23 ก.ย. เวลา 09:11 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ไทย กำลังจะมีโรงงานผลิตชิปต้นน้ำ แห่งแรก..

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้เปิดเผยถึงการจัดตั้งโรงงานผลิตชิปต้นน้ำแห่งแรกของไทย ในรูปแบบของการร่วมทุน
2
โดยบริษัท เอฟทีวัน คอร์เปอเรชั่น จำกัด (FT1) ที่จัดตั้งขึ้น มาจากการร่วมทุนระหว่างกลุ่ม ปตท. และฮานาไมโครอิเล็คโทรนิคส์ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการผลิตชิปอยู่แล้ว
4
สำหรับที่ตั้งของโรงงานแห่งนี้ จะตั้งอยู่ที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ จังหวัดลำพูน และมีเงินลงทุนในการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักร ในเฟสแรก อยู่ที่ 11,500 ล้านบาท
โดยจะเริ่มก่อสร้างภายในธันวาคมปีนี้ คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรราว 2 ปี ก่อนที่จะเริ่มผลิตในช่วงต้นปี 2570
แล้วโรงงานแห่งนี้ผลิตอะไร ?
โดยทั่วไปแล้ว ในการผลิตชิป จะมีการฉายแสงเพื่อวาดแผงวงจรลงไปบนแผ่น Wafer ที่ทำจากซิลิคอน ก่อนนำมาตัดออกมาเป็นชิป
จากนั้นจึงนำชิปที่ตัดมาได้ ไปทดสอบและประกอบร่างเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ต่อไป
ซึ่งสินค้าที่โรงงานแห่งนี้จะผลิต ก็คือแผ่น Wafer นี้เอง แต่จะมีความแตกต่างคือ เป็นแผ่น Wafer ที่ทำมากจากซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC)
ที่มีคุณสมบัติเด่นคือ ทนกระแสไฟและความร้อนได้สูง จึงเหมาะในการนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมการแปลงพลังงานไฟฟ้า (Power Electronics) เช่น
 
- เครื่อง Server ใน Data Center
- อุปกรณ์อัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
- รวมถึงอุปกรณ์แปลงพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในระบบกักเก็บพลังงาน
8
โดย FT1 ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตชิปชั้นนำของเกาหลีใต้ เพื่อผลิตชิป (Wafer) ชนิดซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC) ขนาด 6 นิ้ว และ 8 นิ้ว
2
แล้วการที่มีโรงงานผลิตชิปต้นน้ำ เปิดในไทย จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร ?
2
โดยเลขาธิการ BOI เผยว่า การลงทุนครั้งนี้ จะส่งผลประเทศไทยต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ในระดับต้นน้ำได้
และยังเป็นการผลักดันผู้ผลิตในไทยให้เข้าสู่ห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรม
พร้อมทั้งเป็นการยกระดับประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูง ซึ่งช่วยให้สามารถดึงดูดผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำรายอื่น ๆ ให้เข้ามาลงทุนในไทยอีกด้วย..
โฆษณา