30 ก.ย. เวลา 09:53

ทำไม Boeing จึงนำการออกแบบปีกพับได้

(Folding Wingtips) มาใช้ ?
แม้ว่าจะยังไม่ได้ใช้งานเชิงพาณิชย์ (ซะที)
หลายสายการบินร้องเพลงรอแล้วรอเล่า
แต่เครื่องบิน Boeing 777X จะกลายเป็นเครื่องบินพาณิชย์ลำแรกในขนาดนี้ที่มีปลายปีกพับได้
หรือ Folding Wingtips
ปลายปีกถูกออกแบบให้พับได้เมื่ออยู่บนในระหว่างการขับเคลื่อน Taxing และจอด
โดยปลายปีกจะกางออกและล็อคเข้าที่ก่อนการขึ้นบินและเมื่ออยู่บนฟ้าปีกที่กว้างขึ้นทำให้เครื่องบินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในขณะที่กลไกการพับช่วยให้สามารถบังคับเครื่องบินให้เคลื่อนที่และปฏิบัติงานได้ดีที่สนามบิน
มาหาคำตอบกันครับว่าทำไม Boeing
จึงนำการออกแบบปีกพับได้มาใช้
และมันจะเป็นประโยชน์อย่างไร
**ข้อจำกัดด้านความกว้างปีก**
ความกว้างปีกของเครื่องบินเป็นตัวกำหนดว่าสามารถปฏิบัติการที่สนามบินใดได้บ้าง**
เพราะ“พื้นที่”ของแต่ละสนามบินมีความจำกัดของพื้นที่ไม่เท่ากันครับ
**ความกว้างปีกของ Boeing 777X (กางออก)** 235 ฟุต 5 นิ้ว (71.75 เมตร)
**ความกว้างปีกของ Boeing 777X (พับเข้า)** จะเหลือ212 ฟุต 9 นิ้ว (64.85 เมตร)
**รหัสเครื่องบิน ICAO E** 170.6 (52 ม.)
- 213.25 (65 ม.)
**ความกว้างปีกของ Airbus A380** 261 ฟุต 8 นิ้ว (79.75 ม.) - นั่นคือถือเป็นรหัส F
เมื่อเกิดแนวคิดสำหรับ Boeing 777 รุ่นใหม่ หนึ่งในสิ่งแรกที่ถูกนำมาพิจารณาคือต้องมีความสามารถในการบินไปยังสนามบินที่ 777 รุ่นเดิมสามารถทำได้
การรักษาความกว้างปีกของเครื่องบิน 777X ให้อยู่ในขีดจำกัดของความกว้างของปีกเดิมคือ“รหัส E” จึงเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะสนามบินพาณิชย์ส่วนใหญ่ทั่วโลกสามารถรองรับเครื่องบินที่มีมาตรฐานรหัส E (กล่าวคือ เครื่องบินที่มีความกว้างปีกสูงสุด 213 ฟุต) นี่เองครับจึงเป็นเหตุผลเมื่อเจ้าวาฬยักษ์ Airbus A380 ซึ่งเป็นรหัส F จึงเต็มไปด้วยข้อจำกัดเมื่อไปบินยังสนามบินต่างๆ
ถ้า 777X ยังคงเป็นรหัส E จากการที่ปีกพับได้จึงสร้างความคล่องตัว ในการบินไปสนามบินต่างๆได้เป็นอย่างดี
ยังมีเหตุผลอื่นๆและประโยชน์
ของเจ้า Folding Wingtips อีกนะครับ
เดี๋ยวมาเล่าให้ฟัง
กัปตันหมี
Cr SimpleFlying
📷 Boeing; SimpleFlying
โฆษณา