21 ก.ย. เวลา 11:35 • ธุรกิจ
Taste Cafe

กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทย?

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่านขออภัยจริงๆที่ห่างหายไปนานไม่ได้มาอัพเดตเพจเลยในโพสต์นี้ผมจะนำเรื่องทางกฎหมายมหาชนเรื่องหนึ่งซึ่งจริงๆแล้วถือได้ว่าเรื่องนี้เป็นกฎหมายมหาชนสมัยใหม่นั่นก็คือกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ
 
กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจถือเป็นหนึ่งในสาขากฎหมายมหาชนยุคใหม่ในกฎหมายมหาชนภายในที่แต่เดิมจะนับโดยเน้นไปที่กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองเป็นสำคัญ
เหตุที่ต้องมีกฎหมายสาขานี้ขึ้นมาเพราะในพันธกิจของหน่วยงานรัฐที่ต้องจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชนย่อมต้องมีเรื่องในทางเศรษฐกิจมาเกี่ยวข้องอย่างหลีกไม่ได้เหตุนี้เองกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญในยุคใหม่
ในแง่นิยามแล้วกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจคือกฎหมายที่พูดถึงบทบาทของรัฐในทางเศรษฐกิจ โดยในปัจจุบันจะครอบไปถึงสังคมสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีว่าเมื่อไหร่รัฐควรจะมีบทบาทไปแทรกแซงดำเนินการใดๆเพื่อประโยชน์ในการจัดทำบริการสาธารณะแก่ประชาชน
ท้ายสุดแล้วกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจจึงเป็นการพูดถึงบทบาทที่เหมาะสมของรัฐในการเข้าไปแทรกแซงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
 
อันที่จริงแล้วกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจถือได้ว่าเป็นสาขากฎหมายที่ค่อนข้างกว้าง
มากๆเหตุเพราะมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มกฎหมายหลายกลุ่มและความรู้ในทางเศรษฐศาสตร์ความรู้ที่เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจรวมไปจนถึงระบบการปกครองอีกด้วย
หากแต่เป็นประเทศที่เป็นเสรีประชาธิปไตยยึดถือระบบแบบทุนนิยมเสรีแน่นอนว่าบทบาทของรัฐในทางเศรษฐกิจย่อมจะน้อยลงไปโดยปริยาย เพราะเอกชนที่ดำเนินการทางธุรกิจคงจะไม่ชอบหากรัฐมีบทบาททางเศรษฐกิจมากเกินไปผ่านการบังคับใช้กฎหมาย
ในทางกลับกันถ้าใช้การปกครองแบบสังคมนิยมหรือแม้แต่คอมมิวนิสต์ก็ตามรัฐย่อมต้องมีบทบาทอย่างมีนัยยะสำคัญในทางเศรษฐกิจเฉกเช่นเดียวกัน
ประเทศไทยก็ไม่ได้ต่างกันในทุกยุคทุกรัฐบาลเราเห็นมาตรการต่าวๆที่ถือได้ว่าเป็นการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจอย่างมากมายมหาศาลในทุกยุค
ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การประกันราคาพืชผลทางการเกษตร การจำนำราคาข้าวเปลือก ต่างๆเหล่านี้ล้วนแต่เป็นตัวอย่างที่สะท้อนถึงความเป็นกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจที่สะท้อนผ่านการมีบทบาทในทางเศรษฐกิจของรัฐไทยทั้งสิ้น
แต่ทว่าในบทความนี้ผมจะพาผู้อ่านมาชวนพิจารณาบทบาทของรัฐไทยในทางเศรษฐกิจ
เราจะเห็นได้ว่าทุกพรรคการเมืองมุ่งแสดงบทบาทของรัฐทางเศรษฐกิจผ่านนโยบายประชานิยมแม้นโยบายประชานิยมอาจจะไม่ใช่เรื่องผิดแต่ในปัจจุบันในรัฐธรรมนูญ2560ที่จริงๆมีข้อห้ามตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งที่ห้ามไม่ให้หาเสียงด้วยนโยบายประชานิยมก็ตาม
กระนั้นแล้วก็มีเรื่องที่น่าคิดตามมาครับว่าหากประชาชนผู้ทรงอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงได้เลือกพรรคการเมืองที่ไปทำนโยบายเศรษฐกิจในลักษณะที่เน้นประชานิยมเป็นสำคัญจริงๆก็ไม่ควรมีกลไกใดๆมาขวางกันอาทิเช่นอย่างในนโยบายที่กำลังงุนงงกันอยู่ในปัจจุบันอย่างดิจิทอลวอเลทว่าสรุปจะแจกไม่แจก
เหตุที่รัฐบาลไม่กล้าแจกสักทีส่วนนึงเป็นเพราะกลัวจะผิดพรบ.งบประมาณเป็นต้น
แต่ในทางกลับกันเราปฎิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่าหากบทบาทของรัฐในทางเศรษฐกิจไทยเน้นไปทางการทำนโยบายประชานิยมโดยละเลยการแก้ไขเชิงโครงสร้างโดยจะมุ่งแต่การแจกเงินกันแทบทุกพรรคแต่ไม่ได้มีนโยบายสาธารณะอันจะนำมาสู่การจัดทำบริการสาธารณะที่ถึงรากที่โคลนจริงๆเศรษฐกิจไทยก็จะยังน่าเป็นห่วงแบบนี้ต่อไปและไม่รู้อีกเมื่อไหร่ที่เราคนไทยจะได้ยินจากภาครัฐว่า
เศรษฐกิจไทยดีแล้ว ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจริงๆ
#public law cse
โฆษณา