้หน่วยลงทุนประเภท ก. คือ ผู้ลงทุนทั่วไป ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวแล้วตั้งแต่ตอนนั้น
1
ปัจจุบัน กองทุนวายุภักษ์ เลยเหลือแต่ภาครัฐเป็นผู้ถือหน่วย โดยมีมูลค่าล่าสุดประมาณ 350,000 ล้านบาท
1
จำตัวเลข 350,000 ล้านบาท ไว้ดี ๆ เพราะมันเป็นจุดสำคัญที่จะมีพูดถึงเป็นระยะในบทความนี้
3
ปัจจุบัน กองทุนวายุภักษ์ กลับมาเสนอขายประเภท ก. หรือผู้ลงทุนทั่วไปใหม่อีกครั้ง โดยเสนอขายสัปดาห์เดียว ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 - ศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567
4
มูลค่าที่เสนอขาย ประมาณการไว้ที่ 100,000 - 150,000 ล้านบาท
โดยเสนอขายให้ทั้งบุคคลทั่วไป และสถาบัน
เรื่องของเรื่องคือ สถาบัน เช่น ธนาคาร บริษัทประกัน กองทุนรวม เขารู้ดีว่า กองทุนวายุภักษ์มีกลไกอย่างไร และน่าจะจองเต็ม โดยประมาณการว่าจะขายสถาบันได้ 100,000 - 120,000 ล้านบาท
3
บุคคลรายย่อย จะขายได้ 30,000 - 50,000 ล้านบาทของก้อนนี้
แล้วกลไกของวายุภักษ์เป็นอย่างไร ?
ถ้าเราคิดว่า วายุภักษ์จะไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ให้ผู้ถือหน่วยประเภท ก. แล้วก็ลุ้นกันไปว่าหุ้นจะขึ้นหรือจะลง.. “จะเป็นความเข้าใจที่ผิด”
3
ลงทุนแมนจะขอพูดแบบรวบรัด และทำความเข้าใจให้ใหม่หมดเลย
1
สำหรับการถือหน่วยประเภท ก. ในภาษาการเงิน ลงทุนแมนจะเรียกว่ามันเป็น Structured Note หรือ เป็นตราสารที่ถูกออกแบบมาประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายตราสารหนี้แบบมีเงื่อนไข (จริง ๆ แล้วถือเป็นตราสารอนุพันธ์ แต่ไม่ขอพูดถึง ณ จุดนี้เพราะจะทำให้งง)
4
เงื่อนไขของกองทุน แปลเป็นภาษาชาวบ้าน
ถ้ากองทุนเริ่มต้น 10 บาท
กองทุนจะจ่ายเงินอย่างน้อย 0.3 บาทให้เราต่อปี
และมากสุด 0.9 บาทต่อปี
หมายความว่า เราจะได้เงินจากการถือหน่วยประเภท ก. 3% ถึง 9% ต่อปี
แล้วปีไหน จะเป็น 3% ปีไหนเป็น 9% ? มาดูกัน..
1
กองทุนวายุภักษ์บอกว่า จะนำเงินที่ระดมทุนได้ 150,000 ล้านบาท บวกกับของเดิม 350,000 ล้านบาท ไปกระจายการลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์ (หุ้น) ตลาดตราสารหนี้ เพื่อมุ่งหวังให้ได้ผลตอบแทนที่สูงในระยะยาว
แล้วมาวัดกันปีต่อปี ถ้าปีไหนกองทุนมีผลตอบแทนน้อยกว่า 3% ผู้ถือหน่วย ก. จะได้ขั้นต่ำ 3% (ส่วนที่ต่ำกว่า 3% ผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาลจะแบกรับไว้เอง)
3
ถ้าถามว่าผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาล จะช่วยรับการขาดทุนมากถึงขนาดไหน ?
คำตอบก็คือ ด้วยเงินทั้งหมดของเดิมของผู้ถือหน่วย ข. ซึ่งเป็นจำนวนเงินมากถึง 350,000 ล้านบาท..
1
ถ้าให้คิดว่าการขาดทุนนี้คิดเป็น % เท่าไร ? ให้เอา 350,000 / 500,000 ซึ่งก็คือ กองทุนนี้ต้องขาดทุนถึง 70% จากเงินต้น ผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาล ถึงจะเริ่มแบกรับการขาดทุนไม่ไหว..
1
แล้วผู้ถือหุ้นหน่วย ข. หรือรัฐบาล ได้อะไร ?
คำตอบก็คือ ในปีที่ผลตอบแทนดีเกิน 9% ส่วนที่เกิน 9% ผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาลจะได้รับไป
พูดง่าย ๆ ก็คือ ผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาล จะดูดซับความผันผวนในปีที่ผลตอบแทนต่ำกว่า 3% และปีที่ผลตอบแทนสูงกว่า 9% นั่นเอง
ส่วนปีที่กองทุนทำผลตอบแทนอยู่ในระหว่าง 3% ถึง 9% เช่นปีไหนกองทุนทำผลตอบแทนได้ 5% ผู้ถือหน่วย ก. และผู้ถือหน่วย ข. ก็จะได้รับเงินไป 5% เท่ากัน
4
โดยครบ 10 ปี ผู้ถือหน่วย ก. ก็จะได้เงินต้นคืนเต็มจำนวน หาก 350,000 ล้านบาท ของผู้ถือหน่วย ข. ไม่ได้หายไปทั้งหมด
เรามาจำลองสิ่งที่เกิดขึ้นย้อนหลังกัน กับผลตอบแทนของกองทุนวายุภักษ์หนึ่ง 10 ปีย้อนหลัง ว่ากลไกของวายุภักษ์จะทำงานอย่างไร ถ้ามีหน่วยลงทุนประเภท ก. เข้ามาอยู่ในสมการ
(แค่ตัวอย่างจำลอง ผลตอบแทนในอนาคตอาจไม่ได้เป็นแบบนี้)
3
ผลตอบแทนกองทุนวายุภักษ์หนึ่ง เมื่อเทียบกับ ผลตอบแทนผู้ถือหน่วย ก.
ปี 2557: 24.07% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2558: -25.39% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2559: 42.13% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2560: 12.83% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2561: -0.79% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2562: -0.97% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2563: -11.73% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2564: 13.76% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 9%
ปี 2565: -3.58% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 3%
ปี 2566: 5.50% ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ 5.5%
5
พอเห็นผลตอบแทนเป็นแบบนี้ ก็บอกได้เลยว่า ผู้ถือหน่วย ก.จะได้ผลตอบแทนคล้ายตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ย 3% ต่อปี ที่มีโบนัสบางปีที่ได้มากกว่านั้น
ซึ่งจะได้ผลตอบแทนรวม 56.5% ใน 10 ปี หรือผลตอบแทนเฉลี่ย (CAGR) ปีละ 5.61%
3
รู้ไหมว่า ตอนนี้พันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ให้ yield หรือดอกเบี้ย แค่ 2.5% เท่านั้น
ดังนั้นถ้าเรามีส่วนผสมของวายุภักษ์ประเภท ก. ที่ให้ผลตอบแทน 3% - 9% ต่อปี ในพอร์ตการลงทุนอยู่ด้วย ก็คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ผิดนัก
1
และถ้าให้คาดเดา สถาบัน เช่น ธนาคาร บริษัทประกัน กองทุนรวม
ผู้จัดการกองทุนของสถาบันเหล่านี้ ก็คงจะเลือกกองทุนวายุภักษ์ หน่วย ก. เข้าพอร์ตอย่างเต็มที่ เพราะผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง มันมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลอยู่มาก
1
นอกจากนั้น ถ้าเราไม่อยากถือครอง หน่วยลงทุนวายุภักษ์ ก. จนครบ 10 ปี หน่วยลงทุนนี้ก็มีให้ซื้อขายได้ในตลาดรอง เสมือนหุ้นตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ได้ด้วย
2
คิดต่อไป เมื่อเทียบกับ yield ของพันธบัตรรัฐบาลแล้ว ก็เป็นไปได้เหมือนกันว่าราคาในตลาดรองของ หน่วยลงทุนวายุภักษ์ ก. อาจจะซื้อขายกันในราคาที่ไม่ใช่หน่วยละ 10 บาท..
1
มาดูข้อมูลต่อ
แล้วถ้าจำลองให้ใน 10 ปีที่ผ่านมา กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง มีหน่วยลงทุน ก. มาถืออยู่ด้วย รัฐบาลจะได้ผลตอบแทนเท่าไร ?
1
ผลตอบแทนกองทุนวายุภักษ์หนึ่ง เมื่อเทียบกับ ผลตอบแทนผู้ถือหน่วย ข. หรือรัฐบาล
ปี 2557: 24.07% รัฐบาลจะได้ 30.53%
ปี 2558: -25.39% รัฐบาลจะได้ -37.56%
ปี 2559: 42.13% รัฐบาลจะได้ 56.33%
ปี 2560: 12.83% รัฐบาลจะได้ 14.47%
ปี 2561: -0.79% รัฐบาลจะได้ -2.41%
ปี 2562: -0.97% รัฐบาลจะได้ -2.67%
ปี 2563: -11.73% รัฐบาลจะได้ -18.04%
ปี 2564: 13.76% รัฐบาลจะได้ 15.80%
ปี 2565: -3.58% รัฐบาลจะได้ -6.40%
ปี 2566: 5.50% รัฐบาลจะได้ 5.50%
จะเห็นว่าในปีที่บวกก็จะบวกสุด ๆ จากการได้ส่วนเกินจากหน่วย ก.
ปีที่ลบ ก็จะลบสุด ๆ จากการต้องไปคุ้มครองหน่วย ก.
โดยจะได้ผลตอบแทน 29.8% ใน 10 ปี หรือผลตอบแทนเฉลี่ย (CAGR) ปีละ 2.64%
3
ต้องหมายเหตุว่า การคำนวณนี้เป็นการคำนวณอย่างง่าย ซึ่งในตัวเลขจริงอาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ทำให้ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามแบบจำลอง
1
แต่น่าสนใจตรงที่ เมื่อเทียบกับข้อมูลจริงย้อนหลัง 10 ปี
รัฐบาลยอมให้ ผู้ถือหน่วย ก. ได้ผลตอบแทน 5.61% ต่อปี
ส่วนตัวรัฐบาลเองยอมรับความผันผวนสุด ๆ และได้ผลตอบแทนแค่ 2.64% ต่อปี
3
ก็คงจะพูดได้ว่า รัฐบาลยอมให้ตัวเองแบก เพื่อให้ผู้ถือหน่วย ก. ได้รับผลตอบแทนที่มีขั้นต่ำ แถมยังมีโบนัสในบางปี
2
คนที่รู้ความจริงของกองทุนนี้ เมื่อหาย งง แล้ว ก็คงแปลกใจ
ทำไมรัฐ ถึงยอมแบก ?
3
และจากข้อเท็จจริง ผู้ถือหน่วย ก. จะมี 150,000 ล้านบาท
โดยสถาบัน จะซื้อ 100,000 - 120,000 ล้านบาท
อีก 30,000 - 50,000 ล้านบาท จะให้บุคคลรายย่อยจอง
5
แปลทางอ้อมได้ว่า คนที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่ของการแบกของรัฐบาลครั้งนี้ ก็คือสถาบัน อย่างธนาคาร บริษัทประกัน กองทุนรวม..
3
เมื่อคิดรวมกัน 10 ปี การแบกของรัฐบาล คาดว่าอาจจะมีมูลค่ารวมกันหลักหลายหมื่นล้านบาท จนถึงแสนล้านบาท เลยทีเดียว
3
พออ่านจบ สิ่งเดียวที่เหลืออยู่ ที่คนธรรมดาพอจะทำได้ในช่วงนี้ก็คือ เตรียมเงินไปซื้อ กองทุนวายุภักษ์ ประเภท ก. แล้วให้รัฐบาลแบกไปอีก 10 ปี นั่นเอง..
5
โฆษณา