30 ก.ย. เวลา 10:45 • ธุรกิจ

สรุปโพสต์เดียวจบ ใครคือ “ยิบอินซอย” กลุ่มทุนหลัก ผู้ซื้อ Robinhood ต่อจาก SCBX

-ล่าสุดทาง บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาประกาศว่า ได้ขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด หรือ PPV ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood ให้กับกลุ่มทุนไทย
โดยมีมูลค่า 400 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขว่า อาจจ่ายส่วนเพิ่มตามผลประกอบการ ไม่เกิน 1,600 ล้าน
รายละเอียดกลุ่มผู้ลงทุนที่จะเข้าไปลงทุนใน PPV คือ
-กลุ่มยิบอินซอย ถือหุ้นในสัดส่วน 50%
-บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วน 30%
-บริษัท เอสซีที เรนทอล คาร์ จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วน 10%
-บริษัท ล็อกซบิท จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วน 10%
แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้ว กลุ่มยิบอินซอย เป็นใคร
ทำไมถึงกลายมาเป็นผู้นำในการลงทุนซื้อ Robinhood ในครั้งนี้
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
“ยิบอินซอย” ชื่อบริษัทนี้ หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคย
แต่จริง ๆ แล้ว ยิบอินซอย เป็นกลุ่มธุรกิจจากจีน ที่เข้ามาทำธุรกิจที่ประเทศไทยมาแล้วเกือบ 100 ปี
ยิบอินซอย เป็นกลุ่มธุรกิจ ที่เกิดจากตระกูลลายเลิศ ยิบอินซอย และ จูตระกูล มาร่วมหุ้นส่วนกัน
โดยเริ่มต้นก่อตั้งที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในปี 2469 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7 ของประเทศไทย
โดยกลุ่มยิบอินซอย เริ่มต้นธุรกิจด้วยการค้าแร่ และทำเหมืองแร่ ในภาคใต้ของประเทศไทย
จากนั้น ก็เริ่มหันมาทำธุรกิจนำเข้าปุ๋ย และเคมีการเกษตรจากประเทศเยอรมนี
ต่อมาก็เริ่มขยายธุรกิจ ด้วยการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
เป็นผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตรา 3M และยังมีธุรกิจด้านการเงิน ธนาคาร และหลักทรัพย์
ต่อม่าในปี 2481 บริษัทได้เปลี่ยนทิศทางธุรกิจ โดยนำเข้าผลิตภัณฑ์ระดับโลกเป็นเจ้าแรกของประเทศไทย
อย่าง น้ำมัน Texaco, รถบรรทุก Isuzu และผลิตภัณฑ์จาก 3M
พร้อมขยายธุรกิจไปยังประกันภัย และปุ๋ยเคมีคุณภาพสูงจากประเทศเยอรมนี
ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ตราใบไม้”
จนกระทั่งปี 2497 ยิบอินซอยก้าวเข้าสู่โลกเทคโนโลยี ในฐานะตัวแทนจำหน่ายเครื่องคิดเลขสำนักงาน
และเครื่องบวกเลขจักรกล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงสมัยนั้น
 
ต่อมาในปี 2516 ในตอนนั้นเป็นยุคที่เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์ระดับองค์กร
ทำให้ ยิบอินซอย เริ่มมีการนำเข้า และจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์เมนเฟรม
ให้กับหน่วยงานราชการ และบริษัทเอกชนขนาดใหญ่
อย่าง ธนาคารกสิกรไทย การไฟฟ้านครหลวง กระทรวงคลัง กองทัพอากาศ
ไปจนถึงสถาบันการศึกษา อย่าง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ NIDA
1
ปัจจุบัน ยิบอินซอย มีบริษัทในเครือทั้งหมด 9 บริษัท ใน 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่
1
1. ธุรกิจไอทีและดิจิทัลโซลูชัน
คือการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การขายส่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์, พัฒนาซอฟต์แวร์
และบริการด้านความปลอดภัยของข้อมูล​
1
2. ธุรกิจด้านวิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยีขั้นสูง
โดยให้บริการด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ เช่น ระบบ GFMIS
ซึ่งเป็นระบบการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐ ด้วย ระบบอิเล็กทรอนิกส์
3. ธุรกิจการค้าและการผลิต
โดยนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับอุตสาหกรรม
1
4. ธุรกิจประกันภัย
โดยให้บริการด้านการประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง
ที่น่าสนใจคือ นอกจากธุรกิจที่กล่าวมาแล้ว
ยิบอินซอย ยังได้ไปลงทุนในสตาร์ตอัปอย่าง Winnonie (วินโนหนี้)
ธุรกิจให้เช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้กับไรด์เดอร์ และ วินมอเตอร์ไซต์
โดยที่พันธมิตรหลักคือบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ผลประกอบการ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ในช่วงที่ผ่านมา
1
ปี 2563 รายได้ 4,885 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 5,012 ล้านบาท กำไร 166 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 5,107 ล้านบาท กำไร 12 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 5,963 ล้านบาท กำไร 129 ล้านบาท
นอกจาก กลุ่มยิบอินซอย แล้ว
ผู้ที่มาลงทุนใน Robinhood ก็ยังมีบริษัทอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก นั่นก็คือ
- บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ทำธุรกิจที่ปรึกษาทางด้านการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
โดย บรุ๊คเกอร์ กรุ๊ป ลงทุนใน Robinhood ในสัดส่วน 30%
- บริษัท เอสซีที เรนทอล คาร์ จำกัด
ทำธุรกิจให้บริการเช่ารถยนต์ส่วนบุคคล เช่น รถกระบะ รถตู้และรถขนาดเล็ก
โดย เอสซีที เรนทอล คาร์ ลงทุนใน Robinhood ในสัดส่วน 10%
- บริษัท ล็อกซบิท จำกัด (มหาชน)
หนึ่งในกลุ่มบริษัทคอมพิวเตอร์ ของ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
ทำธุรกิจขายส่งคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์การซ่อมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง
โดย ล็อกซบิท ลงทุนใน Robinhood ในสัดส่วน 10%
โฆษณา