22 ก.ย. 2024 เวลา 22:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สุรินทร์

ตอนนี้เทคโนโลยีการเดินทางในกาลเวลาและการเปลี่ยนแปลงอดีตและปัจจุบันรวมทั้งอนาคตเป็นจริงขึ้นมาแล้ว

จากการค้นคว้าของข้าพเจ้า
ได้ไอเดียมาจากคัมภีร์พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาและการศึกษาทางด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์รวมทั้งคอมพิวเตอร์ศึกษาและหลักรัฐศาสตร์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติไทยและของโลก
ซึ่งคัมภีร์พระไตรปิฎกกล่าวถึงหลักไตรลักษณ์และหนึ่งในหลักไตรลักษณ์ก็คืออนิจจังซึ่งแปลว่าการเปลี่ยนแปลง,ความเคลื่อนไหว,ความแตกต่าง,ความไม่เที่ยง,ความไม่แน่นอนและจะแปลว่าเวลาก็ได้
แต่ทางคัมภีร์พระไตรปิฎกในส่วนของพระธรรมมีบทหนึ่งกล่าวว่าอกาลิโกซึ่งแปลว่าไม่มีกาลเวลา ซึ่งกรณีเช่นนี้เราจะกล่าวได้เช่นไรว่ามีกาลเวลาหรือไม่มีกาลเวลากันแน่?
แต่ถ้าเรานึกถึงหลักมัชฌิมาปฏิปทาที่พระพุทธองค์ได้กล่าวไว้ในเวลาที่พระองค์จะตรัสรู้ท่านใช้หลักมัชฌิมาปฏิปทา
1
ดังนั้นกรณีที่กล่าวว่ามีกาลเวลาไหมก็คืออนิจจังนั่นเอง
ส่วนการไม่มีกาลเวลานั้นหมายถึงในเวลาปัจจุบันนั้นเป็นทั้งอดีตและอนาคตของเรารวมทั้งปัจจุบันด้วยและนี่แหละคือความหมายของคำว่าอกาลิโก
หรือไม่มีกาลเวลาโดยรวมอยู่ในสถานที่เดียวกันและสถานที่นั้นมีทั้งอดีตปัจจุบันและอนาคตและนี้แหละคือคำว่า อกาลิโกซึ่งแปลว่าไม่มีกาลเวลา
แต่ถ้าถามว่ามีกาลเวลาไหมเราต้องมาดูคำว่าอนิจจังซึ่งถ้าไม่มีเวลาจะไม่มีการเคลื่อนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่มีความแตกต่างและถ้ามีแต่คำว่าอกาลิโกหรือไม่มีเวลาทุกอย่างก็จะอยู่นิ่งดังนั้นเราจึงควรใช้หลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางในการอธิบายการเดินทางในกาลเวลา
ส่วนเราจะเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคตได้อย่างไรนั้นถ้านึกถึงหลักอนิจจังหรือการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวและความแตกต่างเราสามารถทำได้ทั้งนั้นไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะอยู่ในอดีตปัจจุบันและอนาคต
ซึ่งรวมความหมายอยู่ในคำว่าอนิจจังเพียงคำเดียวเท่านั้นนั่นเอง นั่นก็คือการเปลี่ยนแปลง
แล้วเราจะเดินทางไปอดีตได้อย่างไรหรือไปอนาคตได้อย่างไรและเครื่องไทม์แมชชีนจะถูกสร้างได้อย่างไรนั้น
ขอบอกตามความเป็นจริงว่า time machine นั้นก็คือสมองเรานั่นเองโดยการที่เราจำอดีตได้ก็คือการเดินทางไปยังอดีต นั่นก็คือการที่เราจดจำเหตุการณ์ในอดีตได้แสดงว่าเราได้เดินทางไปอดีตแล้วซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ทางฟิสิกส์ได้ดังนี้
สิ่งที่เดินทางเร็วกว่าแสงย่อมย้อนกาลเวลา ส่วนเราจะเดินทางในอนาคตได้อย่างไรก็ไม่ยากตามหลักทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษของไอสไตน์ท่านบอกว่าต้องทำให้จิตใจของเราช้าใกล้เคียงกับแสงถึงจะไปอนาคตได้หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือรู้อนาคตได้
แต่ถ้าอนาคตนั้นไม่ดีเราก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในการเปลี่ยนแปลงที่ปัจจุบันเลยทำให้ปัจจัยที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีนั้นเปลี่ยนแปลง(อนิจจัง)ส่วนการที่เราจะเปลี่ยนแปลงอดีตนั้น
เพื่อให้ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีถ้าหากว่าอดีตนั้นเป็นอดีตที่เลวร้ายเราก็สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเราเองที่มีต่อเหตุการณ์ในอดีตนั้นซึ่งตัวเราหรือร่างกายของเรานั้นจะอยู่ในปัจจุบันเพียงแต่ว่าสิ่งที่เดินทางไปเปลี่ยนแปลงอดีตและอนาคตก็คือจิตใจของเรานั่นเอง!:
โฆษณา