25 ก.ย. เวลา 03:00 • การตลาด

อธิบาย การตลาด 7Ps ที่ต่อยอดมาจาก 4Ps ให้ธุรกิจ แข็งแกร่งกว่าเดิม

4Ps คือส่วนประสมการตลาด หรือ Marketing Mix ที่เรารู้จักกันว่ามีเรื่อง Product, Price, Place, Promotion
ซึ่ง 7Ps เป็นส่วนประสมการตลาด ที่ต่อยอดจาก 4Ps ให้ครอบคลุมหลากหลายมุมกว่าเดิม
เพื่อช่วยให้วางแผนกลยุทธ์ให้ธุรกิจ ได้แข็งแกร่งรอบด้านกว่าเดิม
1
ส่วนประสมการตลาด 7Ps ต่อยอดอะไรออกไปอีก และเอาไปใช้ได้อย่างไร เรามาดูกันเลย..
ส่วนประกอบของ 7Ps คือ
1. Product (คุณลักษณะของสินค้า)
2. Price (ราคาของสินค้า)
3. Place (สถานที่จำหน่าย)
4. Promotion (โปรโมชันส่งเสริมการขาย)
5. People (พนักงานขายสินค้า)
6. Process (กระบวนการจัดการการทำงาน)
7. Physical Evidence (ประสบการณ์ที่มอบให้กับลูกค้า)
1
จะเห็นว่ามีอีก 3 เรื่องเพิ่มขึ้นมาจาก 4Ps คือ People, Process และ Physical Evidence
1
ทีนี้มาวิเคราะห์ไปทีละ P โดยจะขอยกเคสของธุรกิจ ร้านอาหาร เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่าย ๆ
1. Product (คุณลักษณะของสินค้า)
2
ร้านอาหารส่วนใหญ่มักสร้าง POD (Point of Different) หรือก็คือการสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์
1
ซึ่งเราอาจใช้วิธีการหา USP (Unique Selling Point) ให้กับแบรนด์ โดย USP เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้แบรนด์สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ แม้ว่าจะมีรูปแบบธุรกิจที่คล้ายกันก็ตาม
หัวใจหลัก ๆ ของการหา USP ประกอบด้วย การตั้งคำถามให้กับแบรนด์ 3 ข้อ ได้แก่
- สิ่งที่แบรนด์ให้ลูกค้าได้คืออะไร ?
- สิ่งที่คู่แข่งให้ลูกค้าได้คืออะไร ?
- สิ่งที่ลูกค้าต้องการคืออะไร ?
เมื่อแบรนด์พบว่าสิ่งไหนที่สามารถให้ลูกค้าได้ แล้วตรงกับความต้องการของลูกค้า และแบรนด์อื่นให้ลูกค้าไม่ได้
สิ่งนั้นก็คือ USP ที่แบรนด์ของเราต้องพิจารณานำมาใช้ทางธุรกิจ
2. Price (ราคาของสินค้า)
กลยุทธ์ที่ร้านอาหารฟาสต์ฟูดใช้มักเป็น การตั้งราคาแบบแพ็กรวม หรือก็คือ Bundle Pricing
ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่ากว่าการสั่งแยกแบบเมนูเดี่ยว ๆ
นอกจากนี้ยังมีการใช้กลยุทธ์จิตวิทยาการตั้งราคาอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น
- Decoy Effect จิตวิทยาที่ทำให้ลูกค้าอยากซื้ออาหารมากกว่าเดิม ผ่านการตั้งราคาในเมนูเซตของร้านฟาสต์ฟูด เช่น
- เซต 1 มีเฟรนช์ฟรายส์ + ไก่ทอด 2 ชิ้น ราคา 119 บาท
- เซต 2 มีเฟรนช์ฟรายส์ + ไก่ทอด 3 ชิ้น ราคา 139 บาท
- เซต 3 มีเฟรนช์ฟรายส์ + ไก่ทอด 4 ชิ้น + เบอร์เกอร์ 1 ชิ้น ราคา 159 บาท
การกำหนดราคาเมนูแบบนี้ มีส่วนจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อเซตที่ 3 ได้ เพราะรู้สึกว่าคุ้มค่า ในการเพิ่มเงินที่จ่ายไม่เยอะ แต่ได้อาหารมากขึ้น
- ราคามักลงท้ายด้วยเลข 9 เพื่อทำให้ราคาดูถูกลงตามหลักจิตวิทยา เช่น แทนที่จะตั้งราคาขาย 120 บาท ก็เป็น 119 บาท เพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกว่ามีราคาถูก
1
3. Place (สถานที่จำหน่าย)
เรื่องสถานที่จำหน่ายอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะหากสถานที่ไหนมีผู้คนหนาแน่น ก็จะทำให้สาขานั้น มียอดขายที่โตมากกว่าสาขาอื่น ๆ
3
โดยกลยุทธ์ของร้านอาหารฟาสต์ฟูดที่มีสาขาจำนวนมาก อย่าง KFC, McDonald’s มักจะอยู่ในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ หรือโลเคชันที่เด่น มองเห็นง่าย เป็นชุมชนหนาแน่น
4. Promotion (โปรโมชันส่งเสริมการขาย)
การกำหนดกลยุทธ์ก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละร้านมีเป้าหมายเพื่ออะไร
ยกตัวอย่างเช่น
- โปรโมชันตามช่วงเวลาและเทศกาล เช่น ลดราคาบางเมนูในช่วงเทศกาลวันแม่, เลือกรับอาหารบางเมนูฟรีในเดือนเกิด
- โปรโมชันตามเมนู เช่น ซื้อ 1 แถม 1 สำหรับเมนูยอดนิยม หรือเมนูใหม่, เซตเมนูราคาพิเศษ
- โปรโมชันตามกลุ่มเป้าหมาย เช่น โปรโมชันสำหรับนักเรียน นักศึกษา, โปรโมชันสำหรับครอบครัว
- โปรโมชันผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น ลดราคาพิเศษสำหรับการสั่งซื้อผ่านแอป
นอกจากนี้อาจสร้างโปรโมชันที่มีเป้าหมายโดยเฉพาะ อย่างเช่น KFC ที่มีโปรโมชันทุกวันอังคาร
5. People (พนักงาน คนในองค์กร)
 
พนักงานขายอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากหากลูกค้าไม่ได้รับการบริการที่ดี ก็จะทำให้ลูกค้าไม่กลับมาซื้ออาหารอีก
โดยเราสามารถอบรมพนักงานให้ชักจูงลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าได้มากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น
- การเรียกลูกค้าโดยวิธีการชมไปก่อน อย่างการเรียก “สุดหล่อ”
- การพูดโปรโมชันเพื่อดึงดูดลูกค้าที่เดินผ่าน
นอกจากนี้ควรมีช่องทางให้ลูกค้าสามารถฟีดแบ็กกับพนักงานได้ด้วย เพื่อที่จะทำให้เราสามารถปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้น
6. Process (กระบวนการจัดการการทำงาน)
อธิบายสั้น ๆ ก็คือ การจัดการกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐานและชัดเจน
ตัวอย่างไอเดียการทำให้ขั้นตอนทุกอย่างมีระบบ ก็อย่างเช่น การสร้าง SOP (Standard Operation Process) หรือก็คือ มาตรฐานกระบวนการในการปฏิบัติงาน
โดย SOP คือการสร้างตารางขั้นตอนปฏิบัติงานต่าง ๆ ขึ้นมา
เช่น ขั้นตอนการทำต้มยำกุ้ง ต้องเตรียมอะไร ปรุงอะไร ต้มกี่นาที เป็นขั้นตอน 1, 2, 3, ..
ข้อดีของการมี SOP อีกอย่างคือ สามารถใช้เป็นคู่มือประกอบการสอนงานให้พนักงานใหม่ได้ด้วย
7. Physical Evidence (ประสบการณ์ที่มอบให้กับลูกค้า)
หมายถึง ประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับ ตั้งแต่หน้าร้าน การตกแต่งภายในร้าน บรรยากาศ เมนูอาหาร รวมถึงเครื่องปรุงต่าง ๆ ที่ต้องมีภายในร้าน
ยกตัวอย่าง ประสบการณ์เมื่อเราเข้าร้าน KFC เช่น
- เมื่อเราเดินเข้าร้าน เราสามารถเลือกเมนูที่บริเวณด้านหน้า และด้านบนเคาน์เตอร์ได้
- มีโซนล้างมือ โซนที่กดซอส และรีฟิลน้ำ
ประสบการณ์ที่มอบให้กับลูกค้า คือสิ่งที่ธุรกิจต้องดิไซน์ให้ดี เพราะมันสามารถกลายเป็นภาพจำให้ธุรกิจเราแตกต่างจากคนอื่นได้นั่นเอง..
โฆษณา