เรื่องราวทั้งหมด ต้องย้อนกลับไปในปี 1976 ตอนนั้น Apple ยังไม่ได้ผลิต iPhone อย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน แต่เป็นเพียงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเท่านั้น
รู้ไหมว่า คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของ Apple ถูกประกอบขึ้นมาภายในโรงรถของ สตีฟ จอบส์ ผู้ก่อตั้งที่ล่วงลับไปแล้วของ Apple
คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของ Apple ชื่อว่า Apple I ซึ่งถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรก ๆ ที่วางจำหน่ายสู่ท้องตลาด
แต่คอมพิวเตอร์ Apple I ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในยุคนั้น กลับไม่ได้สร้างความสำเร็จทางการเงินให้ Apple มากนัก เพราะสามารถขายออกไปได้เพียงไม่กี่เครื่องเท่านั้น
เพราะจริง ๆ แล้ว คอมพิวเตอร์ Apple I เป็นเพียงแผงวงจร ที่ไม่มีจอภาพ แป้นพิมพ์ หรือเคสมาให้เลย ลูกค้าต้องนำไปประกอบชิ้นส่วนเอาเอง
กว่าจะประสบความสำเร็จจริง ๆ ก็เป็นตอนที่ Apple ผลิตคอมพิวเตอร์รุ่นที่ 2 ออกมา ชื่อว่า Apple II ที่คราวนี้ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาไปประกอบคอมพิวเตอร์เองแล้ว
แต่ในช่วงแรก Apple ก็ไม่ใช่บริษัทที่ประสบความสำเร็จในวงการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเท่าไรนัก
เพราะ Apple ผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรมสุดล้ำ จึงต้องตั้งราคาขายแพงกว่าคู่แข่งรายอื่น ๆ และในช่วงแรก Apple ยังไม่มีภาพลักษณ์แบรนด์ที่แข็งแกร่งอย่างในทุกวันนี้
การขายสินค้าราคาแพง จึงทำให้ลูกค้าไม่ซื้อคอมพิวเตอร์จาก Apple
นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการ Mac OS ของ Apple เป็นระบบปิด ที่ไม่ได้เปิดให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายอื่นเอาไปใช้
ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ จึงหันไปมุ่งเน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ Windows ของ Microsoft ที่มีผู้ใช้งานมากกว่าแทน
ตอนนั้นมีการประเมินกันว่า Apple มีเงินสดเหลืออยู่ในบัญชีเพียงพอที่จะทำธุรกิจต่อไปได้อีกแค่ 90 วันเท่านั้น
Apple ในเวลานั้นจึงต้องยอมแบกหน้า ไปขอความช่วยเหลือจากคู่แข่งอย่าง Microsoft
โดยมีข้อตกลงว่า Apple จะยอมถอนฟ้องข้อพิพาททางกฎหมายทั้งหมดกับ Microsoft เพื่อแลกกับเงินสนับสนุนจำนวน 8,500 ล้านบาท
ทำให้ Apple มีเงินต่อลมหายใจไปได้ และสามารถเปิดตัวคอมพิวเตอร์ iMac รุ่นแรก ซึ่งสร้างยอดขายได้อย่างถล่มทลาย จนผลประกอบการของ Apple ดีวันดีคืน
วิกฤติที่ทำให้ Apple เกือบหายไปจากโลกในครั้งนี้ กลายเป็นบทเรียนสำคัญให้ Apple ต้องสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ไปพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ
จนทุกวันนี้ไม่ว่า Apple จะขึ้นราคา iPhone รุ่นใหม่ให้มีราคาแพงแค่ไหน ก็ยังมีลูกค้าขาประจำคอยยืนต่อแถวซื้อสินค้ารุ่นใหม่ ๆ ของ Apple อยู่เสมอ
แล้วการที่ Apple สร้างระบบปฏิบัติการของตัวเองให้กลายเป็นระบบปิด แม้จะเป็นอุปสรรคในการขายคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ
แต่ในปัจจุบันกลายเป็นว่า ถ้าใครอยากใช้ระบบ iOS ของ Apple ก็ต้องซื้อสินค้าฮาร์ดแวร์ของ Apple เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น iPhone, iPad, MacBook หรือ Apple Watch
ทำให้ Apple สร้างระบบนิเวศของตัวเองได้สำเร็จ และทำให้ลูกค้ามีต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคู่แข่งสูงขึ้น
และปัญหาในอดีตอย่างการที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ต่างเบือนหน้าหนี ไม่ยอมพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้งานกับระบบปฏิบัติการของ Apple
ก็ถูกแก้ปัญหาโดยการคิดค้น App Store ที่เปรียบเสมือนร้านค้าที่รวบรวมแอปพลิเคชัน จากนักพัฒนาทั่วโลก สำหรับใช้งานในอุปกรณ์ของ Apple
1
ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ยอมกลับมาพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้กับระบบ iOS เป็นเพราะความสำเร็จของการเปิดตัว iPhone และสินค้าอื่น ๆ ของ Apple
ทำให้มีคนใช้งานระบบปฏิบัติการของ Apple มากขึ้น จนตลาดตรงนี้มันใหญ่เกินกว่าที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะมองข้ามเหมือนในอดีตแล้ว
แถม App Store ก็กลายเป็นแหล่งรายได้อีกช่องทางหนึ่งให้ Apple เรียกเก็บส่วนแบ่งรายได้จากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อีกด้วย
นอกจากนี้แล้ว Apple ยังรู้จักจุดแข็งของตัวเองเป็นอย่างดี อะไรที่ไม่ใช่จุดแข็งของตัวเอง Apple จะไม่มีวันทำเองโดยเด็ดขาด
จุดแข็งของ Apple ที่ว่าก็คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตัวเอง การพัฒนาซอฟต์แวร์ และการทำการตลาด
ส่วนเรื่องอื่น ๆ อย่างเช่น การผลิตชิ้นส่วน หรือแม้แต่การประกอบ iPhone Apple ก็เลือกที่จะ Outsource ไปให้คู่ค้าทำให้แทน
ยกตัวอย่าง iPhone ก็เช่น..
1
- Foxconn จากไต้หวันรับงานประกอบ
- Sony ผลิตเซนเซอร์ในกล้อง
- Samsung ผลิตหน่วยความจำ
- TSMC ผลิตชิป CPU
การทำแบบนี้ช่วยให้ Apple สามารถทุ่มทรัพยากรไปเฉพาะส่วนที่สำคัญกับธุรกิจของตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปเสียเวลากับเรื่องอื่น ๆ
ถ้าให้สรุปโมเดลธุรกิจที่ทำให้ Apple กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ก็คือ..
1. การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ทำให้ Apple มีอำนาจในการขึ้นราคาสินค้า