Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ดอกเบี้ยสีทอง
•
ติดตาม
30 ก.ย. เวลา 14:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ
แจกเงินหมื่นกลุ่มเปราะบาง สอดคล้องข้อมูลสศค. เผยเจาะจงช่วยคนจนมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจมากกว่า
จบไปแล้วกับการรับเงินหมื่นวันสุดท้าย จากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ ที่แปลงร่างจากดิจิตอลวอลเล็ต มาเป็นการแจกเงินสด 10,000 บาทให้กับกลุ่มเปราะบาง ตั้งแต่วันที่ 25กย ที่ผ่านมา
มีคอนเทนท์บน tiktok จำนวนมากได้สอบถามผู้ได้รับเงินว่าทำไปใช้จ่ายอะไรบ้าง คำตอบที่ได้มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ซื้อข้าวของเครื่องใช้ เอาจ่ายค่าไฟ เอาใช้หนี้ หรือแม้กระทั่งเอาซื้อหวย เนื่องจากแจกเป็นเงินสด จึงมีความคล่องตัวในการใช้จ่ายไม่จำกัดประเภท
แม้กระทั่งร้านสะดวกซื้อเจ้าดังก็ยังเปิดระบบสแกนจ่ายผ่านแอพธนาคาร ในช่วงเวลานี้พอดี้พอดี ให้ลูกค้าได้สะดวกสบาย สแกนกันฉ่ำๆ แบบคนเขาดูออกนะคะ ซึ่งภาพรวมการใช้จ่าย ว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน คงต้องรอหน่วยงานรัฐมาสรุปให้อีกที
แต่ในโพสนี้ แอดมีข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการบริโภคครัวเรือน ปี 2566 จาก สศค. โดยจะแบ่งเป็น 3 ส่วน
ส่วนแรก คือ รายได้ครัวเรือน โดยเมื่อนำรายได้ครัวเรือนมาจัดเรียง พบว่าครัวเรือนที่มีรายได้น้อย จะพึ่งพารายได้จากแหล่งอื่นหรือเงินช่วยเหลือและรายได้ไม่เป็นตัวเงินคิดเป็นสัดส่วนที่มากกว่าครัวเรือนที่รายได้สูงกว่า ส่วนครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่าหรือรวยกว่าก็จะสัดส่วนรายได้จากการทำงานและรายได้จากทรัพย์สินมากขึ้น ยิ่งรวยมาก สัดส่วนยิ่งมากขึ้นตามมา
ส่วนที่สอง คือ รายจ่าย พบว่า ครัวเรือนรายได้น้อยส่วนใหญ่ มีค่าใช้จ่ายเป็นสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มมากกว่าครัวเรือนรายได้สูง ขณะที่สัดส่วนการใช้จ่ายในหมวดพลังงานและการเดินทางค่อนค้างคล้ายคลึงกันในทุกระดับรายได้ แต่ครัวเรือนที่จนกว่าจะมีการใช้จ่ายด้านสุขภาพ สันทนาการ ชำระหนี้ การบริจาค เป็นสัดส่วนน้อยกว่า ครัวเรือนที่รวยกว่า
ส่วนที่สาม คือ ความโน้มเอียงในการบริโภคที่เพิ่มขึ้น (MPC) หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือ เมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 บาท จะมีผลทำให้รายจ่ายในการบริโภคเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเท่าใด
พบว่า MPC ของกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย มีค่าสูงกว่า MPC ของกลุ่มครัวเรือนรายได้สูง แสดงให้เห็นกว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มครัวเรือนที่จนกว่า จะถูกนำไปใช้จ่ายบริโภคส่วนเพิ่มมากกว่ากลุ่มครัวเรือนที่รวยกว่า ด้วยเหตุนี้เอง การดำเนินนโยบายการคลังที่เจาะจงการช่วยเหลือไปยังกลุ่มผู้มีรายได้น้อย จะมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่มากกว่า ซึ่งก็ตรงกับการดำเนินโครงการแจกเงินให้กับกลุ่มเปราะบาง ที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ในตอนนี้
ในส่วนของข้อสรุปว่า โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจนี้จะทำให้ GDP เพิ่มขึ้นได้มากแค่ไหน คงต้องรอไปสักระยะก่อน เพราะตอนนี้ความแน่นอนว่า ผู้มีสิทธิ์รับเงินดิจิตอลกลุ่มอื่นที่ลงทะเบียนไว้แล้ว จะยังได้รับหรือไม่ ได้เท่าไหร่ ได้กี่โมง ก็ยังไม่ได้คำยืนยันที่แน่นอนเลยตอนนี้ พายุหมุนทางเศรษฐกิจที่เคยโฆษณาไว้ จะแปลงสภาพ จบลงที่ตรงไหน มาลุ้นไปด้วยกันจ้า
ที่มา
ข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2566 สำนักงานเศรษฐกิจแห่งชาติ คำนวณและจัดทำโดย ดร.กวิน เอี่ยมตระกูล, นายศักดิ์สิทธิ์ สว่างศุข และนางสาวกุสุมา จารุมณี (infographic)
https://money.kapook.com/view284927.html
https://www.pptvhd36.com/wealth/monetary/233501
https://x.com/ordimantw/status/1094495018138488832?t=teL6-EJMHrN_NF5DcrkiPQ&s=19
2 บันทึก
7
3
2
7
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย