7 รูปแบบครีมกันแดด เพื่อสร้างทำแบรนด์ รับผลิตให้รวยปังไวเว่อร์

พรีมา แคร์ฯ โรงงานผลิตครีมได้มาตรฐาน ขอนำเสนอ 7 รูปแบบครีมกันแดด เพื่อสร้างแบรนด์ ให้รวยปังไวเว่อร์ โดยขอพูดถึงประเภทของเนื้อครีมกันแดดที่ทางเราเคยเจอกันมานะคะ เวลาจะผลิตหรือสร้างแบรนด์ครีมกันแดดก็จะได้มีข้อมูลไว้คุยกันค่ะ จะมีเนื้อแบบไหนอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ
หมายเหตุ อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนะคะ ในฐานะที่อยู่ในวงการนี้มานานกว่า 10 ปี มิได้มีเจตนา โจมตีหรือพาดพิงครีมกันแดดประเภทใดๆ เนื่องจากทุกรูปแบบของครีมกันแดด มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน ผู้เขียนแค่อยากให้ข้อมูลเพื่อศึกษาก่อน แล้วผู้ที่สนใจสร้างแบรนด์ครีมกันแดด ก็ไปคุยกับบริษัท หรือ แลป หรือ โรงงานผลิตครีมกันแดดกันอีกทีนะคะ
🌞 รูปแบบที่ 1 สร้างทำแบรนด์ครีมกันแดดเนื้อครีม
รูปแบบของครีมกันแดดประเภทนี้เป็นครีมกันแดดสีขาว หรือ ในปัจจุบันก็จะมีสีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ที่พบกันทั่วไปในท้องตลาดจะเป็นสีเนื้อ, สีชมพู, สีม่่วง และ สีเขียวอ่อนค่ะ ครีมกันแดดประเภทนี้เป็นรูปแบบที่หลายๆ คน นิยมเริ่มต้นในการติดต่อกับโรงงานรับผลิตสร้างทำแบรนด์ครีมกันแดดกัน เนื่องจากม
ข้อดีคือ สามารถปรับเนื้อให้ให้ข้นหนืด ให้บางเบา ให้มีความมันน้อยได้ง่าย ใส่สารอะไรต่างๆ ทั้งที่ละลายน้ำ และ ไม่ละลายน้ำก็ได้ เรียกได้ว่า ให้ปรับได้กันค่อนข้างง่าย ทำให้เนื้อบางเบาได้
ส่วนข้อเสียคือ ส่วนใหญ่ มักจะไม่ค่อยกันน้ำ ไหลย้อยมากับเหงื่อ หรือ น้ำได้ง่าย แต่ปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้ครีมกันแดดประเภทนี้ติดทนมากขึ้น แต่อาจจะต้องแลกกับความมัน เหนียวเหนอะที่เพิ่มขึ้นค่ะ
🌞 รูปแบบที่ 2 สร้างทำแบรนด์ครีมกันแดดเนื้อเจล
รูปแบบของครีมกันแดดประเภทนี้ ก็จะคล้ายๆ กับครีมกันแดดเนื้อครีม แต่ทำให้รู้สึกบางเบากว่า หลายๆ คนก็ชอบที่จะทำแบรนด์ครีมกันแดดเนื้อเจลกันเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมี
ข้อดีคือ เนื้อเจลจะรู้สึกบางเบา ทาแล้วไม่ค่อยจะมีความขาวเคลือบมากนัก
แต่มีข้อเสียคือ มักจะไม่ค่อยกันน้ำเช่นกัน และบางสูตรก็จะมีความมันมากขึ้น เนื่องจากมีการใช้เนื้อเจลที่สร้างขึ้นจากซิลิโคนค่ะ ครีมกันแดดรูปแบบเจลมันจึงไหลย้อยมากับเหงื่อ หรือ น้ำได้ง่ายเหมือนกับครีมกันแดดเนื้อครีม แต่ถ้าเป็นซิลิโคนก็จะติดทนนานมากขึ้นค่ะ
🌞 รูปแบบที่ 3 สร้างทำแบรนด์ ครีมกันแดดเนื้อโลชั่น
รูปแบบของครีมกันแดดประเภทนี้ ก็จะมีแตกต่างกันออกไป มีทั้งเป็นโลชั่นที่มีความเป็นครีมอยู่ ไปจนถึงเนื้อที่เป็นคล้ายๆ แป้งน้ำ ซึ่งมี
ข้อดีคือ เนื้อเหลว ทำให้รู้สึกว่าทาแล้วจะไม่ค่อยมัน (ส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนเป็นหน้ามัน จึงชอบครีมกันแดดรูปแบบนี้มาก แต่เป็นโลชั่นที่ไม่ถึงกับเป็นเนื้อแป้งน้ำ) นอกจากนี้ยังสามารถเติมสารช่วยดูดซึม/ช่วยเรื่องความมันบนใบหน้าได้ และยังได้ฟิลลิ่งของความรู้สึกบางเบาอยู่
แต่ข้อเสีย คือ เนื้อครีมตกตะกอน หรือ แยกชั้นกันได้ง่าย เพราะตัวกันแดดที่เป็น physical sunscreen ตกตะกอนค่ะ ดังนั้นเวลาจะทำครีมกันแดดประเภทนี้ ต้องเขย่าค่ะ ซึ่งจริงๆ การเขย่าด้วยแรงมืออาจจะไม่เพียงพอค่ะ ต้องใช้พวกลูกเหล็กเพิ่ม เพื่อเพิ่มแรงเขย่าให้การแตกตัวของสารกันแดดพวก physical sunscreen กระจายตัวเพียงพอเวลาจะใช้ค่ะ ข้อเสียสุดท้าย คือ เขย่าไม่ดี สารกันแดดพวก physical sunscreen จะกองอยู่บริเวณก้นๆ ของครีมค่ะ ทีนี้ใครที่แพ้ physical sunscreen เตรียมตัวเลยค่ะ หน้าคัน ผื่นขึ้น เนื่องจากอาการแพ้ค่ะ
🌞 รูปแบบที่ 4 สร้างทำแบรนด์ครีมกันแดดสเปรย์
รูปแบบของครีมกันแดดประเภทนี้ เป็นการนำเนื้อครีมกันแดดประเภทต่างๆ มาบรรจุในกระป๋องสเปรย์ซึ่งบรรจุสารผลักดันที่มีสถานะเป็นแก๊ส ซึ่งเมื่อกดหัวสเปรย์สารผลักดันจะทำหน้าที่ผลักดันแก๊สและครีมกันแดดออกมาให้เป็นละอองฝอยๆ บนหน้าหรือผิวค่ะ
ข้อดี คือ เป็นรูปแบบที่ดูดี ค่อนข้างทันสมัย ดูใช้งานง่าย ทำให้หลากหลายแบรนด์เลือกกที่จะผลิตออกมาค่ะ
แต่ข้อเสียก็เยอะพอสมควรค่ะ คือ ต้นทุนสูง เนื่องจากมีต้นทุนของเนื้อครีมกันแดดและค่าอัดกระป๋อง การเลือกหัวฉีดและรูปแบบของครีมกันแดดที่นำมาบรรจุ รวมถึงสารผลักดันเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะกระทบต่อลักษณะการพ่นละอองฝอยของครีมกันแดดออกมา ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ค่อยถูกใจกันนัก รวมถึงเวลาฉีดบนหน้า อาจจะรู้สึกแสบตาเนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมกันกระจายของละอองฝอยไม่ให้เข้าตาได้ ถึงแม้ว่าจะหลับตา
นอกจากนี้มีการพูดกันว่ากันแดดไม่ค่อยดีค่ะ อาจจะเพราะตามทฤษฏีแล้วการทาครีมกันแดดควรที่จะทาให้ครอบคลุมพื้นที่ผิวหน้าให้ทั่วถึงสม่ำเสมอกันค่ะ การฉีดพ่นเฉยๆ บนผิวหน้าอาจจะทำให้การกระจายตัวของครีมกันแดดไม่สม่ำเสมอ จึงอาจจะส่งผลให้เกิดข้อด้อยข้อนี้พูดขึ้นมากค่ะ
🌞 รูปแบบที่ 5 สร้างทำแบรนด์ครีมกันแดดผสมรองพื้น
เนื้อครีมกันแดดประเภทนี้ ก็ค่อนข้างฮิตกันมาก ที่เรียกกันโรงงานผลิต หรือ แลปผลิต รวมไปถึงลูกค้า เรียกกันว่า ครีมกันแดดใยไหม ครีมกันแดดแป้งโฟม ครีมกันแดดเนื้อมูส ครีมกันแดดเนื้อรองพื้น CC cram หรือ แม้แต่ concealer ก็เข้าข่ายเป็นเนื้อครีมกันแดดประเภทนี้เช่นกันค่ะ
ข้อดี ของครีมกันแดดประเภทนี้ เนื่องจากผสมเนื้อรองพื้นเข้าไปในครีมกันแดด ทำให้เกลี่ยง่าย ปกปิดริ้วรอย รอยด่างดำ ได้ค่อนข้างดี ประเภททาแล้วหน้าใสปิ๊งทันทีหลังทา เนื่องจากเหมือนทาเราทาแป้งไปด้วยในตัว ลดภาระการแต่งหน้าไปอีกขั้นตอนหนึ่ง กรณีที่ไม่ต้องการแต่งหน้าหนัก หรือกรณีแต่งหน้าหนัก ก็สามารถเติมแป้งเข้าไป
ซึ่งพบว่ามีผลดีทำให้แป้งติดหน้าทนขึ้นอีกค่ะ นอกจากนี้ยังค่อนข้างเกาะติดกับผิวได้ดีในระดับหนึ่ง จึงสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมกลางแจ้งที่มีเหงื่อออกในระดับเบาๆ ได้ (ถ้าเป็นพวกปั่นจักรยาน ตีกอล์ฟ เน้นทาบ่อยๆ จะดีกว่าหาครีมกันแดดที่ไม่ไหลตามเหงื่อค่ะ)
แต่ข้อเสีย คือ เหมือนทาแป้งค่ะ บางคนที่ไม่ค่อยชอบการแต่งหน้าหนักๆ ก็จะรู้สึกว่าหนักหน้า อีกทั้งครีมมีหลายเฉดสีในท้องตลาด ดังนั้นจึงต้องเลือกสีของครีมให้แมชต์กับสีผิว เพื่อลดปัญหาหน้าลอยค่ะ ข้อเสียอีกอย่างคือ อาจจะรู้สึกมันได้ระหว่างวัน แต่ปัจจุบันมีพัฒนาเนื้อออกมาหลากหลายเพื่อทำให้สูตรทาแล้วรู้สึกเหนอะหนะน้อยลงในระหว่างวันได้ค่ะ
🌞 รูปแบบที่ 6 สร้างทำแบรนด์ครีมกันแดดสติ้ก (Sun Stick)
กันแดดสติ้ก (Sun Stick) หรือกันแดดรูปแบบแท่ง คือกันแดดรูปแบบใหม่ที่กำลังมาแรง เป็นการนำผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดมาบรรจุในรูปแบบแท่ง ให้พกพาง่าย หยิบใช้สะดวก แค่หมุน และปาดลงบนผิว ไม่ต้องใช้มือสัมผัสครีมโดยตรง ไม่เลอะเทอะ
ข้อดีของครีมกันแดดสติ้ก คือ พกพาง่าย น้ำหนักเบา สามารถหยิบใช้ ทาทับระหว่างวันได้โดยไม่ต้องใช้มือ ทำให้ไม่เลอะเทอะ เนื้อบางเบา เหมือนไม่ได้ทา ไม่หนักหน้า ไม่ทิ้งคราบขาว บางแบรนด์กันน้ำได้ บางแบรนด์ทาทับเมคอัพได้ โดยไม่รบกวนเมคอัพ ซึ่งคุณสามารถพัฒนาสูตรกันแดดสติ้กได้ตามต้องการ เพียงทักมาปรึกษาเรา พรีมา แคร์ โรงงานรับผลิตกันแดดมาตรฐานสากล
ข้อเสียของกันแดดแบบสติ้ก คือ การใช้กันแดดสติ้กควรต้องทาซ้ำหลายรอบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดได้ตามที่ผลิตภัณฑ์ระบุในฉลาก จึงเหมาะแก่การใช้เติมซ้ำระหว่างวันมากกว่า
🌞 รูปแบบที่ 7 สร้างทำแบรนด์ครีมกันแดดเนื้อฟลูอิด
ครีมกันแดดเนื้อฟลูอิด เป็นหนึ่งในรูปแบบของครีมกันแดดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน แบรนด์ความงามหลายแบรนด์ได้แข่งกันพัฒนาสูตรให้เบาและสบายผิวผู้ใช้มากยิ่งขึ้น จึงทำให้เนื้อฟลูอิดได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ด้วยเนื้อสัมผัสที่บางเบาดุจน้ำ เกลี่ยง่าย และซึมเร็ว ทำให้ผิวรู้สึกสบาย ไม่เหนียวเหนอะหนะ เหมาะกับการใช้เป็นประจำทุกวัน
ข้อดีของครีมกันแดดเนื้อฟลูอิด:
เนื้อสัมผัสบางเบา: ไม่หนักผิว ไม่ทำให้รู้สึกอุดตัน ไม่เหนียวเหนอะหนะ(หนุ่มๆชอบมาก)
เกลี่ยง่าย: แห้งไว ซึมเข้าสู่ผิวได้เร็ว
ไม่ทิ้งคราบขาว: ทา 2 ข้อนิ้วได้ หน้าไม่เทา ไม่วอก ไม่ลอย เหมาะสำหรับทุกสีผิว
แต่งหน้าต่อได้ง่าย: ไม่ทำให้เครื่องสำอางเป็นคราบ ไม่รบกวนเมคอัพ
เหมาะกับผิวมัน ผิวผสม: ด้วยเนื้อบางเบา ไม่อุดตัน ช่วยควบคุมความมันได้ดี
ข้อเสียของครีมกันแดดเนื้อฟลูอิด: อาจไม่เหมาะกับผิวแห้งมาก เพราะความชุ่มชื้นอาจไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้จึงสามารถพัฒนาสูตรโดยใส่ส่วนผสมที่มีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้นเพิ่มได้ เช่น ไฮยาลูรอนนิค แอซิด หรือ เซราไมด์ เป็นต้น นอกจากนี้ครีมกันแดดเนื้อฟลูอิดมักจะไม่ค่อยกันน้ำ การทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ครีมกันแดดหลุดลอกได้ง่าย จำเป็นต้องทาซ้ำเป็นระยะๆ ซึ่งโดยปกติแล้วครีมกันแดดเราควรทาซ้ำทุกๆ 2-3 ชั่วโมงอยู่แล้ว
เป็นไงบ้างคะ กับเนื้อครีมกันแดด 7 ประเภทที่ผู้เขียนมารีวิว ข้อดีข้อเสียของเนื้อครีมแต่ละประเภทให้ค่ะ หวังว่าจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่ใช้เป็นส่วนในการตัดสินใจในการเลือกโรงงานผลิตเพื่อจะสร้างแบรนด์ครีมกันแดดให้รวยปังไวเว่อร์กันนะคะ หากไม่รู้จะหาโรงงานผลิตครีมยังไง ลองอ่านบทความนี้กันค่ะ 5 ช่องทางค้นหาโรงงานผลิตครีมที่ดีที่สุด หรือติดต่อสร้างแบรนด์กับเราได้ที่ช่องทางทุกช่องทางเลยนะคะ
โฆษณา