30 ก.ย. เวลา 02:27 • กีฬา

ดราม่าชายแปลงเพศมาเป็นหญิง ร่วมแข่งพาราลิมปิกเกมส์

นักกีฬาชายแปลงเพศมาแข่งร่วมกับผู้หญิง เป็นดราม่าใหญ่ในพาราลิมปิกเกมส์ ที่เพิ่งจบไปช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
1
ย้อนกลับไปเล็กน้อยตอนโอลิมปิก ในเคสของ อิมาน เคลิฟ เธอเกิดมาในสภาพร่างกาย ที่เรียกว่า DSD นั่นคือ เกิดมาด้วยโครโมโซม XY แต่มีปัญหาบกพร่องในการแสดงออกของยีนเพศชาย ทำให้รูปลักษณ์ภายนอก มีความเป็นหญิง และถูกเลี้ยงมาเป็นผู้หญิงตั้งแต่เด็ก
ประเด็นของเคลิฟไม่เกี่ยวข้องกับ ผู้หญิงข้ามเพศ หรือ ทรานส์ แต่อย่างใด แต่กับพาราลิมปิก อันนี้ มีความเกี่ยวข้องกับนักกีฬาทรานส์เต็มๆ
ฟาบริซิโอ เปตริลโล่ เป็นชาวอิตาเลียน เขาเกิดที่เมืองเนเปิ้ลส์ และใช้ชีวิตในฐานะผู้ชายตามปกติ
ในวัย 14 ปี ฟาบริซิโอ ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อม (Stargardt's disease) โรคเดียวกับลูกชายของไมเคิล โอเว่น คือไม่สามารถมองเห็นได้เกินระยะ 1 เมตร เวลามองอะไรก็จะเบลอไปหมด ไม่สามารถอ่านหนังสือได้
เมื่อเป็นโรคจนมองไม่เห็น ทำให้เขาที่ชอบเล่นกีฬา ต้องเปลี่ยนจากเดิม ที่แข่งกีฬากับคนปกติ ไปแข่งกีฬาคนพิการแทน โดยถูกจัดหมวดหมู่ ให้อยู่ในนักกีฬาพิการสายตา ในระดับ T12
ฟาบริซิโอ เล่นกีฬาฟุตซอลของคนพิการสายตา และเล่นเก่งจนถึงขั้นติดทีมชาติอิตาลีด้วย
หลังจากแขวนสตั๊ดจากฟุตซอล ในปี 2015 ตอนอายุ 43 ปี ฟาบริซิโอผันตัวมาเป็นนักกรีฑาพาราลิมปิกแทน ลงแข่งขันกับกลุ่มคนพิการสายตาด้วยกัน
เรื่องกีฬาไปได้ดี ขณะที่ชีวิตส่วนตัว เขาแต่งงานกับผู้หญิง มีลูกด้วยกัน 2 คน ทุกอย่างก็ดูราบรื่นดี
อย่างไรก็ตาม หลังจากอายุมากขึ้น ฟาบริซิโอ มาค้นพบหัวใจตัวเอง ว่าอยากเป็นผู้หญิงจนไม่สามารถเก็บความรู้สึกได้อีกต่อไป
เขากล่าวว่า "ผมรู้ตัวว่าชอบความเป็นหญิงตั้้งแต่อายุ 5 ขวบแล้ว แต่ตอนวัยรุ่นผมยอมแพ้ เพราะไม่เข้าใจว่าจะจัดการความคิดนั้นอย่างไร ผมรู้สึกเหมือนอยู่ตัวคนเดียวในโลกใบนี้"
1
ในปี 2018 ตอนที่ ฟาบริซิโออายุ 45 ปี เขาตัดสินใจสารภาพเรื่องนี้กับภรรยาโดยบอกว่า ที่ผ่านมา ทุกครั้งที่มีโอกาส เขาจะแอบใส่เสื้อผ้าผู้หญิง แอบทาเล็บ แอบใช้เครื่องสำอาง คือรู้ใจตัวเองว่าไม่อยากเป็นผู้ชายอีกต่อไปแล้ว
1
ภรรยานั้นช็อก แต่ก็ให้กำลังใจฟาบริซิโอ สุดท้ายทั้งคู่ก็หย่าขาด แล้วกลายมาเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน
ส่วนฟาบริซิโอ ก็เข้ารับการแปลงเพศ และเทกฮอร์โมน ก่อนจะเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็นวาเลนติน่า
2
หลังแปลงเพศเรียบร้อยแล้ว ในเดือนกันยายน 2020 ฟาบริซิโอ วัย 47 ปี ตัดสินใจกลับมาแข่งกรีฑาคนพิการอีกครั้ง แต่เปลี่ยนประเภทจากชาย กลายเป็นหญิง
องค์กรกรีฑาโลก หรือ World Athletics ประกาศว่า นักกีฬาทรานส์ (ชายกลายเป็นหญิง) ไม่สามารถแข่งขันในประเภทหญิงได้
1
แต่องค์กรที่ดูแลกรีฑาคนพิการ นั่นคือ World Para Athletics ใช้กฎคนละอย่างกัน โดยระบุว่า ถ้าหากประเทศต้นทาง ยอมรับว่านักกีฬาคนไหนเป็นเพศหญิง ก็ลงแข่งในประเภทหญิงได้
ที่ประเทศอิตาลีนั้น มีกฎหมายว่า เพศทางกฎหมาย (Legal Gender) สามารถขอเปลี่ยนได้ นั่นทำให้วาเลนติน่า ยื่นเปลี่ยนจากเพศชายที่ได้มาแต่กำเนิด กลายเป็นเพศหญิง
สุดท้ายรัฐให้การรับรอง ทำให้เอกสารทางการของเธอ จึงถูกเปลี่ยนเป็นหญิงทั้งหมด
เมื่อประเทศต้นทางระบุมาแบบนี้ ทำให้ World Para Athletics ก็ต้องยอมรับให้วาเลนติน่า ลงแข่งขันในกรีฑาคนพิการหญิงไปโดยปริยาย
วาเลนติน่าลงแข่งขันวิ่ง 200 เมตร และ 400 เมตรหญิง ซึ่งพอได้ลงปั๊บ เดินหน้าทำลายสถิติพาราลิมปิกหญิงของประเทศอิตาลีได้สบายๆ ตามด้วยการคว้าเหรียญทองแดง ในการแข่งวิ่งชิงแชมป์โลกเมื่อปี 2023
วาเลนติน่าคว้าโควต้าพาราลิมปิกเกมส์ ที่ปารีสในครั้งนี้ ด้วยวัย 50 ปี คือตามปกติ ผู้ชายในวัยห้าสิบ ไม่มีทาง มีลุ้นเหรียญในพาราลิมปิกเกมส์ ของการแข่งวิ่งระยะนี้ เพราะวิ่งสู้หนุ่มๆ ไม่ได้
แต่พอมาเปลี่ยนเป็นเพศหญิงปั๊บ ในเมื่อวาเลนติน่ามีพลังกล้ามเนื้อที่มากกว่าเพศหญิงแต่กำเนิดคนอื่น และทำให้เธอทำเวลาได้โอเค ดีพอจะได้โควต้าพาราลิมปิก แม้จะมีอายุมากขนาดนี้ก็ตาม
สำหรับเงื่อนไขในการแข่งพาราลิมปิก ประเภทหญิงนั้น มีกฎสองข้อ ข้อแรกคือประเทศต้นทางต้องระบุในเอกสาร ว่านักกีฬาเป็นหญิง ส่วนข้อสองคือ นักกีฬาทุกคนต้องทดสอบค่า เทสโทสเทอโรน ใครอยู่ต่ำกว่า 10 นาโนโมล ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ก็สามารถลงแข่งขันได้
วาเลนติน่า ผ่านกฎทั้งสองข้อ ทำให้เธอมาลงแข่งในพาราลิมปิกเกมส์ ที่ปารีสอย่างถูกกฎ แม้จะมีเสียงแสดงความไม่พอใจจากนักกีฬาเพศหญิงแต่กำเนิดก็ตาม ว่ามันเอาเปรียบกันเห็นๆ
1
เมลานี่ เบอร์เกส นักวิ่งชาวสเปน เป็นคนที่พลาดโควต้าไปพาราลิมปิก เพราะโดนวาเลนติน่าแย่งที่นั่ง เธอระบายอารมณ์ว่า "นี่มันไม่ยุติธรรม คือเราไม่ได้พูดถึงการใช้ชีวิตประจำวันนะ แต่เราพูดถึงเรื่องกีฬา ที่คนแข็งแรงกว่าก็ย่อมได้เปรียบกว่า"
เช่นเดียวกับแคทเทอรีน มุลเลอร์-ร็อตการ์ด นักวิ่งชาวเยอรมันที่กล่าวว่า "เธอใช้ชีวิตและฝึกฝนในฐานะผู้ชายมาตลอดชีวิต ดังนั้นสภาพร่างกายก็ย่อมเหนือกว่าคนที่เกิดมาเป็นเพศหญิงจากธรรมชาติ"
สิ่งที่ทำให้นักกีฬาหลายคนโวย คือความพิการของวาเลนติน่า คือ T12 เกี่ยวกับเรื่องสายตามองไม่เห็น แต่สภาพร่างกายอื่นๆ แขน ขา ก็แข็งแกร่งทุกประการ จึงแทบไม่ต่างอะไรกับเอาผู้ชายมาลงแข่งดวลกับผู้หญิง
จริงๆ แล้ว เคยมีคนถามวาเลนติน่า ว่าเธอลงแข่งประเภทชายสิ แข่งกับคนโครโมโซมเดียวกัน XX จะได้ไม่เกิดดราม่า แต่เธอตอบว่า "ฉันอยากจะไปแข่งในนามผู้หญิง เพราะฉันไม่รู้สึกถึงความเป็นผู้ชายอีกแล้ว ฉันรู้สึกมันไม่ใช่ตัวเอง"
สุดท้ายแล้ว เมื่อวาเลนติน่า มีเอกสารรับรอง และมีค่าเทสโทสเทอโรน ต่ำกว่ากำหนด ทำให้เธอร่วมลงแข่งที่ปารีสได้ และกลายเป็นทรานส์วูแมน คนแรกของโลก ที่ได้แข่งในพาราลิมปิกเกมส์
วันที่ 2 สิงหาคม เธอลงแข่งขันวิ่ง 400 เมตร ประเภท T12 ผ่านรอบแรกมาได้ แต่สุดท้าย ไปร่วงในรอบเซมิไฟนอล โดยเข้าเส้นชัยช้ากว่าอันดับสุดท้ายที่ควอลิฟาย 1.24 วินาทีเท่านั้น
1
ถ้าหากสภาพร่างกายเธอสดกว่านี้ อายุน้อยกว่านี้ มีโอกาสได้เข้าชิง และลุ้นเหรียญทองได้สบายๆ แต่ด้วยวัย 51 ปี เธอทำได้ดีที่สุดเพียงเท่านี้
วาเลนติน่า ให้สัมภาษณ์ว่า แม้จะไม่ได้เหรียญแต่เธอภูมิใจ เพราะเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ ว่ากลุ่มทรานส์ ก็สามารถลงแข่งพาราลิมปิกได้เช่นกัน
เธอกล่าวว่า "จากนี้ไปฉันไม่ได้อยากได้ยิน การแบ่งแยกทรานส์ออกจากผู้หญิง และถ้าวันนี้ฉันสามารถทำได้ อนาคตต่อไป เราทุกคนก็สามารถทำได้เหมือนกัน วันนี้ 2 กันยายน 2024 จงบันทึกเรื่องราวนี้เอาไว้ในประวัติศาสตร์"
ประเด็นที่ผู้คนถกเถียงกันอยู่ ณ เวลานี้ คือ พาราลิมปิก จะปล่อยให้ทรานส์วูแมน ร่วมแข่งขันกับผู้หญิงทั่วๆ ไป จริงๆ หรือ?
คราวนี้วาเลนติน่าไม่ได้เหรียญเพราะเธออายุ 51 ถือว่าอายุเยอะแล้ว แต่ในอนาคตถ้าหาก มีทรานส์วูแมนคนอื่น ที่อายุน้อยๆ มาร่วมแข่งขันด้วยล่ะ ก็จะคว้าเหรียญไปครองโดยง่ายเลยหรือเปล่า
ในการชิงเหรียญประเภทชาย ผู้ชนะคือชายแต่กำเนิด ส่วนการชิงเหรียญประเภทหญิง ผู้ชนะคือชายแปลงเพศ แล้วแบบนี้ ผู้หญิงแต่กำเนิดจะยืนอยู่ตรงไหน มีสิทธิ์อยู่ในจุดสูงสุดกับเขาได้บ้างหรือเปล่า?
4
เรื่องนี้ก็ต้องดูท่าทีของ World Para Athletics ว่าจะยึดกฎเกณฑ์แบบนี้ต่อไป หรือไม่ในลอสแองเจลิส 2028 หรือว่าจะปรับให้เหมือนกรีฑาของคนปกติ ที่ห้ามทรานส์ ร่วมแข่งกับผู้หญิง
สุดท้าย สำหรับประเด็นเรื่องทรานส์ในโลกกีฬา ก็ยังคงถูกถกเถียงต่อไป ว่าควรจัดวางพวกเขา ให้อยู่ตรงไหน
การให้สิทธิ์กับทรานส์ได้ร่วมแข่ง ก็เป็นไปตามคอนเซ็ปต์ของกีฬา คือมนุษย์ทุกคน ควรมีสิทธิ์ได้ลงแข่งขัน
แต่ถ้ามองรอบด้าน ต้องยอมรับว่า มันเป็นการเอาเปรียบนักกีฬาเพศหญิงแต่กำเนิดอยู่
เรื่องนี้ ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ และถ้าหากยังไม่มีการแก้ไขลงไปในกฎล่ะก็ เราอาจจะเห็นเคสแบบนี้ เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต
สำหรับกรณีของฟาบริซิโอ-วาเลนติน่า ต้องยอมรับว่า เราไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน
ในสมัยเป็นผู้ชาย ติดทีมชาติฟุตซอล แล้วพออายุเยอะขึ้น ทำการแปลงเพศ แล้วก็ติดทีมชาติอีก ในฐานะนักกรีฑาหญิง
1
เป็นนักกีฬาทีมชาติ 2 เพศ ในคนๆ เดียว นับว่าเป็นอะไรที่ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ
1
โฆษณา