Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Travel to together
•
ติดตาม
7 ต.ค. เวลา 12:05 • ท่องเที่ยว
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
#วัดพระแก้ว #การท่องเที่ยว
สวัสดีครับ เพื่อน ๆ ทุกคน วันนี้เราจะมาแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพ เที่ยวได้อย่างไม่มีตกยุค
สถานที่แนะนำคือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือคนชอบเรียกสั้น ๆ ว่า วัดพระแก้วเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกตที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หรือ รัชกาลที่ 1 อันเชิญพระแก้วมรตกมาจากอาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาวในปัจจุบัน
สถานที่แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สักการะบูชา และเป็นห้องพระของพระมหากษัตริย์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในยามบ้านเมืองมีภัย
สร้างขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช 2325 โดยนำต้นแบบจากพระราชวังที่สมัยอยุธยา (วัดพระศรีสรรเพชญ์) มีการจดบันทึกจากพงษาวดารมีการนำอิฐจากอยุธยามาสร้างเป็นกำแพงเมือง จนทำให้โบราณที่อยุธยาเกิดเป็นเมืองร้าง หลังจากเสียกรุงศรีครั้งที่2 เมื่อปี 2310
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่ท้องสนามหลวงติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและยังสามารถนั่งเรือข้ามฝั่งไปยัง ตลาดวังหลังได้ ที่ท่าช้าง และท่ามหาราช ค่าโดยสาร 4.50 บาท ต่อคน สถานที่แห่งนี้ถือว่าเป็น จุดLandmark ของประเทศไทย ซึ่งเป็นเมืองหลวง เราจึงแนะนำให้เพื่อนๆ ไปเที่ยวสักครั้งหนึ่ง แถมยังมีของกินอร่อย ๆ อีกด้วย
จุดHighlight
ประดิษฐานพระแก้วมรกต ซึ่งมีการแต่งตัวทรงเครื่องตามฤดูกันไป มีทั้งหมด 3 ฤดู ตามภูมิอากาศของประเทศไทย มี หน้าร้อน หน้าฝน และหน้าหนาว บุคคลที่สามารถเปลี่ยนได้มีเพียงบุคคลเดียวเท่านั้น ก็คือพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นดังเทพที่จุติลงมาปกครอง ตามความเชื่อโบราณราชประเพณี
วัดพระแก้วเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองกับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน เป็นแหล่งศึกษาให้กับบุคคลรุ่นหลังและชาวต่างชาติได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นพระราชวังที่สวยงามมาก ๆ แนะนำไปตามหลัง 4 โมงเย็น จะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะมาก ๆ เพราะไม่ร้อนเกินไปแถมคนน้อยอีกด้วย ถ้าอยากจะเสพบรรยากาศ แนะนำเดินทางโดยเรือ มาลงที่ท่าช้าง ส่วนฝั่งตรงข้ามเป็นฝั่งธน มีวัดอรุณ หรือวัดแจ้ง บรรยากาศสวยงามตามค่ำคืน นี้หล่ะ Amazing Thailand 🇹🇭 ❤️
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย