จอกบ่วาย พืชกินแมลง ณ ลานหินหน่อ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

จอกบ่วาย ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝘿𝙧𝙤𝙨𝙚𝙧𝙖 𝙗𝙪𝙧𝙢𝙖𝙣𝙣𝙞𝙞 Vahl. ชื่อเรียกอื่น : หยาดน้ำค้าง ชื่อวงศ์ : DROSERACEAE
จอกบ่วาย เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสั้น อายุปีเดียว สูง 2-3 เซนติเมตร เป็นพืชกินแมลงขนาดเล็ก ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับและซ้อนกันแน่นเป็นแนวรัศมี แผ่นใบมีขนต่อมสีแดงปกคลุมจำนวนมาก ปลายใบมีน้ำเมือกเหนียว ก้านใบสั้น หู เมื่อมีแมลงมาติด จะมีสารพวกน้ำย่อยมาย่อยแมลงนำไปเลี้ยงลำต้นได้ ดอก สีขาวปลายสีแดง เรียงซ้อนเหลื่อมกัน ผล เป็นแบบแคปซูล แห้งแตก รูปกลม มีขนาดเล็กมาก ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร
เป็นพืชสมุนไพร ต้นแห้ง ใช้ดองเหล้าดื่ม แก้ท้องมานต้นสด ขยี้ทาแก้กลากเกลื้อน ไฟลามทุ่ง งูสวัด
ผู้สำรวจ/บทความ/ภาพถ่าย : นายประจักษ์ บุญมาจันทร์ เจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนสายตรวจส่วนกลาง ฝ่ายอนุรักษ์และจัดการทรัพยากร อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
แหล่งข้อมูล : กลุ่มงานวิจัยพันธุศาสตร์ป่าไม้และพันธุ์พืชป่าหายาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ที่มา : อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา)
#จอกบ่วาย #กรมอุทยานแห่งชาติ #อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม #อำเภอเทพสถิต #ชัยภูมิ #กรมอุทยานแห่งชาติ #พืชกินแมลง
โฆษณา