3 ต.ค. 2024 เวลา 04:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

4 หลักการจัดการความเสี่ยง โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

หลายท่านคงเคยทราบถึงหลักการลงทุนให้ประสบความสำเร็จ ที่ดร.นิเวศน์ เคยกล่าวถึง อันประกอบด้วย
  • 1.
    ​เงินต้น
  • 2.
    ​เวลา
  • 3.
    ​ผลตอบแทน
ซึ่งการทำให้แก้ว 3 ประการนั้นถึงพร้อมนั้น จะช่วยให้การลงทุนของเราเริ่มต้นได้อย่างสวยงาม แต่หากท่านต้องการที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาวนั้น ดร.นิเวศน์ ได้กล่าวเพิ่มเติมในหนังสือ "วิถี แห่ง VI" ว่า การลงทุนในทรัพย์สินทุกชนิดและทุกตัวจะต้องคำนึงถึงผลตอบแทน และความเสี่ยงเสมอ โดยที่ความเสี่ยงจะต้องมาก่อนผลตอบแทน เพราะแม้เราจะทำผลตอบแทนได้ไม่มากนัก แต่ในระยะยาว หากเราไม่พลาดท่า ล้มหายตายไปจากตลาดเสียก่อน สุดท้ายทรัพย์สินของเราย่อมต้องมีมากขึ้นอย่างแน่นอน
โดยหลักการสำคัญที่ดร.นิเวศน์ แนะนำคือ
  • ​หลีกเลี่ยงสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงสูงเกินไป และ อย่าใช้เครื่องมือทางการเงินที่อาจเพิ่มความเสี่ยง
แม้สินทรัพย์บางตัวที่ความผันผวนสูง อาจให้ผลตอบแทนที่สูง แต่หากจับจังหวะผิดก็อาจทำให้ขาดทุนมหาศาลได้เช่นกัน จึงต้องให้ความสำคัญกับความเสี่ยงนี้มากกว่าผลตอบแทนที่จะได้รับ นอกจากนี้ยังต้องระวังการใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆที่บอกว่าเป็นการเพิ่มพลังผลตอบแทน แต่แท้จริงแล้วทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เช่น การใช้บล๊อกเทรด หรือ ใช้มาร์จิ้นในการซื้อหุ้น
  • ​สร้างสมดุลในการกระจายความเสี่ยง
ยิ่งกระจายมาก ความเสี่ยงก็จะลดลงมาก แต่การกระจายความเสี่ยงมากเกินไปก็อาจทำให้ผลตอบแทนที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าใดนัก ดังนั้น ดร.นิเวศน์จึงแนะนำให้ถือหุ้นแบบโฟกัส ซื้อหุ้นในพอร์ต 10-15 ตัว ในหลายๆ อุตสหกรรม โดยหุ้นใหญ่สุด 10 ตัว อาจให้น้ำหนักถึง 70%พอร์ต ซึ่งการถือหุ้นไม่มากจะช่วยให้เรามีเวลาศึกษาติดตามหุ้นที่เราถืออยู่ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
  • ​วิเคราะห์สินทรัพย์ที่ลงทุนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
การเลือกหุ้นลงทุนเป็นรายตัว ต้องประเมินความเข้มแข็ง และความได้เปรียบในระยะยาวของบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตในระยะยาวของผลกำไรตามมา และต้องระวังความเสี่ยงที่อาจทำให้ประเมินมูลค่าหุ้นผิดพลาด เช่นข้อมูลผลประกอบการระยะสั้นที่สูงขึ้นเพียงชั่วคราว หรือ story จากผู้บริหารที่อาจมีความลำเอียง เป็นต้น
  • ​เลี่ยงบริษัทที่มีปัญหาจริยธรรม
บริษัทใดที่มีปัญหาหลอกลวง ฉ้อโกงภายในบริษัท แม้ช่วงแรกราคาหุ้นอาจดูดี แต่เมื่อความจริงที่ซ่อนไว้ปรากฏออกมา หายนะต่อราคาหุ้นมักเกิดตามมาในที่สุด
โฆษณา