7 ต.ค. 2024 เวลา 07:35 • ประวัติศาสตร์

ประวัติเมืองเขมราฐ ตอนที่๒

Cr.ฉบับในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระศีลวิสุทธาจารย์
ก่อนพระตาจะสิ้นใจ พระตาได้กล่าวกับแม่ทัพนายกองและลูกหลานไพร่พลของตนเพื่อเป็นคติเตือนใจ ในวันข้างหน้าว่า ไม้ลำเดียวล้อมฮั้วบ่ไขว้ ไพร่บ่พร้อมแปงบ้านบ่เฮือง ไผ ผู้เป็นคนกล้า ครองเมืองจั่งฮุง คันแม่นขุนขี้ย่าน ครองบ้านก็บ่เฮือง อย่าเห็นแก่เงินแสนไถ่ ให้ห็ยแก่ไพร่คนแสนเมือง ได้ขึ้นเฮือนแล้วอย่าลืมแพบ้องไม้ไผ่ ได้เป็นใหญ่แล้วอย่าลืมข้าผู้พลอย คันได้กินพาเงินคำ อย่าลืมเบียนกระฮ้าง คันได้ขี่ช้างกั้งฮมเป็นพญาอย่าสิลืมชาวนาผู้ขี่ควายเกาฮิ้น
เมื่อสิ้นบุญพระตาแล้ว พระวอและลูกหลานอันประกอบด้วย ท้าวหน้าท้าวคำผง ท้าวทิศพรหม(บุตรพระตา) และท้าวก่ำ (บุตรพระวอ) ได้พาไพร่พลหลหลบหนีแหวกวงล้อมของข้าศึกอพยพลงมาทางใต้ไปพึ่งบารมีเจ้าองค์หลวง (ไขยกุมาร) แห่งนครจำปาศักดิ์ เจ้าองค์หลวงก็อนุญาตให้อยู่ที่ตำบลเวียงดอนกอง หรือบ้านดู่ บ้านแก แขวงเมืองนคร จำปาศักดิ์
พ.ศ.๒๓๑๔ (จ.ศ.๑๑๓๓ ปีเถาะ ตรีศก) พระเจ้าสิริบุญสาร ได้ทรงทราบข่าวพระวอได้พาครอบครัวไพร่พลมาตั้งอยู่ที่บ้านเวียงดอนกอง แขวงเมืองจำปาศักดิ์ จึงไห้อัครฮาดคุมกำลังพลมาปราบพระวออีก แต่องค์เจ้าหลวงทราบเหตุ จึงให้พญาพลเชียงสา ยกกำลังพลจำปาศักดิ์ไปต้านทานไว้ และพร้อมกันนั้นก็มี ศุภอักษรไปถึง พระสิริบุญสารเพื่อขอให้พระราชทานอภัยโทษพระวอ พระสิริบุญสารทรงยกโทษให้และสั่งให้อัครฮาดถอนทัพกลับเวียงจันทร์
ปลายปีพ.ศ.๒๓๑๔ เจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) ดำริจะสร้างเมืองใหม่ ที่ตำบลศรีสุมัง ห่างจากที่ตั้งเมืองเดิมประมาณ ๒๐๐ เส้น พระวอเป็นผู้รับอาสาสร้างกำแพงเมืองถวาย ส่วนพระมหาโนสาราช และพระศรีอัครฮาดเมืองโขงรับอาสาจะเป็นผู้สร้างหอคำถวาย
การดำเนินการสร้างเมืองใหม่สำเร็จเรียบร้อยใน ปี พ.ศ. ๒๓๑๕ (จ.ศ. ๑๒๓๔ ปีมะโรง จัตวาศก) เจ้าองค์หลวงเสด็จไปประทับเมืองใหม่และมีการจัดงานมหกรรมสมโภชตามประเพณี อยู่มาวันหนึ่ง พระวอทูลถามเจ้าองค์หลวงว่าการสร้างกำแพงเมืองถวายกับการสร้างหอคำถวายนั้นสิ่งใดประเสริฐกว่ากัน เจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) ตรัสตอบว่ากำแพงนั้นก็ดีด้วยเป็นที่กำบังสำหรับป้องกันข้าศึกศึกศัตรู ซึ่งจะมาทำร้าย แต่หอคำนั้นจะดึกว่าสักหน่อ ด้วยได้เป็นที่ได้อาศัย นั่ง นอน มีความสุขสำราญมาก
เมื่อพระวอ ได้ฟังเจ้าองค์หลวง(ไขยกุมาร) ตรัสตอบเช่นนั้น ก็รู้สึกน้อยใจและเสียใจมากจึงพาไพร่พลอพยพมาอยู่ที่ดอนมดแดง (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี) ซึ่งเป็นชัยภูมิที่ดีลักษณะเป็นเกาะกลางลำน้ำมูล คำว่าดอนมีความหมาย ๒ อย่างคือ (๑) ป่าเช่น มีดอน เจ้าปูตา (๒) เกาะแก่งที่อยู่กลางแม่น้ำ เช่น ดอนมดแดง ดอนถ่ม ดอนด่าน (อำเภอโขงเจียมที่ปากมูล) ดอนสา เกาะกลางลำน้ำโขง (เขตอำเภอเขมราฐ)
หลังจากพาไพร่พลมาตั้งอยู่ดอนมดแดงแล้วพระวอ ได้สั่งเครื่องราชบรรณาการ ไปยังนครราชสีมา เพื่อขอเป็นข้าขอบชัณฑสีมาของราชอาณาจักรสยาม ตรงต่อรัชสมัย พระเจ้ากรุงธนบุรี
พ.ศ.๒๓๑๙(จ.ศ. ๑๑๓๘ ปีจอ อัฐศก) เมื่อพระเจ้าสิริบุญสารทรงทราบข่าวว่า พระวอ ตีจากร่มบารมีของพระเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) มาอยู่ที่ดอนมดแดงแล้ว จึงสั่งให้พระยาสุโพ คุมกำลังทัพมาตีพระวออีกครั้งหนึ่ง พระวอได้ต่อสู้กับข้าศึกอย่างกล้าหาญแล้วถอยทัพไปตั้งมั่นอยู่เวียงดอนกอง (บ้านดู่ บ้านแก)แต่งคนไปขอกำลังกองทัพเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) แห่งนครจำปาศักดิ์มาช่วยอีก
แต่เนื่องจากพระเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร)ขัดใจกับพระวอมาแต่ครั้ง พ.ศ. ๒๓๑๕ แล้วจึงไม่ยอมให้ความช่วยเหลือแก่พระวอ กองทัพพระยาสุโพจึงเข้าล้อมเวียงตอนกองไว้ และสามารถเอาชนะกองกำลัง พระวอได้ในที่สุด พระวอถูกจับได้และถูกประหารชีวิตที่ดอนกองนั่นเอง
ส่วนท้าวก่ำ (บุตรพระวอ) และท้าวหน้า ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหม (บุตรพระตา) ได้นำทัพตีฝ่าวงล้อมของพระยาสุโพ ไปรวบรวมไพร่พลอยู่ระยะหนึ่งแล้ว มีหนังสือไปยังนครราชสีมาเพื่อจะได้นำความกราบบังคม
โฆษณา