Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ที่โปรด
•
ติดตาม
3 ต.ค. เวลา 03:07 • ประวัติศาสตร์
"ระฆังวัดพระแก้ว" มาจาก “วัดระฆัง” หรือมาจากไหน?
เราต่างรู้จักชื่อเสียงของวัดระฆังโฆษิตารามกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ซึ่งมีอนุสาวรีย์ของท่านใหญ่โตตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามท่าช้างในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี นอกจากเรื่องของสมเด็จโตแล้ว ก็ยังคงมีเรื่องของ “ระฆัง” อันเป็นที่มาของชื่อที่โด่งดังไม่แพ้กัน แต่ทั้งนี้ “ระฆัง” อันเป็นที่มาของชื่อวัดระฆังนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ได้อยู่ในวัดระฆังแล้ว โดยมีตำนานเล่ากันว่าระฆังนั้นได้ย้ายไปอยู่ในหอระฆังของวัดพระแก้วแทน
เรื่องราวของระฆังใบดังกล่าว เล่ากันว่าขุดพบเมื่อครั้งปฏิสังขรณ์วัดบางหว้าใหญ่ หรือวัดระฆังในสมัยรัชกาลที่ 1 แล้วพบกับระฆังนี้ฝังดินอยู่ เป็นระฆังที่มีเสียงใสกังวาน รัชกาลที่ 1 จึงขอแลกเอาระฆังจากวัดระฆังไปไว้ที่วัดพระแก้ว แล้วสร้างหอระฆังกับมอบระฆังให้วัดระฆังใหม่ถึง 5 ใบแทน แต่อย่างไรก็ดี เหมือนหลักฐานข้อเขียนที่สนับสนุนเรื่องเล่าดังกล่าวไม่ได้มีมากมายนัก กลับกันดันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าระฆังดังกล่าวเป็นของหล่อใหม่ในกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง
ส.พลายน้อย ได้ศึกษาถึงที่มาของระฆังดังกล่าว โดยระบุว่าทั้งในเพลงยาวของกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ และในข้อเขียนของนายมี (หมื่นพรหมสมพัตสร) ต่างระบุว่าระฆังดังกล่าวเป็นระฆังหล่อใหม่เมื่อราวสมัยรัชกาลที่ 2-3 โดยประมาณเท่านั้นเอง ไม่น่าจะเป็นระฆังที่เล่ากันว่ารัชกาลที่ 1 ทรงไปผาติกรรมมาจากวัดระฆังแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี ด้วยความที่ว่าระฆังวัดพระแก้วเป็นระฆังวัดในวัง ไม่ได้มีพระภิกษุจำพรรษาจึงไม่ได้มีการตีระฆังนั้นเป้นประจำ ระฆังดังกล่าวจะถูกตีเฉพาะเนื่องในโอกาสสำคัญ อย่างเช่นในการแต่งตั้งพระสังฆราชพระองค์ใหม่ เป็นต้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งจุดไฮไลท์สำคัญของวัดพระแก้วที่นักท่องเที่ยวชาวไทยควรไปดู แน่นอนว่าคงปีนไปดูระฆังไม่ได้ แต่ถึงอย่างนั้นในส่วนของหอระฆังซึ่งเป็นงานที่สร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็นับว่าสวยงามน่าชมเหมือนกัน
#ที่โปรด #กรุงเทพ #ประวัติศาสตร์ #วัดพระแก้ว
ประวัติศาสตร์
สถานที่ท่องเที่ยว
เรื่องเล่า
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย