Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
24 ก.ย. เวลา 05:45 • สุขภาพ
4 โรคเรื้อรัง เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดแดงแข็ง ตีบ และอุดตัน!
ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อ้วนลงพุง หรือไขมันในเลือดสูง โรคคุ้นหูที่หากคุมไม่ดีนำมาซึ่งผลลัพธ์สุขภาพพัง! เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด แพทย์เผย ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักเสียชีวิตเพราะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากเป็นอันดับ 1
ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อ้วนลงพุง หรือไขมันในเลือดสูง หลายคนยังมีความเข้าใจไม่ร้ายแรง และละเลยในการควบคุมโรคและน้ำหนัก แต่รู้หรือไม่ โรคเรื้อรังเหล่านี้ สามารถนำไปสู่ โรคหัวใจ ได้โดยตรง และอาจเสี่ยงต่อภาวะรุนแรงที่ส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตเฉียบพลันได้!!
ความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจทำงานหนักจนเสี่ยงหัวใจล้มเหลว
เมื่อระดับความดันโลหิตสูง จะส่งผลให้หัวใจต้องบีบตัวมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
โรคหัวใจ
จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมความดันโลหิตสูงมีผลต่อการเกิดโรคหัวใจได้ เพราะอาจทำให้หัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาตัวและแข็งตัวขึ้น
ผู้ป่วยจึงมักมีอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด และท้ายที่สุด..อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้
เบาหวาน เพิ่มโอกาสโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- เบาหวานเป็นอีกโรคเรื้อรังที่พบมาก และผู้ป่วยหลายรายเข้าใจว่าเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่จริงๆ แล้ว ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักเสียชีวิตเพราะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากเป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว! เบาหวานยังเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่มีอายุน้อย เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงเกิดความผิดปกติและเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็วนั่นเอง
- อ้วนลงพุง นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
เมื่อเกิดการสะสมของไขมันบริเวณช่องท้องมากเกินไป ไขมันเหล่านี้จะสามารถแตกตัวกลายเป็น “กรดไขมันอิสระ” เข้าไปยับยั้งกระบวนการเผาผลาญกลูโคสที่กล้ามเนื้อ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หรืออาจเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ตีบ และอุดตันได้
รู้จัก "มะเร็งหัวใจ" โรคร้ายที่คร่าชีวิตนักแสดงดัง "อ๋อม อรรคพันธ์"
ไขมันในเลือดสูง เสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเพิ่มโอกาสของการเกิดหลอดเลือดตีบตันได้ง่าย และหากเกิดขึ้นกับหลอดเลือดหัวใจก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งนอกจากคนอ้วนแล้ว ในคนผอมเองก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เพราะนอกจากไขมันที่สะสมอยู่บริเวณหน้าท้อง (visceral fat) หรือไขมันใต้ผิวหนัง (subcutaneous fat) ไขมันยังสามารถอยู่ภายในหลอดเลือด (intravascular lipid) ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การไม่มีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องก็ไม่ได้แปลว่าไม่มีไขมันสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือด นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมคนผอมจึงเสี่ยงเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
กรณีที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ควรดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ แต่สำหรับผู้ที่ป่วยแล้ว การพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ แต่โรคเหล่านี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงที่อันตรายถึงชีวิตได้อีกมากมาย
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/health/care/5902
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
อาหาร
โรคอ้วน
สุขภาพ
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย