Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
B
Benjamin Jaris
•
ติดตาม
29 ก.ย. เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
ถนน ทรงเสริม
ถนนทรงเสริม - หนึ่งในถนนที่สั้นที่สุดในประเทศไทย
หากคุณเดินทางไปที่วัดปทุมคงคาหรือถนนทรงวาด ท่านจะได้เห็นถนนเล็กๆเส้นหนึ่ง ความยาวไม่ถึง 50 เมตร เรียกได้ว่าเป็นถนนที่สั้นที่สุดเส้นหนึ่งในประเทศไทย เชื่อมระหว่างวงเวียนทรงวาดถึงท่าน้ำสวัสดี แล้วถนนเส้นนี้มีความเป็นมาอย่างไร?
ถนนทรงเสริม 2024 (พ.ศ. 2567)
ต้องย้อนกลับไปสมัยสร้างกรุงเทพ ในปี ค.ศ.1782 ชาวจีนอพยพมาจากบางจีน (พระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน) มาตั้งรกรากที่สำเพ็งจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เชื่อมถึงกันด้วยตรอกเล็กๆขนาดเท่าคนสองคนเดินสวนกัน บ้านเรือนตั้งเรียงรายหลังคาเกยกันจนไก่บินตกไม่ถึงพื้น
แผนที่สัมพันธวงศ์ ค.ศ.1896 แสดงให้เห็นถึงความแออัดของชุมชนสำเพ็ง
ปี ค.ศ.1906 เกิดเหตุไฟไหม้ที่สำเพ็ง ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ามีพระราชดำริวาดแนวถนนขึ้นมาใหม่ เพื่อลดความแออัดของพื้นที่สำเพ็ง กลายเป็น "ถนนทรงวาด" เชือมระหว่างถนนราชวงศ์ถึงถนนเจริญกรุง โดยยังไม่ปรากฏชื่อของ "ถนนทรงสวัสดิ์" และ "ถนนทรงเสริม"
แผนที่กรุงเทพ 1907 (พ.ศ. 2450) แสดงถึงให้เห็นถึง ถนนทรงวาด จาก ร่องรอยบางกอกยุคต้นรัตนโกสินทร์ ในแผนที่กรุงเทพฯ ฉบับธงชัย (2) / พื้นที่ระหว่างบรรทัด โดย ชาตรี ประกิตนนทการ
ภาพของถนนทรงสวัสดิ์ปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนที่กรุงเทพ ค.ศ. 1932 (พ.ศ.2475) แต่ยังคงใช้ชื่อ "ถนนทรงวาด" และยังไม่เห็นภาพของถนนทรงเสริมกับท่าน้ำสวัสดีแต่อย่างใด
แผนที่กรุงเทพ 1932 (พ.ศ.2475) เห็นแนวถนนทรงสวัสดิ์ แต่ยังไม่พบถนนทรงเสริมและท่าน้ำสวัสดี
ภาพของถนนทรงเสริมกับท่าน้ำสวัสดี ปรากฏขึ้นบนแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศกรุงเทพมหานคร ค.ศ. 1958 สันนิษฐานว่ามีการสร้างหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1945-1957) เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมเรือและเหล็ก พร้อมกับการตั้งชื่อ "ถนนทรงสวัสดิ์" กับ "ถนนทรงเสริม" เพื่อสอดคล้องกับ "ถนนทรงวาด"
ถนนทรงเสริม จากแผนที่ภาพถ่่ายทางอากาศ 1958 (พ.ศ.2501)
ปัจจุบันถนนทรงเสริมกลายเป็นหมุดหมายสำคัญในการเริ่มต้นเดินชมอาคารสไตล์ตะวันตกและผลงานศิลปะริมสองฝั่งถนนทรงวาด ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังย่านสตรีทฟู้ดเยาวราชและย่านตลาดน้อย ซึ่งเป็นย่านที่รวบรวมศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของคนจีนที่สืบทอดตั้งแต่บรรพบุรุษ
ที่มา
-
https://www.thairath.co.th/news/politic/479660
-
https://www.matichonweekly.com/column/article_418564
-สมชัย กวางทองพานิชย์, "เผยอิงในชีวิตของ ด.ช. เหม่งจั๊ว" ใน เรื่องเล่าชาวเกาะ (กรุงเทพฯ:
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2567) หน้า 121-134.
ประวัติศาสตร์
กรุงเทพมหานคร
เยาวราช
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สัมพันธ์ story
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย