30 ก.ย. เวลา 00:30 • ข่าวรอบโลก

ฮิชบุลเลาะห์ สูญเสียผู้นำจิตวิญญาณ จะนำไปสู่สงครามระดับภูมิภาคหรือไม่ ?

อิสราเอล ประเทศผู้กระหายสงครามล้างแค้น จากปมแห่งประวัติศาสตร์ชนชาติและศาสนา
เมื่อต้นเดือนนี้อิสราเอลประกาศเป้าหมายสงครามอย่างเป็นทางการว่า ต้องการเปิดทางนำพลเรือนชาวอิสราเอลประมาณ 60,000 คน ที่อพยพจากบ้านเรือนตามแนวชายแดนเลบานอนจากสถานการณ์สงครามกลับบ้าน ซึ่งนั่นหมายถึงการเผชิญหน้ากับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์อย่างแน่นอน
นักรบของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์สวมอุปกรณ์ Icom แบบเดียวกับที่ถูกจุดชนวนในเหตุโจมตี
ไม่กี่วันต่อมา อิสราเอลได้ยกระดับความขัดแย้งให้รุนแรงขึ้นด้วยการใช้เครื่องรับส่งวิทยุติดตามตัวและอุปกรณ์สื่อสารที่ส่วนใหญ่เป็นของสมาชิกกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 42 ราย รวมถึงเด็ก 2 ราย และบาดเจ็บกว่า 3,500 ราย ถือเป็นการตัดการสื่อสารของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ที่พยายามหลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ติดตามได้จากสัญญาณดาวเทียม
ภาพอินโฟกราฟิกของ IDF แสดงให้เห็นผู้บัญชาการระดับสูงของกองกำลัง Radwan ของกลุ่ม Hezbollah ที่เสียชีวิตในการโจมตีที่กรุงเบรุตเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2024 (กองกำลังป้องกันอิสราเอล)
เมื่อวันที่ 20 กันยายน อิสราเอลได้ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศซึ่งสามารถสังหารผู้บัญชาการทหารสูงสุดหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ได้ และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 45 ราย
ชาวเลบานอนกำลังค้นหาทรัพย์สินของตนเองในอาคารที่เสียหายจากการโจมตีของอิสราเอลในทางตอนใต้ของเลบานอนเมื่อ 23 ก.ย. 2567
23 กันยายน 2567 อิสราเอลได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศอย่างรุนแรงต่อเลบานอน ภายใต้ 'Arrows of the North' operation การโจมตีดังกล่าวมีศูนย์กลางอยู่ที่ทางตอนใต้ของเลบานอน ซึ่งอิสราเอลอ้างว่าเป็น "ตำแหน่งของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ 1,600 ตำแหน่ง" ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สงครามในปี 2549
แม้ว่าอิสราเอลจะเตือนชาวเลบานอนทางตอนใต้หลายพันคนให้ออกจากพื้นที่ แต่ก็มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 558 ราย รวมถึงเด็ก 50 รายและผู้หญิง 94 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 1,835 ราย เป็นวันแห่งการนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์ของเลบานอน นับตั้งแต่กลุ่มฮิซบุลเลาะห์ทำสงครามกับอิสราเอลเมื่อปี 2549 เป็นต้นมา และนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองเมื่อปี 2533
กลุ่มฮิซบุลเลาะห์ยิงจรวดโจมตีพื้นที่อยู่อาศัยในคิรีอัต เชโมนา ของอิสราเอล เมื่อ 24 ก.ย. 2567
อิสราเอลอ้างว่าปฏิบัติการนี้มุ่งเป้าไปที่กลุ่มฮิซบุลเลาะห์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากจำนวนพลเรือนเสียชีวิตจำนวนมากและพื้นที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากอิสราเอล หลายคนเชื่อว่าอิสราเอลกำลังใช้ยุทธวิธีที่คล้ายคลึงกันกับที่ใช้ในฉนวนกาซา นั่นคือการโจมตีพื้นที่พลเรือนในเลบานอนตอนใต้เพื่อข่มขู่ฐานสนับสนุนพลเรือนของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์
มีการวิเคราะห์ว่า สาเหตุที่อิสราเอลต้องการรุกรานเลบานอนตอนใต้ อาจมีแนวคิดที่จะสร้าง "เขตกันชน" ขึ้นภายในดินแดนของเลบานอนเพื่อหยุดยั้งไม่ให้กลุ่มฮิซบุลเลาะห์กลับไปที่นั่น ซึ่งอิสราเอลจะต้องเข้ายึดครองเลบานอน และจะเกิดการตอบโต้อย่างรุนแรงจากกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ ซึ่งมีอำนาจมากกว่ากลุ่มฮามาสมาก
26 ก.ย. 2567 กองทัพอิสราเอลโจมตีทางอากาศทำลายโครงสร้างพื้นฐานบริเวณชายแดนเลบานอนกับซีเรียประมาณ 75 แห่ง ตามคำแถลงการณ์ของกองทัพระบุว่า การโจมตีดังกล่าวมีเป้าหมายที่ไปที่คลังเก็บอาวุธของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ ซึ่งนักรบชีอะห์ใช้ "เพื่อขนย้ายอาวุธจากดินแดนซีเรีย"
ประชาชนทั่วตะวันออกกลางต่างไว้อาลัยต่อการเสียชีวิตของผู้นำกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ภาพ: มาจิด อัสการิปูร์/วานา/รอยเตอร์
วันศุกร์ที่ 27 กันยายน การโจมตีทางอากาศของอิสราเอล ได้ทำลายอาคาร 6 หลังในเขตฮาเรตเฮรค ชานเมืองทางตอนใต้ของเบรุต ขณะที่ผู้นำกลุ่มฮิซบุลเลาะห์กำลังประชุมกันที่สำนักงานใหญ่ในเมืองดาฮีเยห์ ทางใต้ของกรุงเบรุต ในวันรุ่งขึ้นกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ในเลบานอนได้แถลงการณ์ยืนยันว่า ฮัสซัน นัสรัลเลาะห์ ผู้นำของพวกเขาถูกสังหารจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอล
กระทรวงสาธารณสุขของเลบานอนรายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 6 ราย และบาดเจ็บ 91 ราย จากการโจมตีดังกล่าว กองทัพอิสราเอลระบุว่า อาลี คาร์กี ผู้บัญชาการแนวรบด้านใต้ของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ และผู้บัญชาการคนอื่นๆ ก็เสียชีวิตด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดในเมืองหลวงของเลบานอนในรอบเกือบ 1 ปีของการสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮิซบุลเลาะห์
ชาวอิหร่านรับฟังคำปราศรัยของฮัสซัน นัสรัลเลาะห์ ผู้นำกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2023 ในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน (ภาพถ่ายโดย Majid Saeedi/Getty Images)
นัสรัลเลาะห์ เป็นผู้นำของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์มานานกว่า 30 ปี ได้รับการยกย่องจากผู้ติดตามชีอะห์ในเลบานอน และได้รับการเคารพนับถือจากผู้คนนับล้านทั่วโลกอาหรับและอิสลาม โดยได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ซัยยิด" ซึ่งเป็นคำยกย่องที่แสดงถึงสายเลือดของนักบวชชีอะห์ที่สืบเชื้อสายมาจากศาสดาโมฮัมหมัด ผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลาม
ภายใต้การนำของนัสรัลเลาะห์ ฮิซบุลเลาะห์ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำสงครามที่บั่นทอนกำลังทหารอิสราเอล ทำให้กองทัพอิสราเอลถอนกำลังทหารออกจากเลบานอนตอนใต้ในปี 2543 หลังจากยึดครองเลบานอนมาเป็นเวลา 18 ปี ฮาดี ลูกชายคนโตของนัสรัลเลาะห์ เสียชีวิตในปี 2540 ขณะต่อสู้กับกองกำลังอิสราเอล หลังจากที่อิสราเอลถอนทัพจากเลบานอนตอนใต้ในปี 2543 นัสรัลเลาะห์ก็กลายเป็นผู้นำที่มีชื่อเสียงทั้งในเลบานอนและทั่วโลกอาหรับ
ต่อมานัสรัลเลาะห์เริ่มนำฮิซบุลเลาะห์เข้าสู่การเมืองในการเลือกตั้งรัฐสภาปี 2548 ฮิซบุลเลาะห์ได้รับชัยชนะอย่างมากมายและเข้าร่วมคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก โดยครองที่นั่งได้ 2 ที่นั่ง และยิ่งมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นเมื่อในปี 2549 ฮิซบุลเลาะห์ได้ต่อสู้กับอิสราเอลจนต้องยุติความขัดแย้งในช่วงสงคราม 34 วัน นัสรัลเลาะห์ ก็ประกาศ "ชัยชนะอันศักดิ์สิทธิ์" เหนืออิสราเอล การสังหารนัสรัลเลาะห์ ได้สำเร็จในครั้งนี้จึงถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของอิสราเอล
อินโฟกราฟิกของ IDF ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2024 แสดงให้เห็นสายการบังคับบัญชาของฮิซบอลเลาะห์ (กองกำลังป้องกันอิสราเอล)
นัสรัลเลาะห์กลายเป็นรายชื่อล่าสุดที่เพิ่มเข้าไปในรายชื่อผู้นำทางการเมืองและผู้บังคับบัญชาในตะวันออกกลางที่ถูกอิสราเอลติดตามและสังหารในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางความรุนแรงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในภูมิภาคตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2563 ซึ่งรายชื่อบุคคลสำคัญของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์และฮามาสที่อ้างว่าถูกสังหารโดยอิสราเอล ได้แก่
Ibrahim Muhammad Qubaisi
- อิบราฮิม มูฮัมหมัด คูบาอิซี (Ibrahim Muhammad Qubaisi) การโจมตีทางอากาศในเขตชานเมืองทางตอนใต้ของเบรุตเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567ส่งผลให้คูบาอิซี กุบาอิซี ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “ฮัจญ์ อาบู มูซา” เป็นผู้นำหน่วยขีปนาวุธและจรวดหลายหน่วยของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ เสียชีวิต
ผู้บัญชาการทหารฮิซบอลเลาะห์ อิบราฮิม อากิล (ซ้าย) กับฮาเชม ซาฟีดดีน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฮิซบอลเลาะห์ (สำนักงานสื่อของฮิซบอลเลาะห์)
- อิบราฮิม อากิล (Ibrahim Aqil) ผู้บัญชาการปฏิบัติการของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งในหน่วยงานทหารระดับสูงของกลุ่ม ถูกสังหารโดยการโจมตีของอิสราเอลในเขตชานเมืองทางใต้ของเบรุต เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 อากิล เป็นสมาชิกของหน่วยงานทหารระดับสูงของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ ซึ่งก็คือสภาญิฮาด สหรัฐอเมริกากล่าวหาเขาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดร้ายแรง 2 ครั้งในเลบานอนที่คร่าชีวิตผู้คนไปหลายร้อยคน
นักสู้ที่สวมเครื่องหมายของกองกำลัง Radwan ของกลุ่ม Hezbollah ในระหว่างการฝึกซ้อมที่ทางตอนใต้ของเลบานอนในเดือนพฤษภาคม 2023เครดิต...วาเอล ฮัมเซห์/EPA, ผ่าน Shutterstock
- อาห์เหม็ด วาบี (Ahmed Wahbi) เขาถูกระบุว่าเป็นผู้บัญชาการระดับสูงที่กำกับดูแลการปฏิบัติการทางทหารของกองกำลังพิเศษ Radwan ในสงครามกาซาจนถึงต้นปี 2567 เขาถูกสังหารในการโจมตีของอิสราเอลที่กำหนดเป้าหมายผู้บัญชาการระดับสูงหลายคน เหตุการณ์เดียวกับ Ibrahim Aqil ในเขตชานเมืองเบรุตเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567
ฟูอัด ชุคร์ ผู้บัญชาการทหารอาวุโสที่สุดของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ ซึ่งเสียชีวิตในการโจมตีของอิสราเอลในกรุงเบรุตเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 (สำนักงานสื่อของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์)
- ฟูอัด ชุคร์ (Fuad Shukr) การโจมตีของอิสราเอลในเขตชานเมืองทางตอนใต้ของเมืองหลวงของเลบานอนเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ส่งผลให้ฟูอัด ชุคร์ ซึ่งกองทัพอิสราเอลระบุว่าเป็นมือขวาของนัสรัลเลาะห์ เสียชีวิต ชุคร์เป็นหนึ่งในผู้นำทางทหารของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ตั้งแต่ก่อตั้งโดยกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่านเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว สหรัฐอเมริกาได้คว่ำบาตรชุคร์ในปี 2558 และกล่าวหาว่าเขามีบทบาทสำคัญในเหตุระเบิดค่ายทหารนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ในกรุงเบรุตเมื่อปี 2526 ซึ่งทำให้ทหารเสียชีวิต 241 นาย
ผู้นำกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ มูฮัมหมัด นาอาเม นัสเซอร์ ซึ่งถูกสังหารเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ในเมืองอัลโฮช (สำนักงานสื่อของฮิซบุลเลาะห์)
- มูฮัมหมัด นัสเซอร์ (Muhammed Nasser) ผู้นำระดับสูงของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ ถูกสังหารในการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ในเมืองไทร์ ประเทศเลบานอน อิสราเอลอ้างว่าเป็นผู้ก่อเหตุ โดยระบุว่าเขาเป็นหัวหน้าหน่วยที่รับผิดชอบในการยิงจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของเลบานอนเข้าโจมตีอิสราเอล นัสเซอร์ ซึ่งรู้จักกันในชื่อฮัจญ์ อาบู นิมาห์ ยังมีรายงานว่าเป็นผู้รับผิดชอบส่วนหนึ่งของปฏิบัติการของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ที่ชายแดนติดกับอิสราเอลด้วย
สตรีผู้ไว้อาลัยขณะถือรูปของทาเลบ อับดุลลาห์ ผู้บัญชาการภาคสนามระดับสูงของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ ซึ่งถูกสังหารในเหตุการณ์ที่กองกำลังความมั่นคงระบุว่าเป็นการโจมตีของอิสราเอล สำนักข่าวเอเอฟพี
- ทาเลบ อับดุลลาห์ (Taleb Abdallah) ผู้บัญชาการภาคสนามระดับสูงของกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ถูกสังหารเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ในการโจมตีที่อิสราเอลอ้างว่าเป็นฝีมือของนายนาสเซอร์ การโจมตีทางอากาศของอิสราเอลในหมู่บ้านจูอัยยาทางตอนใต้ของเลบานอน
ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นผู้นำกองกำลังทหารของกลุ่มฮามาสที่รู้จักกันในชื่อกองพลอัลกัสซัม โมฮัมเหม็ด เดอิฟ อยู่ในสถานที่ที่ระบุว่าเป็นฉนวนกาซา (กองกำลังป้องกันอิสราเอล/เอกสารเผยแพร่โดย REUTERS)
- โมฮัมเหม็ด เดอิฟ (Mohammed Deif) เดอิฟ ถูกสังหารหลังจากเครื่องบินขับไล่โจมตีในพื้นที่คานยูนิสในฉนวนกาซาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2567 จากการประเมินข่าวกรองเชื่อกันว่า เดอิฟ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกองกำลังทหารของกลุ่มฮามาส กองพลคัสซัม ผู้วางแผนการโจมตีทางตอนใต้ของอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ก่อนสงครามฉนวนกาซา
อิสมาอิล ฮานีเยห์ ผู้นำทางการเมืองระดับสูงของกลุ่มฮามาส ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2024 ในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน [แฟ้มภาพ: Mustafa Hassona/Anadolu]
- อิสมาอิล ฮานิเยห์ (Ismail Haniyeh) ฮานิเยห์ ถูกลอบสังหารในช่วงเช้าของวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ในอิหร่าน ตามรายงานของกลุ่มฮามาส มีรายงานว่าเขาถูกสังหารโดยขีปนาวุธที่ยิงเข้าใส่เขาโดยตรงที่เกสต์เฮาส์ของรัฐที่เขาพักอยู่ในเตหะราน อิสราเอลไม่ได้อ้างว่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการโจมตีครั้งนี้
ซาเลห์ อัล-อารูรี วันที่ 12 ตุลาคม 2560 [อัมร์ อับดุลเลาะห์ ดาลช์/รอยเตอร์]
- ซาเลห์ อัล-อารูรี (Saleh al-Arouri) การโจมตีด้วยโดรนของอิสราเอลในเขตชานเมืองทางตอนใต้ของเบรุตในเขตดาฮีเยห์ ส่งผลให้ซาเลห์ อัล-อารูรี รองหัวหน้ากลุ่มฮามาส เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 นอกจากนี้ อารูรียังเป็นผู้ก่อตั้งกองกำลังทหารของกลุ่มฮามาสที่เรียกว่ากองพลคัสซัมอีกด้วย
พลจัตวาอิหร่าน โมฮัมหมัด เรซา ซาเฮดี [ข่าว FARS/AFP]
- พลจัตวาโมฮัมหมัด เรซา ซาเฮดี (Mohammad Reza Zahedi) ผู้บัญชาการอาวุโสในกองกำลังคุดส์ของกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม และโมฮัมหมัด ฮาดี ฮัจรีอะฮิมี รองของเขา ถูกสังหารในการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลในเดือนเมษายน 2567 ที่ทำลายสถานกงสุลอิหร่านในกรุงดามัสกัส
สิ้นผู้นำฮัสซัน นัสรัลเลาะห์ แต่กลุ่มฮิซบุลเลาะห์ และกองกำลังชีอะห์ ยังคงอยู่
หนึ่งวันหลังจากสงครามอิสราเอล-ฮามาสเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2566 กลุ่มฮิซบุลเลาะห์เริ่มโจมตีฐานทัพทหารอิสราเอลตามแนวชายแดน โดยเรียกว่าเป็น “แนวรบสำรอง” ของฉนวนกาซา
ฮัสซัน นัสรัลเลาะห์ ผู้นำของฮิซบุลเลาะห์ กล่าวว่าการโจมตีอิสราเอลจะยังดำเนินต่อไปจนกว่าการหยุดยิงในกาซาจะเกิดขึ้น
กลุ่มติดอาวุธฮิซบุลเลาะห์ทรงพลังกว่ากลุ่มฮามาสหลายเท่า ด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่าง เช่น มีอาวุธที่ดีกว่ามาก ได้รับการฝึกฝนมาดีกว่า พวกเขาต่อสู้มาเป็นเวลาหลายปีในซีเรียให้กับประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ดังนั้น นักรบกลุ่มฮิซบุลเลาะห์จึงมีประสบการณ์มากมาย
ฮิซบุลเลาะห์ เป็นองค์กรทหารชีอะห์เลบานอนและพรรคการเมืองที่ดำเนินงานในเลบานอนและซีเรีย การที่ฮิซบุลเลาะห์ได้รับความอุปถัมภ์จากอิหร่านนั้นไม่ใช่เรื่องลับ ฮัสซัน นัสรัลเลาะห์ เลขาธิการฮิซบอลเลาะห์ เคยเน้นย้ำถึงความใกล้ชิดกับอิหร่านมาก่อน โดยในสุนทรพจน์เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 เขากล่าวว่า “เงินทุน อาวุธ เงินเดือน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งหมดของกลุ่มมาจากอิหร่าน”
อิสราเอลยังเพิ่มการโจมตีเลบานอน และกำลังพยายามเชื่อมโยงอิหร่านเข้าสู่ “ กับดัก ” สงคราม ท่ามกลางความหวาดกลัวสงครามภูมิภาค ของชาวโลกที่กำลังจับตามองสงครามในครั้งนี้ อิหร่านยังคงสงวนท่าที จนถูกวิจารณ์ว่าอิหร่านมองว่ากลุ่มฮิซบุลเลาะห์เป็นเพียงเครื่องมือของรัฐบาลมากกว่าจะเป็นพันธมิตรที่แท้จริงที่อิหร่านต้องช่วยเหลือ
สิ่งสำคัญอันดับแรกของอิหร่านคือการหลีกเลี่ยงไม่ให้ความรุนแรงลุกลามกลายเป็นสงครามระดับภูมิภาค
โทมัส จูโน ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิภาคจากมหาวิทยาลัยออตตาวา กล่าว
มีนักวิชาการทั่วโลกออกมาวิเคราะห์ถึงท่าทีของอิหร่าน ที่ดูเหมือนเพิกเฉยต่อสถานการณ์ในเลบานอนและกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ อาจเป็นเพราะอิหร่านอ่อนแอลง หรือรอเวลา อย่างไรก็ตาม หากฮิซบุลเลาะห์สูญเสียทรัพยากรทางทหารเชิงยุทธศาสตร์หลักและความสามารถในการโจมตี แน่นอนว่า อิหร่านย่อมตกอยู่ในอันตราย
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวว่า การสังหารนัสรัลเลาะห์ นั้น เป็นการยุติธรรมแล้วสำหรับเหยื่อจำนวนมากของเขา ฮัสซัน นัสรัลเลาะห์และกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ ต้องรับผิดชอบต่อการสังหารชาวอเมริกันหลายร้อยคน
สหรัฐฯ สนับสนุนสิทธิของอิสราเอลในการป้องกันตนเองจากกลุ่มฮิซบุลเลาะห์ ฮามาส ฮูตี และกลุ่มก่อการร้ายอื่น ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน  กล่าว
กองทัพอากาศอิสราเอลโจมตีกรุงเบรุตครั้งใหญ่เมื่อวันศุกร์ ส่งผลให้อาคารอย่างน้อย 4 หลังพังทลาย [GETTY]
อิสราเอลประกาศจะเพิ่มแรงกดดันต่อกลุ่มฮิซบุลเลาะห์จนกว่าจะยุติการโจมตีที่ทำให้ชาวอิสราเอลหลายหมื่นคนซึ่งพลัดถิ่นฐานใกล้ชายแดนเลบานอนได้กลับบ้าน แต่ในทางกลับกันการกระทำของอิสราเอลก็ทำให้ชาวเลบานอนมากกว่า 200,000 คน ต้องพลัดถิ่นฐานในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (ตามข้อมูลของสหประชาชาติ)
ข้าพเจ้าไม่ได้ตั้งใจจะมาที่นี่ในปีนี้ ประเทศของข้าพเจ้ากำลังอยู่ในภาวะสงครามและกำลังต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด...แต่หลังจากที่ข้าพเจ้าได้ยินคำโกหกและคำใส่ร้ายที่ผู้พูดหลายคนพูดใส่ร้ายประเทศของข้าพเจ้า จึงตัดสินใจมาที่นี่เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อพูดแทนประชาชนของข้าพเจ้า
นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู กล่าวสุนทรพจน์ระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 79 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567
เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านกลาโหมของอิสราเอล 3 นายเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ The New York Times เมื่อวันเสาร์ว่า อิสราเอลทราบเกี่ยวกับที่อยู่ของนัสรัลเลาะห์ มาเป็นเวลาหลายเดือน ก่อนที่จะตัดสินใจโจมตีจนสังหารเขา โดยนายเนทันยาฮูอนุมัติการโจมตีดังกล่าวไม่นานก่อนที่เขาจะกล่าวปราศรัยต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในนิวยอร์ก ซึ่งจัดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนการโจมตี การตัดสินใจดังกล่าวได้รับการอนุมัติในหลักการโดยคณะรัฐมนตรีเมื่อเย็นวันพฤหัสบดี ด้วยการสนับสนุนจากนายโยอัฟ กัลลันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
โฆษณา