9 ต.ค. 2024 เวลา 06:00 • สิ่งแวดล้อม

‘ทะเลทรายซาฮารา’ ต้นไม้งอกงาม หลังพายุถล่ม ‘แอฟริกา’ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะ ‘โลกร้อน’

พื้นที่บางส่วนของ “ทะเลทรายซาฮารา” มีพืชพรรณต่าง ๆ งอกงามอย่างรวดเร็ว กำลังกลายเป็นสีเขียวจนสามารถมองเห็นได้จากอวกาศ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และไม่ควรจะเป็นเช่นนี้
2
เมื่อไม่นานมานี้ เกิดพายุพัดผ่านมาในพื้นที่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา จนดาวเทียมของนาซาได้บันทึกภาพพืชพรรณที่บานสะพรั่ง ทั้ง ๆ ที่พื้นที่บริเวณนี้ไม่ควรมีเป็นสีเขียวด้วยซ้ำ ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ด้วย นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเหตุการณ์นี้จาก “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ซึ่งเกิดขึ้นเพราะการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล
3
พื้นที่แห้งแล้งที่ไม่มีฝนตกในโมร็อกโก แอลจีเรีย ตูนิเซีย และลิเบีย กำลังเริ่มมีสีเขียวขึ้น จากการงอกงามของไม้พุ่มและต้นไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำ หลังจากที่เกิดฝนตกหนัก
4
ปรกติแล้ว ปริมาณน้ำฝนทางตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตรในแอฟริกาจะเพิ่มขึ้น ช่วงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายน เนื่องจากมรสุมแอฟริกาตะวันตกเริ่มก่อตัว จะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองมากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่ออากาศชื้นจากเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร พัดมาปะทะกับอากาศร้อนและแห้งจากภาคเหนือของทวีป เมื่อรวม แสงแดดแรง และน้ำทะเลอุ่น ๆ ทำให้เกิดอากาศชื้นลอยขึ้น มีเมฆ ฝน และพายุฝนฟ้าคะนองตลอดเวลา
4
พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นเรียกว่า “ร่องความกดอากาศต่ำแถบศูนย์สูตร” (Intertropical Convergence Zone : ITCZ ) หรือ “ร่องมรสุม” จะเคลื่อนตัวไปทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรในช่วงฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่ลดตัวลงทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรในช่วงที่ซีกโลกใต้มีอากาศอบอุ่น
1
ตามข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์สภาพอากาศของ NOAA พบว่า ร่องมรสุมเคลื่อนตัวไปทางเหนือมากกว่าปรกติ แต่ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้มีพายุพัดเข้าสู่ทะเลทรายซาฮาราตอนใต้ รวมถึงบางส่วนของไนเจอร์ ชาด ซูดาน และภูมิภาคเหนือไกลของลิเบีย ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น 2-6 เท่า
เมื่อโลกร้อนขึ้น โลกจะสามารถกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น ซึ่งอาจเกิดมรสุมที่ทำให้ฝนตกมากขึ้นและเกิดน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้นเหมือนในปี 2024 แต่ยังจำเป็น
ต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีบทบาทมากเพียงใดในเหตุการณ์น้ำท่วมแต่ละครั้ง
#กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจSustain #กรุงเทพธุรกิจEnvironment
1
โฆษณา