Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Supawan’s Colorful World
•
ติดตาม
25 ก.ย. 2024 เวลา 09:55 • ท่องเที่ยว
โอริสสา อินเดีย .. ดินแดนพุทธภูมิที่คนไทยไม่รู้จัก
โอริสสา (Orissa) หรือ ชื่อใหม่ปัจจุบันว่า โอดิชา (Odisha) .. เป็นอินเดียที่อยู่ใกล้ประเทศไทยมาก ข้ามทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอลไปก็จะเป็นรัฐโอริสสาซึ่งอยู่ติดทะเลด้านตะวันออกสุดของประเทศได้เลย
แคว้นโอริสสาแห่งนี้ ที่บรรดาผู้คนแห่งอารยธรรมและศาสนาพราหมณ์และพุทธจากอินเดียเคยเดินทางมาสู่สุวรรณภูมิมากที่สุด แต่คนไทยในปัจจุบันนี้มักไม่ทราบความจริงเรื่องนี้ .. ”พุทธภูมิที่ตกสำรวจ” ในไทย จึงเป็นเรื่องที่อยากนำมาเล่าในวันนี้
โอริสสา มีความสำคัญอย่างยิ่ง .. ด้วยในอดีตกว่าสองพันปีมาแล้ว เคยเป็นแคว้นกลิงคะ หรือ กลิงคราช อันรุ่งเรืองและเข้มแข็ง พระเจ้าอโศกมหาราชพิชิตแคว้นนี้ลงได้ หลังจากที่ทรงทำสงครามใหญ่จนทหารและประชาชนหลายแสนถูกฆ่าและตกเป็นเชลยศึก
สนามรบแห่งนี้ที่เดาลี (Dhauli) ยังเหลือร่องรอยให้เราไปเยี่ยมชมได้สะดวกสบาย เราได้เห็นแม่น้ำดายา (Daya) ที่เป็นส่วนหนึ่งของสนามรบด้วย กล่าวกันว่ามหาสงครามโหดที่พระเจ้าอโศกทรงนำมาในครั้งนั้น ทำให้แม่น้ำนี้กลายเป็นสายน้ำแห่งเลือดเนื้อของชาวอินเดียทีเดียว
กลิงคราช แห่งอดีต หรือ โอริสสานี้เอง ที่จอมจักรพรรดิอโศกสลดพระทัย วางดาบ และ หันมาน้อมรับ ”อหิงสธรรม” แทน ใช้ “ธรรมวิชัย” แทน .. คือหันมาใช้การเผยแผ่ศาสนาพุทธไปทั่วพระราชอาณาเขต และ ไปยังเขตแดนที่ยังไม่ตกอยู่ในพระราชอำนาจ แทนที่จะใช้การศึกสงคราม ผลาญชีวิตผู้คนเช่นเดิม
หลังจากนั้นมาศาสนาพุทธภายใต้ราชูปถัมภ์ของอโศกผู้ยิ่งใหญ่ จึงกลายเป็นศาสนาหลักของอินเดีย จึงได้แพร่ขยายไปทั่วอินเดีย รวมถึง ยังขยายไปสู่เอเชียกลาง และต่อไปยังจีน เกาหลี และญี่ปุ่น
.. ยิ่งกว่านั้นได้ขยายไปสู่สุวรรณภูมิ พระสงฆ์ผู้เป็นสมณทูตของอโศก นั้น เข้าใจว่าออกจากกลิงคคราชนี่เอง อาศัยมรสุมและทะเลเบงกอลกับอันดามัน รอนแรมมาขึ้นฝั่งที่มอญ หรือ พม่า หรือ คาบสมุทรซึ่งปัจจุบันนี้คือภาคใต้ของไทย
จักรพรรดิอโศกทรงส่งราชบุตรราชธิดาไปเผยแผ่พระศาสนายังลังกาด้วย และที่นี่เอง พุทธศาสนาดั้งเดิมหรือแบบเถรวาทยังคงดำรงอยู่ได้ และยังแพร่ต่อมาสู่ สุวรรณภูมิ และ สยาม เมื่อราวเจ็ดแปดร้อยปีที่แล้ว กลายเป็นศาสนาหลักของประเทศของเราเราตั้งแต่นั้นมา
ศาสนาพุทธจากกลิงคราช หรือ โอริสสา .. จึงมีทั้งพุทธแบบเมื่อครั้งยังไม่แยกเป็นเถรวาทหรือมหายานในสมัยอโศก เมื่อพุทธศตวรรษที่สาม เป็นประการที่หนึ่ง
… และ เมื่อพุทธศาสนาเกิดมหายานขึ้นมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-16 ดินแดนโอริสสา ก็เป็นแหล่งเผยแผ่มหายานไป จีน และ เอเชียตะวันออก กล่าวเช่นนี้ โอริสสา จึงเป็นแหล่งสอนศาสนาพุทธที่สำคัญ ที่เทียบได้กับตักศิลาและนาลันทาเลย ก็ว่าได้
เราได้ไปเยือนบริเวณที่เป็นกลุ่มวัดและสำนักศึกษาที่เคยยิ่งใหญ่เทียบกับตักศิลาและนาลันทา ที่มีนามว่า อุทัยคีรี รัตนคีรี และลลิตาคีรี ทำให้ได้ทราบว่าพระถังซัมจั๋งอันเป็นที่มาของนิทานจีนเรื่อง”ไซอิ๋ว” ก็เคยมาศึกษาที่นี่
.. และพบว่า “พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน” ที่เคยแพร่ไปยังดินแดนที่ปัจจุบันอยู่ในแถบภาคใต้ของไทย มลายู และ อินโดนีเซีย หลายร้อยปีก่อนที่เถรวาทจากลังกาจะมาถึงนั้น ก็ล้วนออกมาจากโอริสสานี่เอง
ยิ่งกว่านั้น แม้แต่ “นิกายวัชรยาน” ที่แพร่หลายต่อมาในย่านหิมาลัยและทิเบตนั้น ก็ล้วนพัฒนาต่อยอดจาก “พุทธมหายาน” และ “วัชรยาน” ที่โอริสสาแห่งพุทธศตวรรษที่ 10 ถึง 16 นี่เอง
เรายังได้ไปกราบไหว้พระเกศาสถูปที่ ลลิตคีรี ที่เพิ่งขุดค้นพบไม่นาน ในพระสถูปค้นพบผะอบบรรจุเส้นพระเกศาพระพุทธเจ้าพร้อมจารึกว่าตปุสสะ (Tapusa) และภุลลิกะ (Bhallika) สองพ่อค้าชาวโอริสสาในขณะนั้น ได้สร้างไว้ …
ตรงกับ “อังคุตตรนิกาย” ที่กล่าวไว้ว่า .. ครั้งเมื่อพระพุทธองค์เพิ่งตรัสรู้ ได้เพียงสี่อาทิตย์แรก ก็ทรงได้สาวกสองคนแรก คือ ท่านตปุสสะ (Tapusa) และ ท่านภุลลิกะ (Bhallika) พ่อค้าชาวโอริสสา ซึ่งได้เข้าเฝ้าพุทธองค์และปวราณาตนเป็นพุทธสาวก ก่อนปัญจวัคคีย์ทั้งห้าที่ชาวไทยพุทธรู้จักดีเสียอีก
สาวกสองท่านนี้ได้ขอพระเกศาพุทธองค์ และนำมาบรรจุผะอบฝังไว้ที่สถูปแห่งนี้ ตรงตามที่จารึกไว้ในอังคุตตรนิกายทุกประการ
โอริสสาจึงเป็น “พุทธภูมิ” ที่ “ตกสำรวจ” ในไทย .. โอริสสาสำคัญมาก ชาวไทย โดยเฉพาะชาวพุทธ ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น เถรวาท หรือ มหายาน หรือกระทั่งท่านที่สนใจพุทธแบบตันตระ แบบทิเบต แบบวัชรยาน
หากมีโอกาส ก็ควรได้แวะมาเยือน มาศึกษา มาสวดมนต์ มาแสดงธรรม หรือมาสนทนาธรรม ณ สถานที่สำคัญต่างๆ ในรัฐแห่งนี้ และ บรรดาท่านที่เป็นนักประวัติศาสตร์พุทธศาสนา หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับสุวรรณภูมิหรือเอเชียอาคเนย์ก็ไม่น่าพลาด
https://mgronline.com/daily/detail/9610000001415
เมืองภูพเนศ (Bhubaneswar) .. สังเขปประวัต์สาสตร์
ภูพเนศ (Bhubaneswar) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย รัฐโอริสสา
ภูมิภาคนี้โดยเฉพาะย่านเมืองเก่ามักถูกพรรณนาว่าเป็นเอกอมราเกศตระ พื้นที่ (kshetra) ที่ประดับด้วยต้นมะม่วง
ภูพเนศวรได้รับการขนานนามว่า “เมืองวัด” "Temple City of India" – เนื่องจากเคยมีวัดถึงราว 700 ที่นี่ .. มีในปัจจุบัน ก็ยังคงมีวัดวาอารามอันวิจิตรตระการตาเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งประกอบขึ้นเป็นหลักฐานอันสมบูรณ์ของสถาปัตยกรรมกาลิงกะ (Kalinga)
ตั้งแต่เริ่มสร้างจนถึงจุดสุดยอด ด้วยทรัพยากรมรดกที่หลากหลาย แสดงให้เห็นองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญซึ่งมีวิวัฒนาการด้วยการสนับสนุนฐานทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่และทางวัฒนธรรม
แม้ว่าเมือง Bhubaneswar สมัยใหม่จะก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1948 แต่ประวัติศาสตร์ของพื้นที่ในและรอบ ๆ เมืองในปัจจุบันสามารถสืบย้อนไปถึงศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตศักราชและก่อนหน้านั้น ..
.. เป็นการบรรจบกันของมรดกฮินดูพุทธและเชนและรวมถึงวัดกาลิงกันหลายแห่ง รวมถึงวัดฮินดูในคริสต์ศตวรรษที่ 6-13 หลายแห่ง ซึ่งครอบคลุมสถาปัตยกรรม Kalingaทั้งหมด
Bhubaneswar มักถูกเรียกว่า "Temple City of India" ร่วมกับ Puri และ Konark เป็นรูปแบบของ 'Swarna Tribhuja' ("สามเหลี่ยมทองคำ") ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดทางตะวันออกของอินเดีย
ประวัติศาสตร์
เมือง Bhubaneswar ตั้งอยู่ใกล้กับซากปรักหักพังของ Sisupalgarh เมืองหลวงโบราณของจังหวัด Kalinga .. ในอดีต Dhauli ใกล้กับ ภุพเนศ เป็นที่ตั้งของพื้นที่สนามรบของสงครามคาลิงกา (ค. 262-261 ก่อนคริสตศักราช) ซึ่งจักรพรรดิอโศกแห่งราชวงศ์โมริยะได้รุกรานและผนวกอาณาจักร Kalinga
หนึ่งในพระราชกฤษฎีกาฉบับสมบูรณ์ที่สุดของจักรพรรดิโมริยะ คือ พระเจ้าอโศก ซึ่งมีอายุระหว่าง 272 ถึง 236 ปีก่อนคริสตกาล ยังคงมีร่องรอยการแกะสลักบนหิน ห่างไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองในปัจจุบัน 8 กิโลเมตร
หลังจากจักรวรรดิโมริยะเสื่อมถอย พื้นที่ดังกล่าวตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ Mahameghavahana ซึ่งผู้ปกครองที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Kharavela ซึ่งมีจารึก Hathigumpha ของพระองค์ตั้งอยู่ที่ถ้ำ Udayagiri และ Khandagiri ใกล้กับเมือง Bhubaneswar
พื้นที่ดังกล่าวถูกปกครองโดยราชวงศ์หลายราชวงศ์ในเวลาต่อมา ได้แก่ ราชวงศ์ศตวาหนะ ราชวงศ์กุปตะ ราชวงศ์มถระ และราชวงศ์ไศโลภภาวะ
ในศตวรรษที่ 7 ราชวงศ์ Somavamshi หรือ Keshari ได้สถาปนาอาณาจักรและสร้างวัดขึ้นหลายแห่ง หลังจากราชวงศ์ Keshari แห่งคงคาตะวันออก ได้ปกครองพื้นที่ Kalinga จนถึงศตวรรษที่ 14 เมืองหลวงของพวกเขาตั้งอยู่ในเมือง Cuttack ในปัจจุบัน
หลังจากนั้น Mukunda Deva แห่งราชวงศ์ Bhoi เป็นผู้ปกครองฮินดูคนสุดท้ายของพื้นที่นี้
.. จนกระทั่งถึงสมัยของ Maratha ที่ปกครอง Odisha จาก Cuttack วัดเก่าแก่ส่วนใหญ่ใน Bhubaneswar สร้างขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 8 ถึง 12 ส่วนใหญ่เป็นวัดที่เลื่อมใส พระศิวะ
.. วัด Ananta Vasudeva เป็นวัดเก่าแก่เพียงแห่งเดียวของพระวิษณุ
ในปี 1568 ราชวงศ์ Karrani แห่งอัฟกานิสถานได้เข้าควบคุม Odisha ..
ในช่วงเวลานี้เอง วัดและโครงสร้างอื่นๆ ส่วนใหญ่ถูกทำลายหรือหรือทำให้เสียหายอย่างหนัก
ในศตวรรษที่ 16 พื้นที่ดังกล่าวตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ ราชวงศ์โมกุลปาจามานี ราชวงศ์มราฐะ ซึ่งสืบทอดตำแหน่งต่อจากราชวงศ์โมกุลในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 .. ได้ส่งเสริมการแสวงบุญในโอริสสา
ในปี 1803 พื้นที่ดังกล่าวตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณานิคมอังกฤษ และเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองของเบงกอล (จนถึงปี 1912)
https://en.wikipedia.org/wiki/Bhubaneswar
1 บันทึก
2
1
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย