9 ต.ค. เวลา 12:27 • ประวัติศาสตร์

การขาย “อลาสก้า (Alaska)” เมื่อ 157 ปีก่อน หรือว่ารัสเซียจะเดินซ้ำรอยเดิม?

รัสเซีย เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องที่ดิน เขตแดนของตนเองเป็นอย่างมาก
2
เริ่มจากราชรัฐที่กว้างใหญ่ในยุโรปตะวันออก ก่อนจะเคลื่อนไปทางตะวันออกในยุคราชวงศ์หมิงของจีน และถึงแม้จะมีกำลังพลไม่มากนัก หากแต่รัสเซียก็มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่พร้อมสรรพ ดังนั้นรัสเซียจึงสามารถยึดไซบีเรียได้อย่างไม่ยากเย็น
3
ต่อมา เมื่อกองทัพราชวงศ์ชิงได้บุกเข้ามาในปีค.ศ.1644 (พ.ศ.2187) รัสเซียก็ครอบครองไซบีเรียทั้งหมดไว้ได้แล้ว ซึ่งต่อมา “จักรพรรดิคังซี (Kangxi Emperor)” จักรพรรดิองค์ที่สามแห่งราชวงศ์ชิง ได้ทรงส่งกองทัพขึ้นเหนือไปต่อสู้กับกองทัพรัสเซีย ก่อนจะรวบรวมแผ่นดินทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นปึกแผ่น
1
จักรพรรดิคังซี (Kangxi Emperor)
ส่วนในอีกด้านหนึ่ง กองทัพรัสเซียก็ได้ข้ามช่องแคบเบริง บุกเข้ามายึดครองอลาสก้าในอเมริกาเหนือ
1
ค.ศ.1799 (พ.ศ.2342) รัสเซียได้ก่อตั้ง “บริษัทรัสเซีย-อเมริกัน (Russian-American Company)“ และก่อตั้งอาณานิคมในอลาสก้า
3
ในช่วงที่รุ่งเรืองสุดขีด รัสเซียมีดินแดนที่กว้างใหญ่กว่า 20 ล้านตารางกิโลเมตร ครอบคลุมทั้งยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ
2
ธงบริษัทรัสเซีย-อเมริกัน (Russian-American Company)
แล้วทำไมรัสเซีย ซึ่งให้ความสำคัญกับดินแดนมากขนาดนี้จึงยอมขายอลาสก้าให้สหรัฐอเมริกาไปด้วยเงิน 7.2 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 240 ล้านบาท แต่หากคิดตามค่าเงินปัจจุบัน จะอยู่ที่ประมาณ 5,100 ล้านบาท) ในปีค.ศ.1867 (พ.ศ.2410)
1
เหตุผลแรกก็คือ รัสเซียต้องประสบกับความพ่ายแพ้ทางด้านตะวันตก
ก่อนหน้านั้น ฝรั่งเศสคือชาติที่ทรงอำนาจในทวีปยุโรป และสหราชอาณาจักรก็ได้จับมือกับชาติอื่นๆ ร่วมกันถล่มฝรั่งเศส
1
แต่ในเวลานั้นเอง รัสเซียก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจในยุโรป
2
เมื่อการณ์กลายเป็นเช่นนี้ สหราชอาณาจักรจึงเบนเป้าหมายจากฝรั่งเศส เปลี่ยนเป็นหยุดยั้งอำนาจของรัสเซีย โดยทำการจัดแนวป้องกันและปิดล้อมจากทุกด้านในยุโรป
3
“สงครามไครเมีย (Crimean War)” จึงได้เกิดขึ้น โดยดำเนินไปตั้งแต่ค.ศ.1853-1856 (พ.ศ.2396-2399) โดยสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้ไปเข้ากับจักรวรรดิอ็อตโตมัน ทำการสู้รบกับรัสเซีย
1
ปรากฎว่ารัสเซียพ่ายแพ้และต้องสูญเสียกำลังพลกว่า 500,000 นาย และตามมาด้วยผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
3
สงครามไครเมีย (Crimean War)
สถานะของรัสเซียในเวทีโลกก็ไม่ได้ยิ่งใหญ่เช่นเดิม สถานการณ์ภายในรัสเซียก็วุ่นวาย ดังนั้นการตัดดินแดนที่ไม่จำเป็นทิ้งจึงอาจจะเป็นทางเลือกที่ดี
เหตุผลต่อมาก็คือ อลาสก้าในเวลานั้นไม่ได้เป็นดินแดนที่ดูจะมีอนาคตอะไรเลย
กว่าจะมีการค้นพบว่าอลาสก้าเป็นแหล่งเหมืองแร่ชั้นดีก็คือในเวลาต่อมา ในเวลานั้น คนที่ไปอลาสก้าและไซบีเรียก็เพียงเพื่อล่าสัตว์และเอาขนสัตว์
1
อลาสก้ายังเป็นดินแดนห่างไกล อากาศหนาวเย็น การจะทำเงินจากดินแดนนี้จึงยากลำบาก อีกทั้งเมื่อมีการล่าสัตว์อย่างต่อเนื่อง จำนวนสัตว์ก็น้อยลง การเกษตรยิ่งไม่ต้องพูดถึง ดังนั้นดินแดนอลาสก้าในเวลานั้นจึงไม่ได้มีค่าอะไรเลย กลับยิ่งเป็นภาระให้ต้องส่งคนมาดูแล จัดงบประมาณไว้ให้อีก และก็แทบไม่มีใครอยากจะไปอยู่แล้ว
4
อลาสก้าในสมัยศตวรรษที่ 19
เหตุผลสุดท้ายก็คือ รัสเซียหวาดเกรงว่าสหราชอาณาจักรจะเข้ามารุกรานรัสเซีย
หลังจากสงครามไครเมีย สหราชอาณาจักรและรัสเซียก็กลายเป็นศัตรูคู่แค้น และรัสเซียก็หวั่นเกรงว่าสหราชอาณาจักรจะอาศัยช่วงเวลาที่รัสเซียอ่อนแอ บุกเข้ามารุกราน ซึ่งสหราชอาณาจักรในเวลานั้นก็รุกคืบไม่หยุด
ในแถบอเมริกาเหนือ สหราชอาณาจักรก็ได้ยึดครองแคนาดา ซึ่งมีชายแดนร่วมกับรัสเซีย นี่ยิ่งทำให้รัสเซียกังวล
1
หากว่าสหราชอาณาจักรเข้ารุกรานอลาสก้า ซึ่งอยู่ห่างออกไปนับหมื่นกิโลเมตร ชาวรัสเซียเพียงไม่กี่รายที่อาศัยอยู่ในอลาสก้าจะไม่มีทางต้านทานอะไรกองกำลังสหราชอาณาจักรได้เลย
รัสเซียก็เพิ่งจะพ่ายแพ้สงครามมา เงินทองแทบไม่เหลือ และอลาสก้าก็ไม่ใช่ดินแดนที่จะทำเงินได้ ไม่มีใครอยากไป
ดังนั้นการขายอลาสก้าน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี
ซึ่งอย่างที่หลายๆ คนรู้ ภายหลังจากที่สหรัฐอเมริกาซึ้ออลาสก้าไป ก็ปรากฎว่าอลาสก้านั้นเป็นแหล่งทำเงินมหาศาล และหลายคนก็ว่ารัสเซียว่าโง่ที่ขายขุมทองไปด้วยเงินเพียงน้อยนิด
1
แต่หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ในเวลานั้น การขายอลาสก้านับว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับรัสเซีย ซึ่งรัสเซียเองก็อยากขายอลาสก้ามากซะจนถึงขนาดจ่ายเงินให้สื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้องเป็นเงินกว่า 100,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 3.3 ล้านบาท แต่หากคิดตามค่าเงินปัจจุบัน จะอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านบาท) เพื่อให้ช่วยผลักดันให้การซื้อขายนี้เกิดขึ้นจริง
6
หลังจากขายอลาสก้า รัสเซียก็หันไปมุ่งกับการครอบครองดินแดนและทรัพยากรในแถบยูเรเชีย และการขายนี้ก็สร้างผลประโยขน์ทางอ้อมให้รัสเซีย นั่นคือช่วยเป็นกันชนต้านแรงกดดันจากสหราชอาณาจักรและแคนาดา และนี่ยังเป็นเหมือนการแยกแคนาดาออกจากตะวันออกไกล หากสหราชอาณาจักรซึ่งครอบครองแคนาดาจะเข้ารุกรานอลาสก้า ก็จะต้องเจอแรงต้านจากสหรัฐอเมริกา
2
เรียกได้ว่ารัสเซียมีแต่ได้กับได้ ดังนั้นหากจะบอกว่ารัสเซียโง่ที่ขายอลาสก้า หากพิจารณาจากสถานการณ์ในตอนนั้น ก็อาจจะพูดได้ไม่เต็มปาก
3
คำถามสำคัญก็คือ “หากเงื่อนไขตามด้านล่างซึ่งเคยเกิดขึ้นมาก่อนได้เกิดขึ้นมาอีกครั้ง รัสเซียจะซ้ำรอยประวัติศาสตร์เดิมหรือไม่?”
1
เช็คจำนวน 7.2 ล้านดอลลาร์ที่สหรัฐอเมริกาใช้ในการซื้ออลาสก้า
1.รัสเซียพ่ายสงครามทางด้านตะวันตก ซึ่งเป็นด้านที่สำคัญต่อประชากรและเศรษฐกิจรัสเซีย ดังนั้นการจะจัดการบริหารทั้งสองด้าน จะเป็นการยากเกินไปหรือไม่?
2.ตะวันออกไกลเป็นดินแดนห่างไกลที่หนาวเหน็บและมีทรัพยากรไม่มาก ค่าครองชีพสำหรับประชากรเพียงไม่กี่รายก็สูงมาก เมืองก็ทรุดโทรม คนหนุ่มสาวต่างหนีหายไปอยู่ที่อื่น การจะรักษาดินแดนนี้ไว้จะคุ้มค่าหรือไม่?
3.ในเมื่อตะวันออกไกลเป็นดินแดนที่บริหารจัดการลำบาก รัสเซียก็ต้องกังวลว่าชาติอื่นจะเข้ามารุกรานหรือไม่?
3
หากเงื่อนไขเหล่านี้ครบ เป็นไปได้หรือไม่ที่รัสเซียจะเดินซ้ำรอยเดิม และขายดินแดนบางส่วนที่ดูแล้วไม่มีค่าออกไป?
1
และใครจะเป็นผู้ซื้อดินแดนที่ว่านั่น และผลที่ตามมาคืออะไร?
เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่น่าคิดและติดตาม
โฆษณา