19 ก.ย. เวลา 06:11 • สุขภาพ
โรงพยาบาลเพชรเวช

ตรวจมะเร็งตับ พบตั้งแต่ระยะแรก การรักษาจะมีประสิทธิภาพ

มะเร็งตับ เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง เนื่องจากจะไม่แสดงอาการผิดปกติตั้งแต่ระยะแรก ๆ นอกเสียจากไปตรวจสุขภาพหรือตรวจคัดกรองมะเร็งตับเท่านั้นถึงจะเจอก้อนเนื้อร้าย ทั้งนี้เมื่อพบก่อนการลุกลาม ประสิทธิภาพในการรักษาที่จะหายขาดมีโอกาสสูง เนื่องจากเซลล์มีขนาดเล็ก อาจไม่ต้องถึงขั้นผ่าตัด ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการดูแลสุขภาพ มาตามนัดหมายหรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดหรือไม่
มะเร็งตับเกิดจากอะไร ?
- บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากอยู่เป็นประจำ
- ใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลข้างเคียงต่อตับ
- ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ พยาธิใบไม้ในตับ
- ผู้ป่วยโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ตับแข็ง หรือภาวะไขมันพอกตับ
- ภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่แข็งแรง
- กรรมพันธุ์
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
- รับประทานผัก ผลไม้น้อยเกินไป
ชนิดของมะเร็งตับ
เซลล์ท่อน้ำดีในตับ
Cholangiocarcinoma มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคพยาธิในไม้ในตับ จากการรับประทานอาหารที่ผิดสุขลักษณะ ได้แก่
- เนื้อสัตว์ดิบแบบไม่ปรุงสุก โดยเฉพาะปลาน้ำจืด
- วัตถุดิบที่ปนเปื้อนดินประสิว และสารก่อนมะเร็งอื่น ๆ
- กรรมวิธีหมัก ดอง และการปิ้ง ย่าง รมควันอย่างไหม้เกรียม
เซลล์ตับ Hepatocellular Carcinoma
ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จนร่างกายป่วยเรื้อรังเป็นพาหะ โดยไม่มีความผิดปกติแต่อย่างใด จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน ติดต่อทางโลหิตจากมารดาสู่บุตร รับประทานอาหารแห้งที่ปนเปื้อนสาร Aflatoxin ถั่วลิสงคั่วป่น พริกตากแห้ง ธัญพืชอบเกลือหมดอายุ เป็นต้น
อาการเสี่ยงโรคมะเร็งตับ
ในระยะแรก ๆ จะไม่แสดงความผิดปกติออกมา แต่หากมีการลุกลามขึ้นมาแล้ว จะมีอาการดังนี้
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
- ท้องอืด
- ปวด จุก เสียดชายโครงด้านขวา
- แน่นท้อง
เมื่อมีการอุดตันของท่อน้ำดี
- เป็นไข้
- ตามร่างกายและดวงตาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
- บวมบริเวณขาและหน้าท้อง
- ปัสสาวะมีสีเข้มจัด
ระยะของมะเร็งตับ
ระยะที่ 1
ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กไม่เกิน 2 เซนติเมตร 1 ก้อน
ระยะที่ 2
คล้ายกับระยะแรกแต่มีไม่เกิน 3 ก้อน ขนาด 3 เซนติเมตร
ระยะที่ 3
มีการเพิ่มของก้อนมะเร็ง รวมทั้งขนาดใหญ่ขึ้น
ระยะที่ 4
- เกิดการลุกลามเข้าไปยังในเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงกับตับ
- เข้าสู่หลอดเลือดดำในช่องท้อง
- ไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ตับ
- แพร่กระจายตามกระแสโลหิต
ระยะสุดท้าย
- ไม่มีประสิทธิภาพการทำงานของตับ
- ผู้ป่วยสุขภาพเสื่อมโทรม นอนติดเตียง ต้องมีคนช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นมะเร็งตับ
- ตรวจเลือดหาระดับของสารอัลฟ่าฟีโตโปรตีน หรือ AFPซึ่งเป็นสารบ่งบอกว่าผู้ตรวจเป็นมะเร็งหรือไม่
- ใช้เทคโนโลยีเครื่องมือรังรังสีทางการแพทย์ เช่น อัลตราซาวด์, ฉีดสารทึบแสงเข้าเส้นเลือดแดง, CT Scan, MRI
โรงพยาบาลเพชรเวชให้บริการเจาะเลือดเพื่อหาสารมะเร็งตับ AFP ซึ่งจะอยู่ในโปรแกรมคัดกรองโรคตับ อีกทั้งผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ทั้งนอนน้อย ดื่มสุรา ใช้ยาบางชนิดอยู่เป็นประจำ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบด้วย ไม่ว่าจะโปรแกรมตรวจร่างกายไหน ๆ ล้วนแล้วแต่คุ้มค่ากับราคาที่เสียไปทั้งสิ้น ยิ่งไม่มีอาการแต่ดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันอย่างไม่ใส่ใจสุขภาพ จะส่งผลเสียต่อตัวท่านเองและบุคคลรอบข้างได้
โฆษณา