Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วินทร์ เลียววาริณ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
28 ก.ย. 2024 เวลา 00:00 • หนังสือ
บทความ Blockdit ตอน เจ็บปวดแต่ไม่ทุกข์
เย็นวันหนึ่งผมติดอยู่ในรถใจกลางเมือง กลางสายฝนที่เทลงมาต่อเนื่อง รถติดแน่นิ่งอยู่กับที่ เห็นชัดว่าอีกนานกว่าจะถึงบ้าน
5
มองไปข้างหน้ารถ เห็นกระบะคันหนึ่งไร้หลังคา ชายสองคนนั่งตากฝนอยู่ ทั้งสองไม่คิดจะคลุมหัวกันฝน นั่งสูบบุหรี่คุยกัน หัวเราะกันราวกับกำลังนั่งปิกนิกกลางสวนสวย ในสภาพอากาศดี แสงแดดอ่อนๆ
1
มันเป็นภาพที่ทำให้ต้องขบคิด
ทุกครั้งที่รถติด จะมีคนบ่นด่า สาปแช่งฟ้าดินเสมอ
“ฝนตกอีกแล้ว”
“รถจะติดอีกนานเท่าไร”
ฯลฯ
ไม่ค่อยมีใครใช้เวลานั้นมองดูสายฝนเงียบๆ หรือใช้เวลานั้นอยู่กับหัวใจของตัวเอง
1
สุขทุกข์จึงขึ้นอยู่ที่มุมมอง ทัศนคติ
โลกใบเดิม แต่มองได้สองด้านเสมอ
2
หากเราชำแหละโครงสร้างดีเอนเอของความทุกข์ จะพบว่ามันแบ่งออกได้สองสายพันธุ์ คือ pain กับ suffering
3
ความทุกข์ที่เรียกว่า pain กับ suffering นั้นแตกต่างกัน
2
pain คือความรู้สึกเจ็บปวด อาจเป็นความเจ็บทางกายภาพ เช่น ตะปูตำเท้า หรือเจ็บภายใน เช่น เศร้าสลดเมื่อได้ยินข่าวเพื่อนรักตาย หรือผิดหวังในรัก
suffering คือความทุกข์ทรมาน
3
เวลาดูหนังเศร้า เราเศร้า เราร้องไห้ (pain) แต่ไม่ทุกข์ทรมาน (suffering) เพราะเรารู้ว่ามันเป็นหนัง
ทุกคนที่ผ่านสภาวะอกหักรู้สึกเจ็บปวด (pain) แต่ไม่ทุกคนทุกข์ทรมาน (suffering)
พูดง่ายๆ คือไม่ทุกคนทุกข์ในระดับเท่ากัน
เมื่อถูกไล่ออกจากงาน เราอาจเจ็บปวด (pain) แต่อาจไม่ทุกข์ (suffering) ก็ได้
1
ถ้ามองว่าโลกไม่ยุติธรรมเลย เราทำงานแทบตาย อยู่ดึกดื่น ชีวิตส่วนตัวแทบไม่มี สร้างกำไรให้บริษัท แต่กลับถูกไล่ออก อย่างนี้ก็จะเจ็บปวดและทุกข์ เป็นสองเด้ง
2
แต่ถ้ามองว่าการถูกให้ออกจากงานเป็นความเปลี่ยนแปลงอีกบทหนึ่งของชีวิต ก็อาจไม่เจ็บปวดเท่าใด และไม่ทุกข์
เพราะรู้ว่าเมื่อประตูบานหนึ่งปิด อีกบานหนึ่งจะเปิด
3
มองหาประตูบานใหม่ให้พบ แล้วเดินต่อไป
เราทุกคนอาจหนีความเจ็บปวดไม่ได้ทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ แต่เลือกไม่ suffering ได้
เจ็บปวดเป็นสิ่งที่เราเลือกไม่ได้
2
ทุกข์เป็นสิ่งที่เราเลือกได้
2
ตัวอย่างที่ดีที่สุดของคนที่จัดการกับเรื่องเลวร้ายให้เป็นแค่ pain แต่ไม่ถึงขั้น suffering อย่างชัดเจน น่าจะได้แก่พระสองรูป
เรื่องนี้พระไพศาล วิสาโล เล่าไว้ในหนังสือ ลำธารริมลานธรรม
1
คนแรกคือหลวงปู่บุดดา ถาวโร ครั้งหนึ่งท่านและพระหลายรูปได้รับนิมนต์ไปฉันที่บ้านของโยมผู้หนึ่ง อาหารนั้นเป็นพิษ พระทุกรูปฉันแล้วก็อาเจียนอย่างหนัก พระทุกรูปยกเว้นหลวงปู่บุดดาล้มนอนเพราะพิษ
แต่หลวงปู่บุดดายังคงพูดคุยกับเจ้าของบ้านและญาติโยมเสมือนเป็นคนปกติไม่เจ็บ ทั้งที่ก็ต้องพิษเหมือนกับพระรูปอื่น คุยๆ ไปถ้าเกิดอาการต้องอาเจียน ก็ลากกระโถนจากใต้ที่นั่งออกมา อาเจียนแล้วก็คุยต่อ
1
มีคนถามหลวงปู่ว่า อาการไม่หนักหรือ จึงสามารถทำเช่นนั้นได้
2
หลวงปู่บุดดาบอกว่าอาการก็หนักเท่ากับพระรูปอื่น แต่ร่างกายอยู่ส่วนร่างกาย จิตอยู่ส่วนจิต ร่างกายถูกยาเบื่อยาเมาไม่ได้แปลว่าต้องให้จิตแสดงอาการไปด้วย
2
“กายกับใจมันคนละเรื่อง รวมกันไม่ได้”
6
อีกประการ เจ้าภาพมีความทุกข์ใจที่ถวายอาหารเป็นพิษ จึงคุยด้วยให้เขาไม่เป็นทุกข์ใจ
ครั้งหนึ่งหลวงปู่บุดดาเข้าโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดนิ่วออก ท่านไม่แสดงอาการเจ็บเหมือนคนไข้อื่นๆ ที่รับการผ่าตัดนิ่ว เพราะโรคนี้สร้างความเจ็บปวดมากมายนัก
1
หลวงปู่บอกว่า ร่างกายมันเจ็บ แต่ไม่ทำให้จิตใจพลอยเจ็บไปกับร่างกายด้วย
1
คนส่วนใหญ่ในโลกป่วยแล้วทุกข์ เพราะเชื่อมกายกับใจ เมื่อเจ็บป่วยก็ร้องว่า “แย่แล้ว เราป่วย” “เราจะตายไหม?” ฯลฯ
ความป่วยไข้ก็ออกฤทธิ์ถึงจิตด้วย
2
หากตามทันความเจ็บ และมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายภาพไม่เกี่ยวกับใจ ก็ไม่เป็นทุกข์ หรือเจ็บปวดแต่ไม่ทุกข์
2
พระอีกรูปหนึ่งที่ผ่านสถานการณ์เจ็บป่วยขั้นร้ายแรงคือหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ ใช้ชีวิตโดยตามจิตเสมอ รู้กายรู้ใจ หรือที่ว่า “เห็น อย่าเข้าไปเป็น”
1
บทพิสูจน์เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2549 หมอตรวจพบว่าหลวงพ่อคำเขียนเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ก้อนมะเร็งทำให้คอบวมใหญ่ บีบหลอดลมจนหายใจไม่สะดวก แต่ท่านก็ไม่บ่นว่าเจ็บ เจริญสติรับรู้
ต่อมาหมอตรวจพบก้อนเนื้อในตับอ่อน หมอกดท้องของท่าน ถามว่าเจ็บกี่เปอร์เซ็นต์ ท่านตอบว่าเกินร้อย
1
ทุกคนงง เพราะเจ็บเกินร้อยแต่ไม่ร้องสักแอะ
เช่นเดิม ท่านใช้หลัก ‘เห็น อย่าเข้าไปเป็น’
ท่านว่า “มันเป็นเพียงอาการเอาไว้ดู ไม่ได้เอาไว้เป็น”
2
ผ่านการรักษาโดยการฉายแสงนานแปดเดือน ผ่านความเจ็บปวดทางกายต่อเนื่อง ท่านก็ไม่แสดงให้เห็นว่าเป็นคนมีความทุกข์
1
ท่านบอกว่า “ตัวคิดต่างหากที่ทำให้เราเป็นภพ เป็นชาติต้องอยู่กับความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ถ้าเราไม่ไปอยู่กับมันก็ไม่มีอะไร ทำอะไรไม่ได้”
6
เราอาจฝึกจิตไม่ได้ถึงระดับนั้น แต่บทเรียนจากพระทั้งสองรูปนี้บอกเราว่า “เจ็บปวดแต่ไม่ทุกข์” นั้นทำได้จริง
และหากเราเปลี่ยนมุมมอง มาใช้ทัศนคติแบบนี้ บางทีความทุกข์ในชีวิตเราอาจหายไปกว่าครึ่ง
1
ผมเคยผ่านประสบการณ์ไส้ติ่งแตก มันเริ่มที่เจ็บตรงท้องน้อยด้านขวา ความเจ็บทวีขึ้นเรื่อยๆ มันเจ็บจนทนแทบไม่ได้ จนถึงจุดจุดหนึ่งก็ต้องไปหาหมอ
ระหว่างที่รอหมอเตรียมการผ่าตัด ก็ทนเจ็บนานราวนิรันดร์
แต่ต่อมาได้ยินคนที่เคยเป็นทั้งไส้ติ่งแตกและถุงน้ำดีอักเสบ เธอบอกว่าถุงน้ำดีอักเสบเจ็บกว่ามาก
ต่อมาได้ยินเพื่อนเล่าว่า คนเป็นมะเร็งกระดูกเจ็บกว่านั้นอีก
ดูเหมือนว่าสิ่งที่เราคิดว่าเจ็บที่สุด ยังมีความเจ็บเหนือชั้นกว่านั้น
2
บางคนสอบตก เกิดความทุกข์หนักเหมือนแบกโลกทั้งใบ แต่เมื่อถึงวันที่พ่อแม่จากโลก หรือแฟนทิ้ง ก็เห็นว่าเมื่อเทียบกันแล้ว ทุกข์สอบตกนั้นเล็กน้อยเหลือเกิน เพราะสอบใหม่ได้
1
จะเห็นว่าความทุกข์เดียวกัน เปลี่ยนมุมมอง ก็เห็นระดับของความทรมานต่างกัน
3
ความทุกข์จึงเป็นเรื่อง subjective คือแต่ละคนเห็นต่างกัน คนหนึ่งรู้สึกว่าหนักเหลือทน อีกคนอาจเห็นว่าไม่เท่าไร
1
หรือแม้แต่คนคนเดียวกัน สิบปีก่อนมองว่าเรื่องเรื่องหนึ่งทุกข์มาก ผ่านประสบการณ์ชีวิตมามาก ก็เห็นว่ามันธรรมดา
3
เมื่อเห็นอย่างนี้ เราก็อาจใช้วิธีมองแบบนี้ในการมองดู ‘ทุกข์’ ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
1
ผมมีญาติคนหนึ่งที่ถูกโกง ก็บอกว่า “ในเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว แก้อะไรไมไ่ด้ ก็จบตรงนี้ ทำงานต่อไป เดี๋ยวก็ได้เงินมาแทน”
เพราะคำนวณดูแล้ว ปล่อยวางค่าเสียหายต่ำกว่า
3
ทัศนคติแบบรู้จักปล่อยอย่างนี้ ทำให้ไม่เจ็บหรือไม่เจ็บนาน
ในช่วงวิกฤต ‘ต้มยำกุ้ง’ในปี 2540 เศรษฐกิจประเทศไทยล้มทั้งยืน คนไทยหลายคนฆ่าตัวตาย เพราะเจ็บและเป็นทุกข์ใหญ่หลวง เกินจะรับได้ มองไปทางไหนก็มืดแปดด้าน
คนมีตำแหน่งถูกลด ก็รับไม่ได้ จมไม่ลง ทุกข์ไปทุกหย่อมหญ้า
คนบางคนฆ่าตัวตาย บางคนกัดฟันสู้จนผ่านพ้นวิกฤต
เหมือนต้นไม้ที่ถูกตัดเหลือแต่ตอ บางต้นผลิใบใหม่ อาจใช้เวลายาวนาน แต่เมื่ออดทนสู้ชีวิต มันก็ผลิใบใหม่ออกมา
1
ทางพุทธสอนเรื่องทุกข์มาตลอด และบอกทางแก้ด้วย
1 ปล่อยวาง
2
2 เข้าใจความไม่แน่นอนของชีวิต
1
สองอย่างนี้เรารู้แล้ว แต่ไม่ทำ หรือทำไม่ได้
จิตก็เหมือนร่างกาย ต้องฝึกฝนให้ทนกับความเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์แห่งชีวิต
2
20 บันทึก
104
4
60
20
104
4
60
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย