24 ก.ย. 2024 เวลา 11:23 • ท่องเที่ยว

เทวาลัยมุกเตศวร (Mukteshvara Temple) Bhubaneswa, India.

เทวลัยมุกเตศวร (Mukteshwara Temple) .. เป็นวัดฮินดูที่สร้างขึ้นในช่วงศดวรรษที่ 10 (พุทธศัดวรรษที่ 15) เพื่ออุทิศให้กับพระศิวะ ตั้งอยู่ในเมืองภูพเนศวร รัฐโอริสสา ประเทศอินเดีย วัดแห่งนี้มีอายุกว่า 950–975 ปี เชื่อว่าเป็นผลงานชิ้นแรกจากยุคโซมาวามชี
นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าวัดขนาดเล็กและกะทัดรัดแห่งนี้เป็นวัดที่สืบทอดจากวัดปารศุรเมศวร (Parashurameshvara) ที่อยู่ใกล้เคียง แต่สร้างขึ้นก่อนวัด Brahmeswara ทางทิศตะวันออกของเมือง .. สันนิษฐานว่ากษัตริย์โซมาวามชี ยายาตีที่ 1 เป็นผู้สร้างวัดนี้
มุกเตศวรหมายถึง "พระเจ้าแห่งอิสรภาพ" (จากวัฏจักรแห่งการเกิดและการตาย) วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระศิวะ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู มีประติมากรรมโครงกระดูกของนักพรตในท่าสอนหรือท่าสมาธิจำนวนหนึ่ง
.. ชื่อของเทวาลัยนี้แสดงให้เห็นว่าวัดแห่งนี้มีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางของการเริ่มต้นนิกายตันตระ ซึ่งอาจได้รับการยืนยันเพิ่มเติมด้วยการแกะสลักจำนวนมากที่ด้านนอกของนักบวชโครงกระดูกผอมบางในท่านั่งสมาธิหรือท่าสอนต่างๆ
ภาพแรกๆที่เรามองเห็นจากทางเดินเข้าวัด คือ ศาลเจ้าขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ทางด้านหนึ่งของวิหารหลัก
ภายในศาลเจ้าเหล่านี้มีลึงค์อยู่ภายใน ซึ่งใช้เป็นศาลเจ้าสำหรับถวายเครื่องบูชา ..
บ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ทางทิศตะวันออกของวิหารและอยู่ติดกับวิหารหลัก และยังมีบ่อน้ำอยู่ที่มุมตะวันตกเฉียงใต้ .. เชื่อกันว่าการจุ่มตัวลงในบ่อน้ำแห่งแรกที่เรียกว่ามาริจิกุนดา (Marichi Kunda) สามารถรักษาภาวะมีบุตรยากในสตรีได้
สถาปัตยกรรมของเทวลัยมุกเตศวร
"อัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมโอริสสา" ‘Gem of Odisha’ หรือ "สถาปัตยกรรมกลิงกะ" .. เป็นสมญานามที่เทวลัยมุกเตศวรได้รับและเป็นที่รู้จักจากหนังสือ History of Indian and Eastern Architecture Vol. II ของ James Furgusson เในปี 1910
ตามมาด้วย M.M.Ganguly ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ “ความฝันที่เป็นจริงในหินทราย” ในสิ่งพิมพ์ของเขาชื่อ Orissa and her Remains ในปี 1912
เทวลัยมุกเตศวร ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเทวลัยที่เล็กที่สุดในเมืองภูวเนศวร แต่ด้วยวัดนี้เป็นวัดที่มีการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามที่สุดในเมืองภูพเนศวร
… และมีสถาปัตยกรรมและการแกะสลัก ที่ซุ้มประตู (Torana) ที่มีลักษณแตกต่างจากเทวสถานอื่น เทวาลัยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากการที่วัดแห่งนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
จากชานชาลาทางเข้าวัด .. มองเห็นว่าภายในพื้นที่ขี้ มีอาคารของวัดอยู่ 2 ด้าน .. ด้านชวาคือ วัดมุกเตศวร ส่วนด้านซ้ายคือ วัด Siddheshwara
วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันตกและสร้างขึ้นในชั้นใต้ดินที่ต่ำกว่าท่ามกลางกลุ่มวัด
ประตูโค้ง ซึ่งมีอายุย้อนกลับไปประมาณ 900 CE ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของวัดมุกเตศวร .. ตั้งอยู่ก่อนถึงทางเข้าบริเวณทิศตะวันตก ..
แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสถาปัตยกรรมพุทธ ประตูโค้งมีเสาหนาที่ร้อยลูกปัดและเครื่องประดับอื่นๆ
.. บนส่วนโค้งของประตูมีการแกะสลักไว้ทั้งสองด้านเป็นภาพสลักของสตรีที่ใบหน้ายิ้มแย้มในท่านั่งอิดโรย
... มีหัวมนุษย์อยู่ภายในเหรียญ มีใบไม้ และมีหัวสัตว์ประหลาดที่ยื่นออกมาที่ปลายทั้งสองด้าน
โทรานา (Torana) ที่ตั้งโดดเด่นหน้าวัดไม่ปรากฏในวัดอื่นใดในภูมิภาคนี้ ดังนั้นจึงมีความพิเศษเฉพาะตัว
วัดนี้วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตกำแพงสูงระดับเอว ซึ่งเข้าได้ทางประตูทางทิศตะวันตก .. กำแพงแปดเหลี่ยมที่มีการแกะสลักอย่างประณีต นับเป็นวัดแรกๆที่มีการสร้างในรูปแบบนี้
วัดแห่งนี้จึงเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในการศึกษาพัฒนาการของวัดฮินดูในรัฐโอริสสา และพัฒนาการด้านรูปแบบที่วัดมุกเตศวรถือเป็นจุดสุดยอดของการพัฒนามากกว่าครั้งก่อนๆ
วิหารล้อมรอบด้วยกำแพงเตี้ยๆ ที่โค้งไปตามรูปร่างของวิหาร วิหารมีประติมากรรมทั้งภายในและภายนอกอาคาร กำแพงล้อมรอบทำให้มีทางเดินเล็กๆ คั่นระหว่างวิหาร
ประตูทางเข้าวิหารชั้นในประดับประดาอย่างวิจิตรงดงาม มีรูปเคารพของพระเกตุที่มีงูสามตัวสวมหัว ซึ่งโดยทั่วไปถือว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงที่เก้าในตำนานฮินดู
วัดแห่งนี้ประกอบด้วยมณฑปทรงสี่เหลี่ยม (jagamohana) หลังคาทรงปิรามิด และวิหารทรงสูงที่มีสัดส่วนที่สมบูรณ์แบบ หลังคารูปแบบนี้ซึ่งมี 12 ชั้น ถือเป็นรูปแบบแรกในภูมิภาคนี้ แทนที่โครงสร้างสองชั้นที่เรียบง่ายกว่าในสมัยก่อน
วัดสร้างขึ้นด้วยหินทรายสีแดง ซึ่งถือเป็นผลงานการพัฒนาวัดครั้งสำคัญอื่น ๆ ในสมัยก่อน และสร้างขึ้นก่อนโครงการพัฒนาเต็มรูปแบบอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามมาในศตวรรษที่ 11 และ 12
ภายในอาคารที่เป็นส่วนศักดิ์สิทธิ์ของวัด แบ่งเป็น 2 ส่วน .. คือ วิมาน (โครงสร้างเหนือวิหาร) และมุขศาลา ซึ่งเป็นห้องโถงหลัก โดยทั้งสองส่วนสร้างบนฐานยกพื้น
วิหารแกะสลักเป็นหญิงสาวที่สวยงามซึ่งมีเสน่ห์แบบผู้หญิงผสมผสานกับนาคและนาคินี วิหารเป็นทรงลูกบาศก์จากด้านในโดยมีผนังด้านนอกเหลื่อมกัน
ห้องทั้ง 2 ส่วนมีกำแพงล้อมรอบ มีหลังคาเตี้ยและใหญ่โต มีเสาภายใน การผสมผสานระหว่างเส้นแนวตั้งและแนวนอนจัดวางอย่างประณีตเพื่อให้อาคารที่มีความสูงปานกลางดูสง่างาม .. รูปแบบของวัดในยุคแรกนี้แสดงให้เห็นได้ดีที่สุดที่วัดแห่งนี้
ห้องด้านใน เป็นที่ประดิษฐาน ศิวะลึงค์ที่ตั้งอยู่บนฐานโยนี และมีประติมากรรมรูปงูแผ่เม่เบี้ย ในลักษณะให้การคุ้มครอง
.. น้ำที่ใช้ในการรดศิวะลึงค์จะออกไปทางท่อโสมสูตร ซึ่งเห็นได้เมื่อเดินชมด้านนอกของเทวาลัย
กรอบประตูหิน สลักลวดลายพรรณพฤกษารอบๆ และมีรูปสลักของเทพต่างๆอยู่รอบกรอบประตู .. ตรงกลางของกรอบประตูมีรูปสลักเทพเจ้าที่ในขรธที่เราไปชมมีผ้าปิดเอาไว้ แต่ยังพอมองเห็นว่ารูปหินสลักเหนือเทพเจ้าเป็นรูปช้างในลักษณะคล้ายกับ อุมามเหศวร
ห้องที่ถัดจากห้องศักดิ์สิทธิ์ มีพื้นที่สี่เหลี่ยม .. เพดานมณฑปมีหินเรียงซ้อนกัน 5 ชั้นที่มีรูปร่างต่างกัน และประดับประดาอย่างวิจิตรด้วยรูปแกะสลักนักรบขนาดเล็ก เทพเจ้าและเทพธิดาต่างๆ รูปคนบินได้ ทั้งหมดตั้งอยู่ในรูปแบบเรขาคณิตที่ซับซ้อน โดยมีดอกบัวอยู่ตรงกลาง
ภายนอกมณฑปโดดเด่นด้วยหน้าต่างหินเจาะขนาดใหญ่ทางด้านเหนือและใต้ มีลวดลายเรขาคณิตมากมาย หน้าต่างเหล่านี้รายล้อมไปด้วยภาพสลักรูปลิงเล่นซุกซนที่อยู่ภายในก้านบัว
หินทรายสีแดงของวัดแห่งนี้ประดับด้วยงานแกะสลักอันวิจิตรบรรจงของนักบวชหรือนักบวชรูปร่างผอมบางและสตรีรูปร่างอวบอิ่มประดับด้วยอัญมณี รูปของคงคาและยมุนาถูกแกะสลักไว้ข้างๆ จันดาและปราจันดา
บนผนังด้านนอกของมณฑปยังมีรูปแกะสลักที่สวยงามมากมาย เช่น รูปผู้หญิงประดับอัญมณีอันเย้ายวน รูปบุรุษศักดิ์สิทธิ์ รูปของคงคา ยมุนา กาชลักษมี ราหู เกตุ นาค สิงโต และอื่นๆ อีกมากมาย
พื้นที่ระหว่างกำแพงและวิหารนั้นค่อนข้างแคบ และได้รับการออกแบบให้เป็นทางเดินรอบวิหาร เช่นเดียวกับวิหารอื่นๆ มากมายในและรอบๆ ภูพเนศวร ..
รอบๆผนังของวิหารเต็มไปด้วยการแกะสลักแทบทุกตารางนิ้ว คุณอาจจะไม่สามารถสังเกตหรือมองเห็นรูปปั้นเหล่านี้ได้ทั้งหมดจากการเดินรอบเดียว ... อาจจะต้องเดินวนรอบวิหารหลายครั้ง และทุกครั้งที่เดินวนรอบวิหารนี้ จะมีสิ่งใหม่ๆและแตกต่างผ่านเข้ามาในสายตาและเลนส์กล้องอย่างแน่นอน
ผนังด้านนอกมีช่องประดับด้วยรูปปั้นของเทพเจ้าฮินดู เช่น สรัสวดี พระพิฆเนศ และลักขลิศ (ผู้ก่อตั้งนิกายปาศุปาตะของนิกายตันตระไศวะในศตวรรษที่ 5 ..
มีรูปปั้นลักขลิศจำนวนมากในรูปแบบขนาดเล็กภายในซุ้มไศยะ ซึ่งแสดงมุทราต่างๆ เช่น โยคะ ภูมิสปร และวยาญญาน โดยมีโยคปัตตาผูกไว้ที่เข่า รูปปั้นเหล่านี้มาพร้อมกับรูปของสาวก ตามประเพณี
ผนังวิหารมีรอยเว้าลึก มีรูปแกะสลักเป็นรูปหญิงสาว นาคและนาคินี รวมถึงรูปอื่นๆ มากมาย
ฉันสังเกตเห็นว่า ไม่มีประติมากรรมแบบลอยตัวแยกเดี่ยวที่ใดในหรือรอบๆเลย .. ทำให้มีคำถามขึ้นมาว่า ประติมากรรมแบบลอยตัวแยกเดี่ยวเคยมีที่นี่หรือไม่?
วัด Siddheshwar สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 10 และตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับวัด Mukteswar .. นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าวัดทั้งหมดในศตวรรษที่ 10 ในเมือง Bhubaneswar เผยให้เห็นถึงการผสมผสานกันของสถาปัตยกรรมวัดฮินดู พุทธ และเชน
วัด Siddheshwar สูงกว่าวัด Mukteswar และผนังด้านนอกมีการแกะสลักเพียงเล็กน้อย วัดแห่งนี้ไม่ได้ประดับประดาอย่างวิจิตรงดงามเหมือน Mukteswar แต่มีเสน่ห์เฉพาะตัวในแง่ของรูปแบบการก่อสร้าง
หอคอยของวัดซึ่งสร้างขึ้นในสไตล์ Pancharatna ของสถาปัตยกรรมวัดแบบ Kalinga ดั้งเดิมนั้นถูกจัดกลุ่มด้วยป้อมปราการขนาดเล็กเป็นแถว และทั้งสี่ด้านของหอคอยมีสิงโตสี่ตัวอยู่ด้านบน
มีการบูชาพระอิศวรในวิหารศักดิ์สิทธิ์
รูปปั้นพระพิฆเนศที่สวยงามในท่ายืนก็เป็นจุดดึงดูดอีกประการหนึ่งของวัดนี้ รูปเคารพพระพิฆเนศที่ถูกปกคลุมไปด้วยสีแดงชาดหนาได้ถูกติดตั้งไว้ที่ฐานด้านตะวันออกของยอดแหลมของวัด ต้องเดินผ่านสวนที่ได้รับการดูแลอย่างสวยงามจึงจะถึงวัดได้
รูปปั้นพระวิษณุ อยู่อีกด้านหนึ่ของผนังของวิหาร
โฆษณา