[AI : the series] EP 3 : Case Study: Steven A. Schwartz and Peter LoDuca
ขอบเขตการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในงานกฎหมายมีมากน้อยเพียงใด?
ในยุคที่เทคโนโลยี AI เข้ามามีบทบาท การนำ AI มาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ก็เพิ่มมากขึ้น รวมถึงในด้านกฎหมาย มีกรณีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทนายความ Steven A. Schwartz และ Peter LoDuca ซึ่งใช้ Generative AI จากโปรแกรม ChatGPT ในการสร้างเอกสารทางกฎหมายที่เต็มไปด้วยการอ้างอิงคดี (Case Law) ที่ถูกปลอมแปลงและสร้างขึ้นมา เช่น คดี Martinez v. Delta Air Lines, Varghese v. China Southern Airlines และ Zicherman v. Korean Air Lines เพื่อนำมาใช้สนับสนุนว่าคดีของตนควรได้รับการพิจารณาในศาลต่อไป
กรณีข้างต้นจึงสะท้อนถึงความท้าทายที่วงการกฎหมายต้องเผชิญเมื่อ AI เข้ามามีบทบาทในการทำงานที่ต้องการความแม่นยำสูงของนักกฎหมาย นอกจากนี้กรณีข้างต้นยังนำไปสู่การตั้งคำถามที่ว่าขอบเขตการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในงานกฎหมายมีมากน้อยเพียงใดและการประยุกต์ใช้ AI ในงานด้านกฎหมายในระดับใดถึงจะถือว่ามีความเหมาะสมและไม่มากเกินไป
เนติบัณฑิตยสภาแห่งสหรัฐอเมริกา (ABA) ได้จัดตั้งคณะทำงานพิเศษเพื่อศึกษาด้านจริยธรรมในการใช้ AI ในงานกฎหมาย และได้พัฒนาแนวทางการปฏิบัติตามกฎที่เรียกว่า ABA Model Rules of Professional Conduct ซึ่งครอบคลุมการใช้งาน AI อย่างมีจริยธรรม
สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการร่างกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบริการที่ใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เช่น พ.ร.ฎ การประกอบธุรกิจบริการที่ใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ พ.ศ. .... เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้งาน AI เป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาล อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามการพัฒนากฎหมายและทิศทางการปรับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในอนาคตอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินผลกระทบของ AI ในวงการกฎหมายต่อไป