27 ก.ย. เวลา 09:47 • สุขภาพ

หมอลาออกกระทบระบบสาธารณสุขไทย

สถานการณ์แพทย์ในปัจจุบันจำนวนแพทย์ทั้งหมดมีประมาณ 50,000 - 60,000 คน เป็นแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขราว 25,000 คน หรือคิดเป็น 48% แต่ภาระงานในการดูแลคนในระบบหลักประกันสุขภาพฯ ประมาณ 45 ล้านคน โดยคิดเป็น 75 - 80% ของประชากร ตัวเลขนี้จึงเห็นภาระงานชัดเจน แพทย์เฉลี่ยต่อประชากรจะอยู่ที่ 1 ต่อ 2,000 คน ทั้งที่มาตรฐานขอ WHO กำหนดไว้ที่ 1:1,000 คน
2
นอกจากนี้หากมองที่ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี จาก ปี 2556-2565 พบว่า มีแพทย์บรรจุรวม 19,355 คน โดยแพทย์ใช้ทุนปีแรก ลาออก 226 คน คิดเป็น 1.2% เฉลี่ยปีละ 23 คน ซึ่งถือว่าน้อย เพราะต้องอยู่ให้ครบตามแพทยสภากำหนดจึงจะไปสอบเชี่ยวชาญได้
1
ขณะที่ แพทย์ใช้ทุนปีที่ 2 ลาออกเยอะหน่อย เพราะครบคุณสมบัติไปเป็นแพทย์เฉพาะทางได้ ตัวเลขอยู่ที่ 1,875 คน คิดเป็น 9.69% เฉลี่ยปีละ 188 คน แพทย์ใช้ทุนปีที่ 3 ลาออก 858 คน คิดเป็น 4.4% เฉลี่ยปีละ 86 คน โดยแพทย์ลาออกหลังพ้นภาระชดใช้ทุน 1,578 คน คิดเป็น 8.1% เฉลี่ยปีละ 158 คน โดยสรุปภาพรวมเฉลี่ยลาออกปีละ 455 คน นอกจากนี้ยังมีเกษียณปีละ 150-200 คน รวมประมาณปีละ 655 คน
สาเหตุสำคัญจากการศึกษาและจากที่ผมได้ลองถามเพื่อนๆที่เป็นแพทย์ ตอบเป็นเสียงเดียวกันคือภาระงานและความกดดันในโรงพยาบาลรัฐ หมอไทยทำงานหนักเกินกว่าค่าเฉลี่ยทั้งโลก โดบข้อมูลผลสำรวจการสำรวจชั่วโมงการทำงานของหมอในโรงพยาบาลรัฐระบุว่า หมอต้องทำงานนอกเวลาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากการสำรวจพบว่ามีโรงพยาบาลมากกว่า 60 แห่งที่หมอต้องทำงานนอกเวลามากกว่า 40-64 ชั่วโมง เพื่อดูแลคนไทยทั้งประเทศเกือบ 70 ล้านคน
นอกจากเรื่องของภาระงานแล้ว เรื่องค่าตอบแทนและระบบราชการที่ล่าช้าก็เป็นปัจจัยสำคัญ ปัญหาการตกเบิกเงินเดือนบุคลากรอยู่แทบทุกปีงบประมาณ มีตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน หรือนานถึง 10 เดือนก็มี (อันนี้ประสบการณ์ส่วนตัวเลยครับ เภสัชฯก็ตกเบิก P4P มาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน)
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ให้ข้อมูลว่า การลาออกของแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ระบบราชการไม่เคยแคร์คนทำงาน และมักให้ทำงานหนักเกินกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งตรงกันข้ามกับโรงพยายบาลเอกชนที่ส่วนใหญ่จะแคร์หมอมาก กลัวหมอลาออก เพราะว่าโรงพยาบาลเอกชนก็ต้องการเก็บหมอฝีมือดีเอาไว้ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ เพราะการลาออกของหมอ หรือย้ายไปอยู่โรงพยาบาลคู่แข่งนั้นนับเป็นความเสียหายทางโอกาสที่โรงพยาบาลควรจะได้รับ
2
นอกจากเรื่องของระบบแล้ว ผู้ป่วยก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะตัดสินได้ว่าหมอคนหนึ่งจะยังทนต่องานตรงหน้าต่อไปได้หรือไม่ อาจจะฟังดูไม่มีความอดทน แต่การต้องเผชิญความกดดันอยู่ตลอดเวลา กล้วยสักผลหรือคำพูดหวานๆเพียงไม่กี่คำจากผู้ป่วย ก็อาจทำให้คุณหมอมีกำลังใจและรู้สึกถึงความสำคัญของตนต่อคนไข้
1
ในทางกลับกัน คำพูดส่อเสียด แสดงความไม่พอใจหรือตำหนิโดยไม่สมเหตุผล การไม่ยอมให้ความร่วมมือในการรักษาของคุณหมอซ้ำยังด่าสาดเสียเทเสีย ก็บั่นทอนจิตใจของคนทำงานได้อย่างมีนัยสำคัญ ใครจะไปรู้ว่าฟางเส้นสุดท้ายของแต่ละคนจะอดทนได้นานแค่ไหน
อ้างอิง
1
โฆษณา