23 ก.ย. 2024 เวลา 09:18 • ท่องเที่ยว

Konark Sun Temple เทวสถานแห่งสุริยะเทพ - Nata Mandapa

เมืองภูวเนศวร (Bhubaneswar) .. เป็นเมืองหลวงทางภาคตะวันออกของโอริสสา เมืองนี้มีชื่อนี้เป็นชื่อภาษาสันสกฤตโบราณว่า “ตรีภูวเนศวร -Tribhuvaneswara” แปลว่าที่อยู่ของพระศิวะ
เมืองนี้ยังอยู่ในอาณาเขตของ “อาณาจักรกลิงคะ” ในสมัยโบราณเช่นกัน และได้ชื่อว่าเป็นนครแห่งวัด เพราะมีวัดมากถึง 500 กว่าวัดในเมืองนี้ .. ด้วยมรดกทางวัฒนธรรมอันหลากหลายแสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งได้พัฒนาขึ้นโดยการสนับสนุนจากฐานทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีอยู่
“แคว้นกลิงคราษฎร์” เป็นอาณาจักรใหญ่มากว่า 3,000 ปี เจริญรุ่งเรืองอยู่ในภาคตะวันออกของอินเดีย ในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นโอริสสา จนถึงกาลล่มสลายลงเมื่อครั้งมหาสงครามกลิงคะกับอาณาจักรเมารยะของพระเจ้าอโศกมหาราช
.. สงครามครังนี้ทำให้พระเจ้าอโศกสลดพระทัย กับการล้มตายของทหารและประชาชนของทั้งสองฝ่าย จนหันมานับถือพระพุทธศาสนา ประชาชนชาวกลิงคะที่แตกกระสานซ่านเซ็นลงมาหลังมหาสงครามครั้งนี้ ได้แตกกระสานซ่านเซ็นเข้าสู่แคว้นต่างๆหลายแห่ง ทั้งในอินเดียตอนใต้ เช่นในรัฐทมิฬนาฑู ศรีลังกา และส่วนหนึ่งได้เข้ามาสู่สุวรรณภูมิ อารยธรรมเริ่มแรกของสุวรรณภูมิก็เชื่อกันว่าสืบทอดต่อเนื่องมาจากแคว้นกลิงคราษฎร์
เชื่อกันว่าอาณาจักรมอญในยุคแรก สมัยมั้ยยุคทราวดี อาณาจักรสะเทิม ได้รับเอาความเจริญรุ่งเรืองมาจากแคว้นกลิงคราษฎร์ อันเป็นที่มาของคำว่าว่า ตะเลง ที่ใช้เรียกชาวมอญในสมัยโบราณ ซึ่งกลายมาจาก ตลิงคะ ตลิงคณะ หรือมาจากกลิงคะ
Konark Sun Temple เทวสถานสุริยะเทพ หรือวิหารโคนาร์ค
วิหารโคนาร์ค .. ตั้งอยู่บนแนวชายฝั่งในเขตปูริ รัฐโอริสสา ประเทศอินเดีย .. สร้างโดยกษัตริย์นราสิงหะเทวาที่ 1 (Narsimhadeva-1) แห่งราชวงศ์คงคาตะวันออก ในประมาณปีค.ศ 1250 ด้วยสถาปัตยกรรมเป็นแบบกาลิงคะดั้งเดิม
เทวสถานแห่งนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สื่อถึงว่าเป็นการบูชาพระสุริยะเทพในรุ่งอรุณและสักการพระอาทิตย์
กลุ่มอาคารวัดนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับ “สุริยะเทพ”ในศาสนาฮินดู โดยมีลักษณะเป็นรถม้าศึกสูง 30 เมตร พร้อมด้วยล้อและม้าขนาดมหึมา ซึ่งล้วนแกะสลักจากหิน ซึ่งครั้งหนึ่งมีความสูงกว่า 60 ม. โดยมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “สุริยะเทวาลัย” เป็นตัวอย่างคลาสสิกของ สถาปัตยกรรมสไตล์โอริสสา หรือ สถาปัตยกรรมกาลิงคะ
ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดกลายเป็นซากปรักหักพัง โดยเฉพาะหอคอยชิการะขนาดใหญ่ที่สมัยหนึ่งสูงกว่ามณฑปที่เหลืออยู่มาก .. โครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆ ที่หลงเหลืออยู่นั้นมีชื่อเสียงจากงานศิลปะที่ประณีต การยึดถือ และธีมต่างๆ รวมถึงฉากกามาอีโรติก และมิถุนา
สาเหตุของการทำลายวิหาร Konark ยังไม่ชัดเจนและยังคงเป็นที่มาของความขัดแย้ง ทฤษฎีต่างๆ มีตั้งแต่ความเสียหายตามธรรมชาติไป จนถึงการทำลายวัดโดยเจตนา ในระหว่างการถูกกองทัพมุสลิมทำลายล้างหลายครั้งระหว่างศตวรรษที่ 15 ถึง 17
วัดนี้ถูกเรียกว่า "เจดีย์ดำ" ในบัญชีกะลาสีเรือของชาวยุโรปตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1676 เพราะดูเหมือนหอคอยที่มีชั้นสูงซึ่งปรากฏเป็นสีดำ ในทำนองเดียวกัน วัด Jagannath ในเมืองปูริก็ถูกเรียกว่า "เจดีย์ขาว" วัดทั้งสองแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นสถานที่สำคัญสำหรับกะลาสีเรือในอ่าวเบงกอล
ด้วยความงดงามทางสถาปัตยกรรมโบราณดั้งเดิมที่โดดเด่น Konark Sun Temple จึงได้รับยกย่องเป็นมรดกโลกทางสถาปัตยกรรม โดย UNESCO ในปี 1984 และได้รับการยอมรับให้เป็น 1 ใน 7 โบราณสถานที่สำคัญของอินเดีย และยังคงเป็นสถานที่แสวงบุญที่สำคัญสำหรับชาวฮินดู ซึ่งมารวมตัวกันที่นี่ทุกปีเพื่อร่วมงาน Chandrabhaga Mela ประทาณเดือนกุมภาพันธ์
วัด Konark Sun แสดงให้เห็นด้านหลังของธนบัตรสกุลเงินอินเดีย 10 รูปี และธนบัตรเก่า 20 รูปี เพื่อสื่อถึงความสำคัญของวัดนี้ต่อมรดกทางวัฒนธรรมของอินเดีย
ตามผังของกลุ่มวิหารสุริยะเทพ มีอาคารที่ยีงหลงเหลืออยู่ 3 อาคาร คือ
1. Nata Mandapa
2. Sun Temple
3. Chhaya Devi Temple
Nata Mandapa .. Konark Sun Temple
เมื่อเราผ่านเข้าไปในบริเวณอาณาเขตของกลุ่มอาคารของวัด โครงสร้างที่อยู่ด้านหน้าของ อาคารหลัก(Jagamohana) ของวิหารสุริยะ คือ นาฎมัณฑิระ (Nata Mandapa) หรือ ห้องเต้นรำ ของวัด Konark
Nata Mandapa สร้างขึ้นบนแท่นสูง 3.6 เมตร ด้านบนแท่น มีเสา 4 ต้นอยู่ทั้ง 4 ด้าน รวม 16 ต้น โดยที่เสา 4 ต้นตรงกลางพื้นมีเสาเหลี่ยมขนาดใหญ่ 4 ต้นที่สูงกว่าเสาโดยรอบ จึงทำให้สันนิษฐานได้ว่าหลังคาของ Nata Manadapa มีลักษณะลาดเอียงหรือเป็นทรงปิรามิด
.. ตรงกลาง ช่องเปิดทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเรียงกันอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อรับแสงอาทิตย์ที่กำลังขึ้นไปยัง Jagamohana และ Garbhagrih
Photo : Internet
Nata Mandapa ตั้งอยู่บนแผนผังของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ... ชานชาลาของ Nata Mandapa เข้าถึงได้โดยบันได 4 ขั้นตรงกลางทั้ง 4 ด้าน
โดยบันไดทางทิศตะวันออกเป็นทางเข้าหลัก มีโครงสร้างคชาสิงห์ขนาดใหญ่ 2 อัน (สิงโตบนหลังช้าง) ตั้งอยู่ด้านหน้าบันไดทางทิศตะวันออก
Photo : Internet
การออกแบบบันไดทางทิศเหนือและทิศใต้เรียบง่ายและประกอบด้วยขั้นบันไดหลายขั้น
การออกแบบบันไดทางทิศตะวันตกแตกต่างจากบันไดทางอื่น โดยจากบนลงล่างเป็นรูปครึ่งวงกลมหันหน้าไปทางทิศตะวันตก จากนั้นจึงแยกออกเป็น 2 ช่วง หนึ่งช่วงไปทางทิศใต้และอีกช่วงหนึ่งไปทางทิศเหนือ
ผนังของชานชาลาแบ่งเป็น 5 ส่วนตามแนวนอน .. และตกแต่งด้วยรูปแกะสลักอย่างวิจิตรบรรจง เช่น รูปช้างขี่ นักมวยปล้ำ ชายกำลังต่อสู้กับสัตว์ป่า นักรบกำลังล่าสัตว์ และรูปเทพเจ้าฮินดู เช่นพระพิฆเนศและคชาลักษมี
นอกจากนี้ชานชาลายังมีรูปผู้หญิงอีกมากมาย โดยส่วนใหญ่เป็นนักเต้นและนักดนตรี …
นอกจากนี้ยังมีรูปผู้หญิงอื่นๆ ในท่าทางปกติ โดยยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ปรับผ้าพันคอ จับกิ่งไม้หรือดอกไม้ เล่นเครื่องดนตรี ดูแลนกเลี้ยง ลูบไล้เด็ก รดน้ำผมเปียก (หยดน้ำที่ตกลงมาจากผมเปียกของเธอถูกห่านดื่ม) ถือและมองกระจกมือ เป็นต้น
พื้นของ Nata Mandapa เข้าถึงได้โดยช่องเปิดที่กว้างขวางตรงกลางทั้ง 4 ด้าน โดยแต่ละช่องจะเข้าถึงได้โดยเดินขึ้นบันได 4 ขั้น
.. เสาเรียงกันแบ่งพื้นของ Nata Mandira ออกเป็น 9 ช่อง ซึ่งอาจบ่งบอกถึงความเกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง
เสาหลักทั้ง 4 องค์มี 5 ส่วน ส่วนด้านล่างไม่แกะสลัก ส่วนตรงกลางและด้านบนแกะสลักเป็นรูปต่างๆ ของนักดนตรีหญิง นักเต้นหญิง ผู้เลื่อมใส และสิงโตวิยาลา
ชานชาลาแรกสูง 3.6 เมตร และคุณจะสังเกตเห็นงานแกะสลักหินและประติมากรรมต่างๆ
กำแพงชานชาลาที่สองสูง 0.5 เมตรยังมีงานแกะสลักหินที่งดงามอีกด้วย ..
บนผนังชานชาลาที่สอง และเสาบนชานชาลาที่สองดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยงานแกะสลักหินที่งดงาม
Photo : Internet
รูปเคารพของเทพเจ้าพระอาทิตย์ที่ค้นพบจากนาฏมณฑปของโกนาร์คในปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ นิวเดลี ..
เทพเจ้าที่มีสองกรยืนอยู่ในท่าสมปทาบนรถศึกที่แกะสลักเป็นรูปม้าเจ็ดตัว พระหัตถ์ทั้งสองของเทพเจ้าหัก แต่ดอกบัวสองดอกที่พระองค์ถืออยู่ในพระหัตถ์ยังคงอยู่เหนือไหล่ของพระองค์
โฆษณา