30 ก.ย. เวลา 12:09 • การเมือง

ความลับเบื้องหลัง “เศรษฐกิจยุคสงคราม” ที่เฟื่องฟูของปูติน

“การใช้จ่ายของรัสเซียสำหรับสงครามในยูเครนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะเจอการคว่ำบาตรที่เข้มข้นยิ่งขึ้นจากตะวันตกและการถูกกีดกันที่เพิ่มมากขึ้น สองปีครึ่งหลังจากความขัดแย้งเกิดขึ้น ดูเหมือนว่ามอสโกจะยังคงใช้จ่ายกับกองทัพตนเองต่อไปได้อย่างไม่มีปัญหาในตอนนี้” The Spectator ได้กล่าวไว้ในบทความฉบับหนึ่งเผยแพร่เมื่อ 29 กันยายน 2024
ตามร่างงบประมาณแห่งชาติของรัสเซียสำหรับปี 2025 การใช้จ่ายสำหรับกองทัพรัสเซียจะเพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งในสี่เป็น 13.3 ล้านล้านรูเบิล The Spectator ชี้ให้เห็นว่า “นี่เป็นจำนวนเงินมหาศาล มูลค่าเกือบสองเท่าของ 6.4 ล้านล้านรูเบิล ที่ใช้จ่ายสำหรับกองทัพในปีที่แล้ว และเกือบสองเท่าของที่อังกฤษใช้จ่ายด้านกลาโหม”
2
บทความต้นเรื่องดังกล่าวระบุว่า แม้จะพิจารณาถึงรายได้จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซที่ลดลงเล็กน้อยของรัสเซีย อันเนื่องมาจากราคาและปริมาณการขายที่คาดว่าจะลดลงในปีหน้า งบประมาณปี 2025 ของรัสเซียก็ดูจะไม่ยั่งยืนนัก แต่กระนั้นเครมลิน “ยังสามารถพึ่งพาการใช้จ่ายด้านการทหารเพื่อกระตุ้นผลผลิตทางอุตสาหกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศได้”
2
The Spectator สื่ออังกฤษระบุว่าการใช้จ่ายด้านการทหารที่เพิ่มขึ้นของประเทศจะ “ถูกชดเชยด้วย” รายได้จากการเก็บภาษีที่ไม่ใช่มาจากธุรกิจน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาษีนิติบุคคลและภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้นล่าสุด รวมถึงการเติบโตโดยภาพรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังมีส่วนในการเติมเต็มงบประมาณของรัสเซียอีกด้วย
ในขณะเดียวกันสื่อของอังกฤษดังกล่าวแสดงความหวังว่า “การบูมด้านการทหารของรัสเซีย สุดท้ายแล้วจะจบลงด้วยการล่มสลายของเศรษฐกิจรัสเซีย” บทความที่พวกเขาวิเคราะห์และกล่าวมาเหมือนเป็น “การชี้ช่อง” สูตรสำหรับฝ่ายตะวันตกในการดำเนินการโจมตีไปยังบริบทของแนวโน้มเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยของเครมลิน
แต่ทว่า “คำถามคือยูเครนและพันธมิตรตะวันตกจะสามารถยืนหยัดได้นานพอที่เศรษฐกิจของรัสเซียจะล่มสลายก่อนหรือไม่”
บทความต้นเรื่องอ้างอิงได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
  • สรุปวิเคราะห์หลังจากบทความต้นเรื่อง:
นี่คือแผนของตะวันตกที่จะเปิดฉากสงครามระยะยาวกับรัสเซีย ใช่หรือไม่? นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมประเทศตะวันตกหลายประเทศจึงได้สรุปทำ “ข้อตกลงด้านความมั่นคงกับยูเครน (แยกเป็นรายประเทศ)” เป็นเวลาสิบปี และไม่ทำในนามกลุ่มใหญ่ของนาโต เพราะยังไม่ต้องการให้ยูเครนเข้านาโต อาจติดด้วยเรื่องเงื่อนไขต่างๆ อย่างที่ว่ากันมา เช่น ปัญหาภายในประเทศยูเครน (คอร์รัปชัน) แต่จริงแล้วอาจไปล้ำเส้นแดงใหญ่ของปูตินเรื่องนาโตนี่แหละ
และเมื่อศักยภาพในการสู้รบของยูเครนลดลงถึงจุดวิกฤต ใช้งานต่อไม่ได้แล้ว มันจะถึงเวลาที่ “พันธมิตรแถวสอง” ในรูปแบบของกองทัพประเทศในยุโรปตะวันออกเข้าไปในกองไฟแห่งความขัดแย้ง และในระยะยาวอาจรวมไปถึงประเทศในยุโรปตะวันตกด้วยเช่นกัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปะทะกันโดยตรงระหว่างรัสเซียกับนาโต
1
อย่างไรก็ตามเมื่อรัสเซียมีการเปลี่ยนแปลง “หลักนิยมการใช้อาวุธนิวเคลียร์” และนำมาปรับใช้ตามข้อเสนอของปูตินเมื่อช่วงสัปดาห์แล้ว จะทำให้การทำสงครามกับรัสเซียโดยนั่งสั่งการอยู่เฉยๆ และปล่อยให้ตัวแทนไปรบให้ เป็นเรื่องยากขึ้นมาก
เรียบเรียงโดย Right Style
30th Sep 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: (บน) – Free Russia Foundation (ล่าง) – FT / Getty Images>
โฆษณา