Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
21 ก.ย. 2024 เวลา 05:45 • สุขภาพ
หลัก 10 ประการดูแลสุขภาพช่วงฝนตกน้ำท่วม เผยโรคภัยอันตรายต้องระวัง
ช่วงฝนตกน้ำท่วม หนึ่งสิ่งที่ต้องระวังคือปัญหาสุขภาพ เผย 10 โรคที่ควรใส่ใจแนะหลัก10ประการควรทำเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
ช่วงหน้าฝนพายุเข้า ประกอบกับ ปัญหาน้ำท่วมที่ยังวิกฤติอยู่ในหลายจังหวัด นอกจากทรัพย์สินที่เสียหายแล้ว ยังพัดพาโรคมาอีกด้วย ไม่เพียงแค่ช่วงน้ำท่วมเท่านั้นแต่ตอนนั้นลดก็เสี่ยงไม่แพ้กัน เพราะในหลายบ้านต้องทำความสะอาดดินโคลน บทความนี้เผย 10 โรคที่ควรระวัง และวิธีป้องกันให้ผ่านไปด้วยดี
- 10 โรคภัยควรระวังหน้าฝนน้ำท่วม
● น้ำกัดเท้าจากเชื้อราและแผลพุพองเป็นหนอง ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรคหรืออับชื้นจากเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาดเป็นเวลานาน มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนคือผิวหนังอักเสบ
● ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อได้ทุกเพศทุกวัย แพร่กระจายในลมหายใจ เสมหะ น้ำลาย อาการมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ไอจาม อ่อนเพลีย
● โรคปอดบวมเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด เช่น น้ำสกปรกจนทำให้เกิดการอักเสบ อาการไข้สูง ไอมาก หอบหายใจเร็ว เห็นชายโครงบุ๋ม ริมผีปากซีดหรือเขียวคล้ำ กระสับกระส่ายหรือซึม หากมีอาการควรรีบพบแพทย์ทันที
● โรคตาแดง ติดต่อได้ง่ายในเด็กเล็กแต่เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ ทั้งนี้ในหากดูแลถูกวิธีจะหายได้ใน 1- 2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดูแลอาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น กระจกตาดำอักเสบ
● โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น อาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม
● อาหารเป็นพิษ มักมีอาการปวดท้องร่วมกับการถ่ายอุจาระเหลว คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการปวดศีรษะและเมื่อยเนื้อตัวร่วมด้วย โรคบิด จะถ่ายอุจจาระมีมูกหรือเลือดปน มีไข้ ปวดท้องและมีปวดเบ่งร่วมด้วย โรคไข้ทัยฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย มีอาการสำคัญคือมีไข้ เบื่ออาหาร ท้องผูก เมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ
● โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ เชื้อออกมากับปัสสาวะสัตว์แล้วปนเปื้อนในน้ำท่วมขัง โดยโรคนี้จะติดต่อทางบาดแผล รอยขีดข่วน หรือไชเข้าตามเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนานๆ
● โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะพบได้ทุกวัยในทุกพื้นที่ มีอาการไข้สูงตลอดทั้งวัน หน้าแดง เกิดจุดแดงๆ เล็กๆ ตามลำตัว ต่อมาไข้จะลดลง ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะอาจเกิดอาการรุนแรง มีความผิดปกติ เช่น ถ่ายดำ ไอปนเลือด เกิดภาวะช็อคและเสียชีวิตได้
● โรคหัด เป็นโรคไข้ออกผื่นที่พบในเด็ก เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบในฤดูฝน หากมีการแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตได้
● โรคไข้มาลาเรีย ติดต่อโดยยุงก้นปล่องเป็นพาหะนำเชื้อโรค มักพบในพื้นที่ป่าเขามีแหล่งน้ำจืดธรรมชาติ อาการหลังรับเชื้อ 7-10 วัน จะปวดศีรษะ โดยทั่วไปคล้ายไข้หวัด แต่หลังจากนั้นจะหนาวสั่นและไข้สูงตลอดเวลา อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
● โรคงูสวัด จะมีอาการปวดอย่างมากบริเวณที่เป็นงูสวัด เจ็บแสบๆ ร้อนๆ บางคนมีอาการคันร่วมด้วยหรือเป็นไข้ได้ บางคนทรมานจากอาการปวดมากจนนอนไม่หลับ เมื่อเป็นอาการแดง มีผื่นขึ้น และบริเวณที่เป็นจะมีกลุ่มของตุ่มน้ำในผิวหนัง ต่อมาตุ่มน้ำจะเริ่มแห้งและตกสะเก็ดจางหายไป ระยะเวลาตั้งแต่เป็นจนหายไปประมาณ 7-14 วัน ในเด็ก โรคนี้จะไม่รุนแรง เท่าผู้ใหญ่
-หลัก10 ประการ ปฏิบัติดูแลสุขภาพช่วงน้ำท่วม
● หมั่นดูแลความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะเท้า ซึ่งต้องล้างด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง หลังการเดินลุยน้ำ และล้างมือบ่อยๆ หรือใช้เจลล้างมือแทน
● กรณีต้องเดินลุยน้ำ ควรใส่รองเท้าบูท และทายาป้องกันน้ำกัดเท้าทุกครั้งก่อนลงน้ำ และมีไม้ตีน้ำเป็นระยะเพื่อไล่สัตว์มีพิษที่อาจอยู่บริเวณที่เดิน
● ระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าตา เพื่อป้องกันโรคตาแดง
● การดูแลภาชนะใส่อาหารและช้อนส้อมให้สะอาดป้องกันโรคทางเดินอาหาร
● เลือกรับประทานอาหาร ถ้ามีกลิ่นไม่ดี ใกล้บูด ไม่ควรรับประทาน
● ระวังบุตรหลานไม่ให้เล่นน้ำ หรืออยู่ใกล้น้ำ
● กรณีเจ็บป่วย เช่น เป็นหวัด ตาแดง ควรเลี่ยงการ อยู่ใกล้ชิดผู้อื่น เพื่อป้องกันการติดต่อ ล้างมือบ่อยๆ และใส่หน้ากากอนามัย
● ป้องกันกรณีไฟฟ้ารั่วและไฟชอร์ต ถ้ามีน้ำท่วมถึงปลั๊กไฟต้องตัดสะพานไฟทุกครั้ง
● ใช้ถุงทรายอุดปิดโถส้วมป้องกันการไหลย้อน ใช้สุขาชั้น 2 หรือ ใช้ถุงดำเป็นส้วมสนาม แล้วมัดปิดเก็บไว้กำจัดภายหลังน้ำลด อาจใส่ปูนขาว หรือ EM ก่อน
● ฝึกการคลายเครียดด้วยตนเอง เช่น การพูดระบายความเครียด ฟังเพลงคลายเครียด ฝึกการหายใจคลายเครียด เป็นต้น
ทั้งนี้ทีมข่าวพีพีทีวีขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัยผ่าน วิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกันอย่างสุขภาพแข็งแรงนะคะ
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/health/care/5884
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
สุขภาพ
ฝนตก
น้ำท่วม
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย