2 ต.ค. 2024 เวลา 08:46 • ข่าวรอบโลก

อิหร่านกำลังถูกบีบจนไม่มีทางเลือกคล้ายรัสเซีย

มีการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายต่างประเทศคนหนึ่งในบรัสเซลส์เกี่ยวกับ “สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง” หลังการลอบสังหารผู้นำฮิซบอลเลาะห์ เผยแพร่เป็นบทความใน Responsible Statecraft เมื่อ 30 กันยายน 2024 โดยมีการเตือนว่า “อิหร่านอาจถูกบีบบังคับให้เร่งพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตน และอาจเพิ่มการดึงรัสเซียเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นอีกด้วย”
เครดิตภาพ: Institute for National Strategic Studies - National Defense University
การโจมตีทางอากาศเข้าไปยังสำนักงานใหญ่ฮิซบอลเลาะห์ของอิสราเอลเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่ประธานาธิบดีอิหร่าน “มาซูด เปเซชเคียน” ได้ขึ้นกล่าวต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในนิวยอร์ก โดยให้คำมั่นว่าจะเริ่มฟื้นฟูความร่วมมือกับตะวันตกอีกครั้ง และทีมนโยบายต่างประเทศของเขาซึ่งรวมถึงผู้ที่ร่วมเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ในปี 2015 (จาวาด ซารีฟ / เซย์เยด อับบาส อาราฆชี / ทัคต์ ราวานชี) จะกลับมาเดินหน้าคุยกับทางฝั่งตะวันตกอีกครั้ง
ทว่าตอนนี้การเจรจาด้านนิวเคลียร์ดังกล่าวแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่ไม่ใช่เพราะอิหร่านจะต้องทำเพื่อ “ตอบโต้” แต่เพราะความย่อยยับของฮิซบอลเลาะห์จะบีบให้เตหะรานต้องเร่งหาแนวทางแก้ไขทางการทหารและการเมืองเสียก่อน เป็นการยกเครื่องใหม่?
ทีมเจรจาด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน 3 คน เครดิตภาพ: Siamak Ebrahimi via Tasnim News Agency
ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ภารกิจหลักของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์จากมุมมองของอิหร่านคือ เป็นเหมือน “ด่านหน้า” คอยยับยั้งการโจมตีใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นมาจากอิสราเอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน หากอิสราเอลสามารถทำให้ฮิซบอลเลาะห์อ่อนแอลงได้เพียงพอ พวกเขาก็จะมีโอกาสโจมตีอิหร่านได้ง่ายขึ้น
1
ตรงกับสิ่งที่ “จาเร็ด คุชเนอร์” ลูกเขยของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งถือว่ามีความใกล้ชิดกับ “เบนจามิน เนทันยาฮู” นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เสนอเมื่อไม่นานนี้ โดยเขาเน้นย้ำถึงเอลดาร์ มาเมดอฟ จากสถาบันควินซี เขาโต้แย้งว่า “หากอิสราเอลไม่ทำอะไรเลยในตอนนี้ ถือเป็นการไม่รับผิดชอบ”
จาเร็ด คุชเนอร์ (กลาง) ลูกเขยของทรัมป์ เครดิตภาพ: Kobi Gideon / Reuters
ไม่ว่าสหรัฐฯ จะสามารถมีอิทธิพลหรือร่วมมือกับอิสราเอลได้มากน้อยขนาดไหน เชื่อว่ายังไงอิหร่านก็ต้องเร่งปรับปรุงด้านโครงการนิวเคลียร์ของพวกเขา ความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านนั้นเป็นที่น่าจับตามองมากขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งก่อนที่อิสราเอลจะโจมตีเลบานอนครั้งล่าสุด
โดยเชื่อกันว่าชาวอิหร่านส่วนใหญ่สนับสนุนผู้นำเรื่องนี้ แต่หากอิหร่านจะเดินหน้าพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อย่างจริงจังต่อ เหมือนเป็นการฉีกข้อตกลง Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA) ที่ทำในปี 2015 ก็อาจส่งผลให้อิสราเอล และ/หรือ สหรัฐฯ ต้องมีแผนโจมตีโครงสร้างพื้นฐานนิวเคลียร์ของอิหร่าน
การกลับมาพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านยังส่งผลให้มีการกลับมาใช้มาตรการคว่ำบาตรอีกครั้ง ซึ่งเป็นกลไกที่บัญญัติไว้ในมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 2231 เรื่องพันธกรณีของ JCPOA กล่าวคือสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสามารถเดินหน้าคว่ำบาตรอิหร่านได้หากกลับผิดเงื่อนไขของ JCPOA โดยไม่ต้องพิจารณาสิทธิ์ยับยั้ง (วีโต) จากสมาชิกคณะความมั่นคงอื่นๆ
ถึงแม้สหรัฐฯ ตอนนี้ไม่ใช่ภาคีของ JCPOA อีกต่อไปแล้ว (ถอนตัวในสมัยทรัมป์เมื่อปี 2018) แต่อังกฤษและฝรั่งเศสยังเป็นภาคีอยู่ และทั้งสองประเทศยังสามารถเริ่มใช้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติมอีกครั้งได้ การกลับมาใช้มาตรการคว่ำบาตรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะทำลายแผนการใดๆ ที่ “เปเซชเคียน” มีไว้เพื่อติดต่อกับชาติตะวันตก นั่นคือขอยกเลิกการคว่ำบาตร เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของอิหร่าน
1
มาซูด เปเซชเคียน ประธานาธิบดีอิหร่านได้กล่าวแถลงเกี่ยวกับสถานะและแผนเกี่ยวกับ JCPOA เมื่อกันยายน 2024 เครดิตภาพ: IRNA
อิหร่านอาจขอให้รัสเซียจัดส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศเพื่อลดความเสี่ยงของตน โดยรัสเซียก็ต้องมีการชั่งใจคำนึงถึงสมดุลของผลประโยชน์ร่วมกับพันธมิตรอื่นในตะวันออกกลางอย่าง “ซาอุดิอาระเบีย” และ “สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” อย่างไรก็ตามที่เห็นกันอยู่คือการสนับสนุนทางเทคนิคระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน การได้รับอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านหลายรายการในรูปแบบสำเร็จรูปจาก “เกาหลีเหนือ” ซึ่งเตหะรานมีความสัมพันธ์ที่ยาวนานในทางเทคนิคและการทหารโดยเฉพาะ
บทความต้นเรื่องอ้างอิงได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
2nd Oct 2024
  • แหล่งอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: (บน) – Vahid Salemi / AP (ล่าง) - WION>
โฆษณา