23 ก.ย. เวลา 05:17 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

Equinox เมื่อวันไม่ได้เสมอภาคกับราตรีแบบเป๊ะๆ

ก่อนจะมีการวัดเวลา วัน เดือนและปีมาตรฐานที่แม่นยำอย่างเช่นในปัจจุบัน คนในยุคโบราณได้ใช้ประโยชน์จากดวงดาวมาตลอดเริ่มจากเทห์วัตถุที่ใกล้ตัวเราอย่างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ไปจนถึงกลุ่มดาวต่างๆ เริ่มจากปฏิทินแบบง่ายๆบอกเพียงฤดูกาลจนมาเป็นปฏิทินแบบเกรกอเรียนในยุคหลัง จากนาฬิกาแดดอัสซีเรียนมาจนเป็นนาฬิกาอะตอมรุ่นใหม่ที่คลาดเคลื่อนเพียง 1 วินาทีในเวลา 30,000 ล้านปี(ในขณะที่เอกภพของเราเพิ่งจะมีอายุ 13,800 ล้านปี)
1) นาฬิกาแดดในดินแดนเมโสโปเตเมียอายุกว่า 2,000 ปี 2)นาฬิกาอะตอมที่สร้างโดย NIST (National Institue Standard and Technology) USA
เหตุเพราะแกนของโลกเอียงประมาณ 23.5 องศาผนวกกับวงโคจรของโลกนั้นเป็นวงรี(Eccentricity=0.0167) ทำให้โลกมีการเปลี่ยนสภาพอากาศตามพลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ ผลของพลังงานที่ตกบนโลกที่แตกต่างกันเป็นผลให้เกิดฤดูกาลนั่นเอง เราแบ่งฤดูกาลเป็น 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ, ฤดูร้อน,ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว โดยฤดูกาลของซีกฟ้าเหนือกับซีกฟ้าใต้จะตรงข้ามกัน
แกนโลกเอียง 22.5-23.5 องศาทำให้เกิดฤดูกาลทั้ง 4
วันทั้ง 4 วันซึ่งเราใช้เพื่อบอกการเปลี่ยนผ่านจากฤดูสู่ฤดูนั้นมีที่มาจากตำแหน่งของโลกบนระนาบสุริยะวิถีซึ่งเป็นวงรีนั้น เริ่มจากช่วงที่โลกอยู่บนจุดยอดของแกนเอกวงรี(วงโคจร) จะเป็นอายันซึ่งมี 2 วันคือเหมายัน Winter solstice 21-22 ธันวาคมและครีษมายัน Summer solstice 20-22 มิถุนายน
ตำแหน่งสูงสุดบนวงโคจรของโลกซึ่งเป็นวงรีนับเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลของแต่ละปี
สลับกลับมาที่อิควิน็อกซ์ Equinox คือวันที่ดวงอาทิตย์อยู่บนจุดยอดของแกนโทวงรี(วงโคจร) นั่นคือดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกพอดีและตกทางทิศตะวันตกพอดี Equinox จึงมี 2 วันในหนึ่งปีคือ March(Vernal) equinox (20-21 มีนาคม)วสันตวิษุวัติ และ September(Autumn / Fall) equinox ศารทวิษุวัติ 22-23 กันยายน ในวันนี้กลางวันและกลางคืนจะยาวนานเกือบจะเท่ากันคือประมาณ 12 ชม.
โอ้ … กว่าจะได้เข้าเรื่อง มาครับ มาๆ
มนุษย์เฝ้ามองและทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์รอบตัวเสมอ
*******
Equinox (timeanddate.com)
วันราตรีเสมอภาค 22 กันยายน 2024
เมือง พิกัด ดวงอาทิตย์ขึ้น ดวงอาทิตย์ตก กลางวันยาว
มูรมังสค์ +68.97 06:33 18:44 12:11:15
ลอนดอน +51.30 06:47 18:57 12:10:37
กรุงเทพ +13.75 06:07 18:14 12:06:53
จาการ์ตา -6.21 05:41 17:48 1 12:06:43
ซิดนีย์ -33.78 05:44 17:51 12:06:51
*******
แต่หากเราตรวจสอบกันจริงๆ ในวัน Equinox ไม่ว่าจะที่จุดใดบนโลกกลับพบว่ากลางวันยาวนานกว่ากลางคืนเล็กน้อยนั่นเป็นเพราะ 2 สาเหตุหลักดังนี้
Equinox = equal night กลางวันเท่ากับกลางคืน
1.ดวงอาทิตย์เป็นแผ่นดิสก์ทรงกลม ไม่ใช่จุดแสง มีขนาดเชิงมุมประมาณ 0.5 องศา การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้านั้นขึ้นกับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวในอัตรา 4 นาทีต่อ 1 องศา
หากเวลาขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เราวัดจากการที่จุดกึ่งกลางของดวงอาทิตย์แตะเส้นขอบฟ้าตะวันออกและตะวันตก กลางวันจะเท่ากับกลางคืนแน่นอนคือ 12 ชั่วโมง
 
แต่ในปัจจุบันนั้น เราใช้เวลาที่ของบนของดวงอาทิตย์แตะเส้นฟ้าทางทิศตะวันออกและขอบฟ้าตะวันตกเป็นเวลาขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ “แน่นอนว่า การกำหนดเช่นนี้ มีผลให้กลางวันยาวนานกว่ากลางคืนเล็กน้อย”
การหักเหของแสงทำให้เราเห็นแสงอาทิตย์ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและยังคงเห็นแสงจากดวงอาทิตย์แม้ตกลับขอบฟ้าไปแล้ว
2.การหักเหของแสงอาทิตย์ผ่านบรรยากาศโลก ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น ผู้สังเกตจะเห็นแสงจากขอบบนดวงอาทิตย์ ณ เส้นขอบฟ้าตะวันออกก่อนที่แสงจะมาถึงโลกขณะเดียวกันในช่วงดวงอาทิตย์ตกก็ใช้เวลาหลายวินาทีกว่าที่แสงจากขอบบนของดวงอาทิตย์จะหายไป
นั่นคือสาเหตุที่ Equinox หรือ วิษุวัติทั้ง 2 นั้นกลางวันยาวกว่ากลางคืนเล็กน้อย
อนึ่งการคำนวณเวลาขึ้นตกของดวงอาทิตย์ใช้ความดันบรรยากาศและอุณหภูมิมาตรฐานที่ 101.325 kPa / 15° C or 59° F
#####
แต่ก็มีวันที่กลางวันเท่ากันกับกลางคืนแบบเป๊ะๆ ด้วยเช่นกัน เราเรียกว่า Equilux แต่อาจไม่เป็นที่รู้จักเนื่องจาก Equinox เกิดในวันเดียวกันทั้งโลก แต่วัน Equilux เปลี่ยนไปตามละติจูดของผู้สังเกต และโดยทั่วไปไป Equilux จะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจาก Equinox เล็กน้อย ดังนี้
Approx. equilux dates
Latitude March /September
60° North Mar 18 Sep 25
55° North Mar 17 Sep 25
50° North Mar 17 Sep 25
45° North Mar 17 Sep 25
40° North Mar 17 Sep 26
35° North Mar 16 Sep 26
30° North Mar 16 Sep 27
25° North Mar 15 Sep 27
20° North Mar 14 Sep 28
15° North Mar 12 Sep 30
10° North Mar 8 Oct 4
5° North Feb 24 Oct 17
Equator No equal day and night
5° South Apr 14 Aug 29
10° South Apr 1 Sep 10
15° South Mar 28 Sep 14
20° South Mar 26 Sep 16
25° South Mar 25 Sep 17
30° South Mar 24 Sep 18
35° South Mar 24 Sep 19
40° South Mar 23 Sep 19
45° South Mar 23 Sep 19
50° South Mar 23 Sep 20
55° South Mar 23 Sep 20
60° South Mar 22 Sep 20
หลายท่านอาจถามว่าจะไปสนใจกับเรื่องเวลาเล็กๆน้อยๆกันทำไม กล่าวคือ นอกจากเรื่องของมนุษย์กับวัฒนธรรมจากดวงดาวหรือเทศกาลตามฤดูกาลต่างๆแล้ว ในแง่วิทยาศาสตร์ ความสงสัยใคร่รู้นำเราสู่ความเข้าใจและนวัตกรรมเสมอมา
ยิ่งแม่นยำก็ยิ่งก้าวหน้า นาฬิกาอะตอมที่มีความคลาดเคลื่อน 1 วินาทีต่อเวลา 30,000 ล้านปี
ดังเช่นได้เกริ่นมาตอนต้นด้วยเรื่องของนาฬิกาอะตอมรุ่นใหม่ที่พัฒนาร่วมกันโดย สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐอเมริกา National Institute of Standards and Technology (NIST) และมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ the University of Colorado Boulder โดยนาฬิกาอะตอมที่แม่นยำสูงสุดนี้ จะขับเคลื่อนพรมแดนใหม่ในเชิงลึกในทางฟิสิกส์ การสำรวจอวกาศและการประมวลผลเชิงควอนตัมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
รักษาสุขภาพ แข็งแรงกันทั้งครอบครัวครับ
Resources :
โฆษณา