สาระน่ารู้กับอุทยานแห่งชาติเขาสก นกเงือกหัวหงอก

นกเงือกหัวหงอก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Berenicornis comatus
ตัวผู้และตัวเมียบริเวณหัวมีขนยาวเป็นพุ่มสีขาวลักษณะคล้ายหงอน ปากสีดำ โหนกแข็งขนาดเล็ก หางยาวสีขาว มีแถบสีขาวบริเวณขอบปีกจะเห็นได้ชัดในขณะนกกางปีกหรือบิน
จุดสังเกตุแยกเพศสามารถสังเกตุได้จากอะไรบ้าง?
เพศผู้: บริเวณคอและด้านล่างลำตัวสีขาว ตัวที่ยังไม่เต็มวัยลักษณะคล้ายตัวเมีย แต่สีสันของลำตัวจะเป็นสีน้ำตาล หางสีดำ ปลายปีกมีแถบกว้างสีขาว ปลายขนคลุมโคนปีกสีขาว
เพศเมีย:บริเวณคอและด้านล่างลำตัวจะเป็นสีดำ
ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ และบางแห่งของภาคตะวันตก พบตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนกระทั่งความสูง 600 เมตร หรือมากกว่านกเงือกหัวหงอกมักกินสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็ก เช่น งู จิ้งเหลน กิ้งก่า รวมถึงผลไม้ชนิดต่าง ๆ ด้วย โดยเฉพาะลูกไทร ลูกหว้า และลูกตาเสือ
พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกเงือกหัวหงอก เป็นลักษณะเดียวกับนกเงือกชนิดอื่น โดยตลอดชีวิตจะไม่มีการเปลี่ยนคู่เลย ตัวเมียจะวางไข่ในโพรงไม้ ตัวผู้เป็นฝ่ายหาอาหารมาป้อนแม่นกและลูกนก ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน หรือระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ทำรังตามโพรงของต้นไม้ และนอกฤดูผสมพันธุ์จะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ 4-7 ตัวโดยประมาณ
📷 : เจ้าหน้าที่สายตรวจฯ อุทยานแห่งชาติเขาสก
ที่มา : อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี)
#อุทยานแห่งชาติเขาสก #สุราษฎร์ธานี ช#นกเงือกหัวหงอก #นกเงือก #กรมอุทยานแห่งชาติ
โฆษณา