เมื่อกล่าวถึงเยอรมนี หลาย ๆ คนรู้กันว่า เป็นประเทศแห่งรถยนต์ และเมื่อสหภาพยุโรป (EU) ตัดสินใจยุติการจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป ก็พบว่า เกิดการต่อต้านในประเทศเพิ่มขึ้น โดยนาย Markus Söder ผู้ว่าการรัฐบาวาเรียสังกัดพรรคสหภาพสังคมนิยมคริสต์เตียนแห่งนครรัฐบาวาเรีย (CSU – Christlich-Soziale Union in Bayern) ได้ออกมาเรียกร้อง ภายหลังจากที่นาง Ursula von der Leyen สังกัดพรรคสหภาพคริสต์เตียนเพื่อประชาธิปไตยประเทศเยอรมนี (CDU – Christlich Demokratische Union Deutschlands)
พรรคพี่น้องได้ชนะการเลือกตั้งจนกลับเข้ามารับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการ EU อีกครั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า “การห้ามใช้เครื่องยนต์สันดาปจะต้องสิ้นสุดลง เราต้องเปิดกว้างด้านเทคโนโลยีมากขึ้นแทนที่จะมัวแต่ติดกับอุดมการณ์เพียงอย่างเดียว”
นาย Oliver Zipse ซึ่งเป็น CEO ของบริษัท BMW ได้ออกมากล่าวเพิ่มเติมกับหนังสือพิมพ์ “Bild” ว่า “สิ่งนี้ไม่ควรเกิดขึ้น
นโยบายการห้ามใช้เครื่องยนต์สันดาปของ EU กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงจริงหรือ?
ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง นาง von der Leyen ได้ประกาศว่า จะมีการพิจารณาเรื่องที่ EU จะยุติการใช้งานเครื่องยนต์สันดาปหรือไม่ อีกครั้ง โดยตามกฎหมายปัจจุบัน ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป EU จะอนุญาตให้จดทะเบียนรถยนต์ใหม่เฉพาะรถที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเท่านั้น ซึ่งภาคการขนส่งถือเป็นส่วนหลักที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint)
และแผนที่ว่า สหภาพยุโรปควรจะมีสภาพความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 มากที่สุด ซึ่งตามแนวปฏิบัติทางการเมืองของนาง von der Leyen สำหรับการดำรงตำแหน่งฯ ในวาระที่สอง นาง von der Leyen ได้ประกาศแล้วว่า แนวทางด้านเทคโนโลยีแบบเปิดกว้างเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (E-fuel) ก็ควรจะมีบทบาทเช่นกัน ซึ่ง E-fuel เหล่านี้สามารถผลิตได้จากการใช้พลังงานทดแทน และสามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์สันดาปโดยทั่วไปได้
แล้วจะมีการซื้อรถ EV ในเยอรมนีมากพอที่จะตอบสนองต่อข้อบังคับด้านค่าความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของ EU ได้หรือไม่?
ปัจจุบันยอดจำหน่ายรถ EV ในเยอรมนีถือว่า ซบเซามาก (แทนที่จะเพิ่มขึ้น) โดยมีสาเหตุหลายประการ ได้แก่ (1) ไม่มีโครงการสนับสนุนรถ EV (2) ทั้งโครงสร้างพื้นฐานเสาชาร์จก็ดำเนินไปได้อย่างล่าช้า และ (3) ราคาแบตเตอรี่ที่สูงเกินไป นอกจากนี้ยังมีข้อผิดพลาดเชิงกลยุทธ์ของผู้ผลิตรถยนต์ที่พึ่งพาโครงการสนับสนุนที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานานเกินไป
เหล่าซีอีโอต่างก็ออกมาเรียกร้องให้ภาคการเมืองสร้างกรอบการทำงานที่ชัดเจนออกมา เพื่อความมั่นคงในการตัดสินใจ หลายต่อหลายครั้ง ผู้ผลิตเช่น Volkswagen, BMW และ Mercedes ได้ลงทุนไปแล้วหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการเปลี่ยนแปลงการผลิตให้มีการรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่มากขึ้น อย่างไรก็ตามหลังจากยกเลิกโครงการสนับสนุนรถ EV ในเยอรมนีอย่างกะทันหันในช่วงปลายปี 2023 ความต้องการรถยนต์ EV ก็ลดลงอย่างกระทันหัน เงินลงทุนหลายพันล้านที่วางแผนว่าจะได้รับชดเชยด้วยธุรกิจรถ EV ก็ไม่เพียงพอตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
โดยสถานการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันสิ่งต่างๆ ดูแย่เป็นพิเศษสำหรับผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Volkswagen และ Renault หากความต้องการรถยนต์ EV ยังคงอ่อนแอต่อไปอย่างเช่นในปัจจุบัน ผู้ผลิตทั้ง 2 รายออกมาขู่ว่าจะฝ่าฝืนขีดจำกัดการระบุค่าการสร้าง CO2 เที่ยบจำนวนรถยนต์ที่ผลิต (EU Fleet-Wide Targets) ในสหภาพยุโรป โดย
ตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไปขีดจำกัดค่า CO2 ที่จะอนุญาตสำหรับรถยนต์ของผู้ผลิตรถยนต์ที่จดทะเบียนในยุโรปเทียบกับจำนวนยานพาหนะที่ผลิตขึ้นในปีนั้น ๆ จะลดลงเรื่อย ๆ (ยิ่งมีการผลิตรถ EV มากก็สามารถนำรถเหล่านี้มาหักค่า CO2 ได้มากขึ้นตาม) ผู้ผลิตรายใดที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายนี้อาจต้องเสียค่าปรับมูลค่าหลายพันล้าน ดังนั้นทั้งนาย Luca de Meo ผู้บริหารหลักของ Renault และนาย Oliver Blume ผู้บริหารหลักของ Volkswagen จึงมีความเห็นเชิงลบกับ ข้อจำกัดด้าน CO2 ของสหภาพยุโรป และการสิ้นสุดลงของเครื่องยนต์สันดาป