2 ต.ค. เวลา 11:28 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ลองคำนวณรายจ่ายแล้ว คูณเงินเฟ้อแล้ว มัน 10 ล้านขึ้นจริงๆ ซึ่งถ้าเป็นพนักงานเงินเดือน ถึงจะประหยัดมากๆแล้ว 10 ปี อาจจะเก็บได้ 1 ล้าน มีเวลาทำงาน 30 ปี ก็ได้ 3 ล้านเท่านั้น ต่อให้เก็บ 8,333 ต่อเดือนในปันผลทบต้น 100% ปันผลสัก 7% ต่อปี พออายุ 60 ยังได้แค่ 7.6 ล้าน
7 ปีแรก ช่วงอายุ 23-30 ไม่ต้องนับหรอกเพราะเงินน้อยเก็บไม่ได้ หรือมีเงินก็เอาไปกินเที่ยวใช้ชีวิตวัย 20s กัน เอาไปสร้างสังคม
ทางเดียวที่จะรอดคือ ลงทุน ซึ่งมีความเสี่ยง และไม่ใช่ทุกคนจะสำเร็จ มีที่ทำได้ แต่ทำไม่ได้หมดตัวเป็นหนี้ก็มี
แต่มันคือหนทางเดียวอ่ะ สุดท้ายก็ต้อง ออม+ลงทุน
ทำให้คนรู้สึกเหนื่อย วิตกกังวล ซึมเศร้า
ยังคิดเลยว่าคนสมัยก่อน มีโอกาสจนได้ เพราะลงทุนในลูก มีลูกหลายคน และเลี้ยงตามกำลังที่ไหวเท่านั้นไม่ต้องพร้อมอะไร มนุษย์ก็โตขึ้นมาได้ ก็มีโอกาสที่ลูกสักคนหรือรวมเงินกันมาเลี้ยงเขายามแก่ เลยมีสิทธ์หาเช้ากินค่ำ ไม่ต้องรวยเผื่ออนาคต แต่ความเสี่ยงก็มีคือลูกไม่เลี้ยงหรือลูกเสียก่อน แต่ยังไงปลูกฝังเด็กให้กตัญญู ส่งเงินให้ตอนแก่ ก็ดูง่ายกว่าต้องดิ้นรนลงทุนเอง ยิ่งคนที่ไม่มีหัวในการลงทุนให้สำเร็จ
สังเกตจากเพื่อนที่พ่อแม่ไม่ดีเลย มีความรุนแรง ติดยา จน พอลูกโต เงินเดือนดี ก็ต้องมีภาระส่งเงินให้อยู่ดีเพราะติดบุญคุณที่เลี้ยงดูมาจนโต แม้จะเลี้ยงไม่ดีก็ตาม มันเป็นอะำรที่บังคับกลายๆ เพราะพ่อแม่ไม่มีเงินดูแลตัวเอง
แต่ยุคนี้มีวัฒนธรรมใหม่คือ ดูแลตัวเอง พึ่งพาตัวเองเท่านั้น ไม่ให้ลูกมีภาระ เกิดวงจรอุบาศแบกหน้าแบกหลัง ซึ่งทำให้คนเครียดเพราะไม่มีโอกาสจนเลย แม้แต่เก็บเงินได้หลายล้านแต่ไม่ถึง 10 ล้าน ก็คือไม่รอด ไหนจะค่ารักษาอีก ต่อให้ซื้อประกันก็มีวันที่จ่ายเบี้ยไม่ไหว ยิ่งตอนแก่ ค่าเบี้ยเป็นแสนต่อปี จึงเลือกไม่มีลูกกัน เลือกไม่มีแฟน ไม่มีเพื่อนด้วยซ้ำ เพราะเก็บเงินเพื่อเอาชีวิตรอด ยามแก่ยามป่วย
หลายคนฝัน คิดแบบเชิ่ดๆว่าพอแก่จะไปอยู่บ้านพักคนชรา แต่ความจริงก็คือ แค่ค่ากินอยู่+ค่ารักษา ตอนแก่เนี่ย ก็ไม่พอไปจ่ายค่าบ้านพักคนชราละ
คน Gen ใหม่เลยไม่ค่อยเอาใคร เน้นพึ่งตัวเอง ซึ่งเราก็คิดแบบวัฒนธรรมใหม่นั่นแหละ เลยเป็นวิตกกังวล
โฆษณา