4 ต.ค. 2024 เวลา 05:06 • ธุรกิจ
1. จากพนักงานรายเดือน เปลี่ยนมาเป็นพนักงานรายชม. คือการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเลยนะคะ ซึ่งปกติแล้ว จะถือเป็นเรื่องใหญ่มากของนายจ้าง เพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกจ้างเสียก่อน จากนั้นนายจ้างจึงค่อยยกร่างข้อบังคับการทำงานที่แก้ไขแล้วนี้ ให้เจ้าพนักงานได้ตรวจลงตราประทับก่อนค่ะ
2. พนักงานรายเดือน จะต้องได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ส่วนที่เป็นเงินหักต่างๆ จะต้องระบุไว้อย่างชัดเจนใน "ข้อบังคับการทำงาน" ซึ่งส่วนตัวเราจะเรียกมันว่าธรรรมนูญในการปกครองลูกจ้างตามกฎหมายค่ะ
3. ไม่มีกฎหมายเรื่องการ "หักเงินเดือนค่าจ้าง" ดังนั้น นายจ้างจึงไม่สามารถหักเงินเดือนค่าจ้างลูกจ้างได้ มันผิดกฎหมายนะคะ แต่.....นายจ้างอาจอาศัยประมวลแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหลัก "No work no pay" คือหากไม่ทำงานก็จะไม่จ่ายเงิน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการหักเงินนะคะ ตรงนี้ต้องแยกแยะให้ดี ควรสอบถามเอากับนายจ้าง หรือ HR ให้ชัดเจนค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น เรากำหนดเงินเดือนให้ลูกจ้าง เรียกว่าลูกจ้างรายเดือน และเรากำหนดว่า ลูกจ้างรายเดือนจะมีเงินจูงใจพิเศษ ที่นอกเหนือจากเงินเดือนอีกเดือนละ 2,000 บาท หากมาสาย หรือกลับก่อนเวลางาน หรือหยุดงาน ไม่ว่าจะเป็นวันลาหรือไม่ก็ตาม จะถูกหักเงินส่วนนี้ ซึ่งตรงนี้เราสามารถทำได้ โดยใช้หลักการ "์No work no pay" ค่ะ จะสังเกตว่า เราไม่ได้ไปแตะต้องเงินเดือนลูกจ้างเลยนะคะ
กรณีตามกระทู้ที่คุณตั้งคำถาม เราไม่อาจให้ความเห็นคล้อยตามหรือโต้แย้งได้ เพราะข้อมูลไม่ละเอียดพอให้สรุปได้ค่ะ แนะนำให้สอบถาม HR นะคะ หรือถามเราในคอมเม้นท์ได้นะคะ แต่ข้อมูลต้องละเอียดกว่านี้ค่ะ
โฆษณา