5 ต.ค. 2024 เวลา 00:00 • หนังสือ

บทความ Blockdit ตอน ซี้ปังเท้า

ตึกแมลงวัน
1
การ์ตูน Mad ฉบับหนึ่งเสนอเรื่องสถาปนิกคนหนึ่งเขียนแบบตึก แมลงวันตัวหนึ่งบินมารบกวน เขาจึงตบแมลงวันตัวนั้นตายคาแบบตึก เมื่อผู้รับเหมาะสร้างตึกเสร็จ ก็สร้างแมลงวันตามแบบก่อสร้างทุกประการ
2
พฤติกรรมผู้รับเหมาแบบนี้ สำนวนจีนเรียก ซี้ปังเท้า (หัวสี่เหลี่ยม) หมายถึงคนที่คิดแบบเดียว ถ้าเป็นสำนวนฝรั่ง ก็เรียก one-track mind
คือคนที่คิดแบบเดียว เถรตรงอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่สามารถปรับตัว ไม่มีความยืดหยุ่น
สิงคโปร์เป็นประเทศที่ควบคุมทุกอย่าง เนื่องจากน้ำประปาส่วนหนึ่งต้องนำเข้าจากมาเลเซีย จึงมีกฎการประหยัดน้ำค่อนข้างเข้มงวด หลายปีก่อนเคยมีนโยบายหนึ่งคือไม่จำหน่ายโถส้วมขนาด 6 ลิตร มีแต่ขนาด 4-4.5 ลิตร
1
แต่มันประหยัดน้ำจริงหรือ?
1
ตามตรรกะมันก็ประหยัดน้ำ แต่ในความจริงอาจจะไม่ เพราะน้ำ 4 ลิตรอาจทำความสะอาดไม่หมดจด จนต้องกดซ้ำ คนบางคนชักโครกสองครั้ง เท่ากับเข้าส้วมหนึ่งครั้ง ใช้น้ำ 9 ลิตร มากกว่าเดิม 3 ลิตร
โถส้วมประหยัดน้ำจึงอาจไม่ประหยัดน้ำ
ความคิดว่าโถส้วมใหญ่ต้องเปลืองน้ำกว่า มองว่าอะไรที่เล็กคือประหยัด อาจไม่จริง และกลายเป็นกรอบคิดแบบซี้ปังเท้า
1
ร้านอาหารหลายแห่งใช้กระดาษเช็ดปากแบบแผ่นบางและเล็ก
ตามตรรกะก็น่าจะประหยัดค่าใช้จ่าย
แต่เนื่องจากแผ่นเล็กและบาง ลูกค้าก็ใช้มากกว่าหนึ่งแผ่น บางทีใช้ 5-6 แผ่นมาซ้อนกัน
ผลก็คือยิ่งจ่ายมากกว่าเดิม
เวลาซื้อแตงโม หลายคนเลือกลูกที่หนักกว่าลูกอื่น คาดว่าเนื้อเยอะกว่า แน่นกว่า แต่บางครั้งก็ได้ลูกที่เปลือกหนา ความหนักของมันมาจากเปลือก ไม่ใช่เนื้อใน
ในกรณีโถส้วม ผมคุยกับช่างไทยคนหนึ่ง เขาแนะนำให้ซื้อโถส้วมขนาดใหญ่ 6 ลิตร แล้วปรับใช้ตามความเหมาะสม โดยใส่อิฐหรือหินลงไปในโถน้ำสักก้อนหรือสองก้อน ให้มันแทนที่น้ำ โถ 6 ลิตรก็จะเหลือปริมาณน้ำต่ำกว่านั้น มากน้อยแล้วแต่แต่ละคน แต่ละบ้าน สามารถใช้น้ำไม่มากไป ไม่น้อยไป
4
นี่ก็คือการคิดนอกกรอบ
มีกี่วิธีไปเชียงใหม่
สมมุติว่าเราอยู่ที่กรุงเทพฯ ต้องการไปเชียงใหม่ มีกี่วิธีที่จะไปถึงจุดหมาย? หากเป็นพวกซี้ปังเท้า ก็โดยสารรถไฟ หรือเครื่องบินจากกรุงเทพฯตรงไปเชียงใหม่
แต่มองแบบนอกกรอบสี่เหลี่ยม เราอาจเดินทางลงใต้ แล้วนั่งเรือไปเวียดนาม แล้วค่อยนั่งรถไปเชียงใหม่ หรืออาจขึ้นจรวดไปดวงจันทร์ก่อน ค่อยกลับมาที่เชียงใหม่
การคิดนอกกรอบแบบนี้อาจฟังดูเหลวไหล แต่มันเปิดสมอง ให้ไม่คิดอะไรแบบซี้ปังเท้า
2
การเปิดขวดเหล้า เรามักเปิดฝาออก ถ้าเป็นไวน์ ก็ค่อยๆ ไขจุกคอร์กออก
1
แต่ยังมีอีกทางคือใช้มีดฟันหัวขวดขาด โดยใช้มีดคมกริบตัดคอขวดขาดในฉับเดียว เรียกว่า Sabrage เล่ากันว่ามีต้นกำเนิดในกองทัพของ นโปเลียน โบนาปาร์ต พวกทหารมักฉลองชัยชนะด้วยการใช้ดาบหั่นคอขวด
จะเห็นว่าทุกเรื่องที่เราเคยชิน มักมีทางอื่นเสมอ
เพื่อนผู้รับเหมาของผมเล่าว่า เขามีปัญหาเวลาให้ช่างไม้ทำงานใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน ยกตัวอย่างเช่น เขาต้องการออกแบบราวไม้แบบใหม่ ช่างไม้ตามร้านทั่วไปบอกทันว่า “ทำไม่ได้”
เขาจึงเลือกแบบราวไม้ที่มีอยู่ในร้าน ที่คล้ายแบบของเขาที่สุด บอกให้ช่างตัดจุดนี้ เพิ่มส่วนนั้น ขยายส่วนโน้น ช่างก็บอกว่า ทำได้ ทั้งที่มันก็ไม่ใช่แบบเดิม
3
พวกเขามีกรอบคิดเดียวคือทำตามแบบที่มีอยู่ ทำตามความเคยชิน
นี่เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ ไม่ชอบเสี่ยง ปลอดภัยไว้ก่อน
5
มองทุกอย่างด้านเดียว
มองแบบอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยม
เมื่อมีแต่ค้อนในมือ ก็มองทุกปัญหาเป็นตะปู
2
Lateral Thinking
ฝรั่งมีการศึกษาเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบมานาน
กระบวนการคิดนั้นมีหลายโมเดลที่ใช้กัน เช่น โมเดล The Reframing Matrix โมเดล Constructive Controversy โมเดล Empathy Mapping โมเดล lateral thinking โมเดล Six Thinking Hats สองโมเดลหลังเป็นของ เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน (Edward de Bono)
2
เดอ โบโน เป็นนักคิดชั้นยอดของโลก เขาเป็นคนเสนอวิธีการคิดที่โด่งดังมากคือ Lateral Thinking เมื่อปี 1967
lateral thinking (แปลตรงตัวว่าคิดทางข้าง) คือการมองเรื่องต่างๆ ในมุมต่างออกไปจากขนบคิดเดิม โดยไม่จำเป็นต้องมีตรรกะหรือเหตุผล
หลักการคือเราต้องเชื่อว่ากฎเกณฑ์เดิมทุกกฎเปลี่ยนแปลงได้เสมอ และมีทางเลือกอื่น
1
แต่จะหาทางเลือกอื่นได้ ก็ต้องกล้าคิดนอกกรอบ คิดหลุดโลก หลุดตรรกะ
2
lateral thinking จึงเป็นกระบวนการคิดที่หลุดจากตรรกะ เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
lateral = ด้านข้าง thinking = การคิด lateral thinking จึงหมายถึงการคิดด้านข้าง หรือการคิดเลียบข้าง หรือคิดออกนอกกล่อง
lateral thinking สำคัญมากในวงการที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์สูง เช่น​ วงการโฆษณา งานโฆษณาที่เตะตา สดใหม่ จับใจ จดจำง่าย ส่วนใหญ่ต้องคิดต่าง คิดหลุดจากตรรกะ หยุดมองด้วยสายตาเดิม หรือความเคยชิน หรือกรอบคิดเดิมชั่วคราว
2
ในเรื่องเดียวกัน lateral thinking มองต่างมุม ยกตัวอย่าง เช่น มีบ้านหลังหนึ่งตั้งบนทุ่งหญ้า มองแบบเดิมคือ “บ้านตั้งบนทุ่งหญ้า” มองแบบ lateral thinking อาจเป็น “บ้านลอยอยู่บนยอดหญ้า” ฯลฯ
มองเผินๆ เหมือนคิดประหลาด ไม่มีตรรกะ แต่มันเป็นกระบวนการคิดอย่างหนึ่งที่ถ้าใช้เป็น ก็มีประโยชน์มาก
ตัวอย่างหนึ่งของ lateral thinking คือนิทานพื้นเมืองของพม่าเรื่อง มะสาเบะผู้ชาญฉลาด
7
ในแผ่นดินพม่ามีสาวงามคนหนึ่งชื่อมะสาเบะ เป็นที่ต้องพระเนตรกษัตริย์ หมายมั่นจะได้นางมาเป็นสนม
1
กษัตริย์เสด็จไปหานางที่บ้าน บังคับให้นางเล่นเกมเลือกหินสีดำกับหินสีขาว
หากนางหยิบได้หินสีดำ จะต้องเป็นนางสนมของพระองค์ ถ้าหยิบได้หินสีขาว ก็จะเป็นอิสระ
กษัตริย์พม่าขี้โกง ใส่หินสีดำทั้งสองก้อนในถุงผ้า มะสาเบะเห็น ไม่ว่าจะหยิบก่อนใด เธอก็แพ้
วิธีคิดแบบ lateral thinking คือมะสาเบะหยิบหินหนึ่งก้อนออกมาจากถุงผ้า กำไว้ แล้วค่อยๆ แอบมอง จากนั้นก็ทำสีหน้ายินดี แล้วขว้างหินก้อนนั้นลงไปในแม่น้ำ บอกกษัตริย์ว่า “ขออภัยที่พลั้งเผลอ ทิ้งหินลงน้ำ เมื่อกี้ข้าฯดีใจจนลืมตัว”
แต่เนื่องจากกษัตริย์ใส่หินสีขาวกับสีดำอย่างละก้อน แค่ดูหินที่เหลือในถุงผ้า ก็สรุปได้อย่างง่ายดายว่าเธอหยิบหินสีอะไร
3
เรื่องจบที่หญิงสาวไม่ต้องแต่งงานกับคนโกง โดยไม่ได้หักหน้าอีกฝ่าย
4
lateral thinking ใช้ได้ในทุกวงการ มันไม่ต้องใช้พรสวรรค์ มันเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้
1
เดอ โบโน เห็นว่าคนเราอาจเกิดมาฉลาด สติปัญญาสูง แต่วิธีคิดเป็นสิ่งที่ต้องเรียนและฝึกฝน
หมวกหกใบ
เดอ โบโน ยังมีวิธีคิดอีกโมเดลหนึ่ง เรียกว่า Six Thinking Hats หนังสือ Six Thinking Hats ออกมาราวปี 1985 โดยใช้อุปมาว่าสวมหมวกหกสี หกใบ แต่ละใบแทนวิธีคิดแบบหนึ่ง
องค์กรธุรกิจหลายแห่งนำไปใช้จริง และได้ผลจริง ทำให้เราคิดอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การสวมหมวกหกใบไม่ได้หมายถึงทำหกหน้าที่ แต่หมายถึงวิธีการคิดหกแบบที่เราควรทำ เมื่อเราคิดแผนหรือโครงการหรือไอเดียอะไรก็ตาม
แล้วมันทำงานยังไง?
หมวกสีขาว
หมวกสีขาว คิดเฉพาะข้อมูลเปล่าๆ รวบรวมข้อมูลทั้งหมดอย่างเป็นกลาง เป็นหมวกข้อเท็จจริง
การรวบรวมข้อมูล ความรู้ ที่เก็บมาแล้ว และที่ยังไม่เก็บมา
เมื่อสวมหมวกสีขาว เราจะรวบรวมข้อเท็จจริงมาพิจารณา มีแต่ข้อมูลจริงเท่านั้น ไม่มีอารมณ์
หมวกสีเหลือง
หมวกสีเหลือง คิดแบบด้านบวก แก้ปัญหาแบบบวก
เมื่อหมวกสีเหลือง เรามองหาจุดที่เป็นด้านบวกที่สุดของเรื่องนั้นๆ มองด้านดี
หมวกสีดำ
หมวกสีดำ คิดแบบหาข้อแย้งหรือด้านลบ
เป็นหมวกตัดสิน ประเมินความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง
มองจุดที่อาจทำให้เกิดความผิดพลาด หรือไม่เวิร์ก
หมวกสีแดง
หมวกสีแดง คิดแบบใช้ความรู้สึก อารมณ์
เป็นเรื่องอารมณ์ความรู้สึก เมื่อสวมหมวกสีแดง เราแสดงความรู้สึกออกมา โดยไม่ต้องคิดเรื่องตรรกะ คิดเรื่องชอบ ไม่ชอบ เกลียด ฯลฯ
1
ยังเป็นเรื่องประสาทสำนึกพิเศษหรือสัญชาตญาณ (hunches and intuition)
1
หมวกสีเขียว
หมวกสีเขียว คิดแบบใช้ความคิดสร้างสรรค์ หาไอเดียใหม่ๆ
เมื่อสวมหมวกสีเขียว เราจะสำรวจความเป็นไปได้ทั้งหมดของไอเดียและทางเลือกต่างๆ
หมวกสีน้ำเงิน
หมวกสีน้ำเงิน คิดภาพรวม ของกระบวนการคิดทั้งหมด
1
เมื่อสวมหมวกสีน้ำเงิน เราเน้นที่ควบคุมความคิด การจัดการ การตัดสินใจ การสรุป
เป็นหมวกที่เราคุมกระบวนการคิด กลไกการคิด
หมวกแต่ละสีคือแต่ละแนวทาง การสวมหมวกถูกใบในแต่ละสถานการณ์ ช่วยให้แก้ปัญหาและสร้างสรรค์ดีกว่า
เราต้องใช้หมวกทั้งหกใบ การคิดจึงรอบด้านและสมบูรณ์ ได้ผลที่ดีที่สุด
1
การคิดต่างหกแบบ หกใบ ทำให้มีทางเลือกมากขึ้นในการเลือกหรือแก้ปัญหาหรือ การตัดสินใจ
เมื่อคิดครบหมวกหกใบ ก็น่าจะได้ไอเดียมากพอที่จะตัดสินใจได้
สวมหกใบทำให้มองครบจุดอย่างเป็นระบบ มันช่วยลดอคติ เพราะทำตามระบบที่สมดุล
การคิดแบบหมวกหกใบเหมาะทั้งคิดงานแบบกลุ่มหรือส่วนบุคคล
ประโยชน์ของหมวกหกใบคือ เราจะมั่นใจขึ้นว่า เราได้คิดทุกจุดทุกมุมครบดีแล้ว
มันส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ทำให้ได้ไอเดียใหม่ๆ
2
ทำให้เราใช้สมองทุกด้าน และคิดแบบวิเคราะห์
ถ้าคิดเป็นกลุ่ม ก็ช่วยสร้างการทำงานร่วมกัน
2
โฆษณา