23 พ.ย. เวลา 00:00 • หนังสือ

บทความ Blockdit ตอน จมไม่ลง

เมื่อผมเป็นเด็กมีสำนวนสองสำนวน คือ ‘โดดร่ม’ กับ ‘ชักดาบ’
‘โดดร่ม’ หมายถึงการเบี้ยวนัด ไม่ไปตามนัด หรือหนีงาน หนีเรียน
1
มีที่มาอย่างไรไม่แน่ชัด
ตอนนี้ไม่ค่อยเห็นใครใช้คำว่า ‘โดดร่ม’ แล้ว
2
แต่คำ ‘ชักดาบ’ ยังพอมีคนเข้าใจอยู่
‘ชักดาบ’ แปลว่าไม่จ่ายค่าสินค้าหรือบริการที่ใช้เรียบร้อยไปแล้ว เช่น กินอาหารแล้วไม่จ่ายเงิน
สำนวนนี้มีที่มาอย่างไรไม่แน่ชัดเหมือนกัน แต่ทฤษฎีที่รับกันคือช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา รัฐบาลไทยตกลงกับญี่ปุ่นให้เป็นทางผ่าน หลังจากนั้นทหารญี่ปุ่นก็ป้วนเปี้ยนทั่วเมืองไทย
1
พ่อผมเคยเล่าว่า ทหารญี่ปุ่นไปเพ่นพ่านแถวหาดใหญ่ ซื้อรองเท้าแล้วจ่ายด้วยเงินพิเศษ เอาไปแลกไม่ได้
1
ทหารญี่ปุ่นทุกคนพกดาบ เป็นสัญลักษณ์ของชาตินักรบ
มีเรื่องเล่าว่าเมื่อกินอาหารเสร็จ ก็ไม่จ่าย เมื่อคนขายทวง ค่าอาหาร ทหารญี่ปุ่นก็ชักดาบออกมาทำนองขู่
น่าจะมีคนทำกันบ่อย จนกลายเป็นที่มาของสำนวน ‘ชักดาบ’
คนไทยก็มีพวกชอบชักดาบ กินแล้วเบี้ยว เคยมีลูกค้ากินแล้ววิ่งหนีออกจากร้าน
แต่ในเรื่องชักดาบค่าอาหาร ไม่มีใครเหนือกว่า โพธิ์เงิน กระตุฤกษ์
ประมาณสี่สิบปีก่อน มีข่าวหนึ่งที่ดังทั่วประเทศ ชายคนหนึ่งแต่งตัวดี สวมสูทผูกไท เข้าภัตตาคารหรูหราราคาแพง สั่งอาหารมาเต็มโต๊ะ หลังจากอิ่มหนำสำราญดีแล้ว ก็บอกเจ้าของร้านไม่มีเงินจ่ายค่าอาหาร
มันไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ชายคนนี้ทำอย่างนี้เป็นนิจศีล เรื่องก็ไปจบที่โรงพักและหรือคุก
บุคคลจริงผู้นี้มีนามว่า โพธิ์เงิน กระตุฤกษ์ เขาทำเช่นนี้นับร้อยครั้ง จนบรรดาร้านอาหารและตำรวจเอือมระอา
เราคงเดาชะตากรรมของเขาออกได้ไม่ยาก นอกจากเข้าคุกแล้ว เขาก็โดนชกต่อย ด่าทอ บางร้านไม่เรียกตำรวจ แถมขนมพิเศษที่ไม่อยู่ในเมนู เรียกว่า ‘ขนมตุ้บตั้บ’ ฟกช้ำดำเขียว
3
แต่เขาก็ไม่เข็ด เขาถือคติ “กินเรื่องใหญ่ ตายเรื่องกลาง ตะรางเรื่องเล็ก”
จุดเด่นคือกินฟรีแล้วไม่จ่ายและไม่หนี
การกินฟรี-ถูกขังเช่นนี้เกิดขึ้นหลายสิบครั้ง เป็นวงจรชีวิตของเขาไปแล้ว
ว่ากันว่าเขามีคดีเบี้ยวหนี้กินหลายสิบครั้ง หรืออาจถึงร้อยครั้ง
นอกจากร้านอาหาร เขายังชอบไปเที่ยวอาบอบนวด หลังผ่อนคลายดีแล้ว ก็บอกว่าไม่มีเงินจ่าย
เจ้าของก็ต้องให้บริการนวดพิเศษแก่เขา น่วมไปทั้งตัว
1
ข่าวการกินฟรีของ โพธิ์เงิน กระตุฤกษ์ เป็นเรื่องปกติในยุคนั้น ชาวบ้านมองข่าวนี้แบบขำๆ พร้อมอุทานว่า “อีกแล้วหรือ?”
หนังสือพิมพ์ก็ชอบข่าวแบบนี้ รายงานอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง เช่น
11 มกราคม พ.ศ. 2526 กินไม่จ่ายที่ร้านแม่พลอย เยาวราช ค่าอาหาร 513 บาท ถูกจับขังคุก
7 กรกฎาคม 2526 กินไม่จ่ายที่ห้องอาหารและใช้บริการอาบอบนวดในอาบอบนวดวิลันดา ศูนย์การค้าออสการ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ค่าอาหารและค่าบริการไม่มีรายงาน ถูกจับขังคุก
25 มกราคม 2528 กินไม่จ่ายที่ห้องอาหารโรส ชั้นสองของโรงภาพยนตร์อินทรา ค่าอาหาร 200 บาท ถูกจับขังคุกแทนค่าปรับสิบวัน
8 กุมภาพันธ์ 2528 กินไม่จ่ายที่ร้านเจ๊ฮ้อ ตลาดโต้รุ่ง ประตูน้ำ ค่าอาหาร 520 บาท ไม่ได้เข้าคุก เพราะถูกซ้อมแทนค่าอาหาร
18 มีนาคม 2528 กินไม่จ่ายที่ร้านอาหารไม่ทราบชื่อ ศาลลงโทษจำคุก 45 วัน ให้คุมความประพฤติเป็นเวลาหนึ่งปี
ใครคือ โพธิ์เงิน กระตุฤกษ์?
เขาเกิดมายากจนข้นแค้น ไม่มีกิน จึงต้องเที่ยวไปกินฟรีตามร้านหรูเช่นนั้นหรือ?
หามิได้
โพธิ์เงิน กระตุฤกษ์ เป็นบุตรชายของ เวช กระตุฤกษ์ เจ้าของสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ ฐานะที่บ้านดี เขาเคยเป็นนักเรียนนอก เรียนที่อังกฤษ
สมัยผมเป็นเด็ก เห็นหนังสือนิยายจำนวนมากติดยี่ห้อสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ เป็นสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงลำดับต้นๆ ของไทย ก่อตั้งในปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สำนักงานตั้งอยู่ที่สี่แยกหลานหลวง เป็นสำนักพิมพ์ที่มีฐานะดี เพราะผลิตหนังสือขายดีมากมาย สำนักพิมพ์นี้ประสบความสำเร็จสูง ตีพิมพ์นิยายมากมาย หลากหลายแนว พิมพ์ครั้งหลายหลายหมื่นเล่ม สร้างนักเขียนจำนวนมาก
แต่ความเสื่อมเป็นกฎธรรมชาติ ในที่สุดสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ก็ล้ม เล่ากันว่าในช่วงท้าย เวช กระตุฤกษ์ ตกต่ำ พยายามตีพิมพ์หนังสือใหม่ๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
แต่โพธิ์เงินมิได้เปลี่ยนวิถีชีวิตสนุกสนาน ยังคงใช้เงินนำทาง ไม่เอาดีในทางใด ไม่ทำงาน เที่ยวเตร่ไปเรื่อยๆ ลงท้ายเป็นนักกินฟรี
2
หลังจากศาลสั่งลงโทษจำคุก 45 วัน คุมความประพฤติหนึ่งปี โพธิ์เงิน กระตุฤกษ์ ก็หายหน้าไปจากวงการกินฟรี ไม่มีใครได้ยินเรื่องราวของเขาอีกเลย
1
ว่าก็ว่าเถอะ มนุษย์อย่าง โพธิ์เงิน กระตุฤกษ์ สร้างความเสียหายในระดับเล็ก คนไม่กี่คนเดือดร้อน และเขาก็ชดใช้ด้วยตะรางและการถูกซ้อม แต่ผู้มีอำนาจจำนวนมากในบ้านเรากินฟรีในระดับประเทศและนโยบาย โดยที่กฎหมายเอื้อมมือไปแตะไม่ถึง
1
ในหนังเรื่อง Tokyo Sonata มนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งตกงานแล้วยังดำเนินชีวิตไปตามปกติ ตื่นเช้าก็แต่งชุดทำงานเข้าเมือง ให้ครอบครัวเข้าใจว่าเขาไปทำงาน ไม่ต้องการให้ครอบครัวรู้ว่าตนตกงาน เพราะไม่สามารถรับสภาพความเปลี่ยนแปลงนี้ได้
ในชีวิตจริง คนจำนวนมากก็ยอมรับภาวะตกต่ำหรือการลดระดับลงไม่ได้
1
คนจำนวนมากตกงานแล้วไม่สามารถ ‘ลดตัว’ ไปทำงานที่ต่ำกว่าได้ เช่น เคยเป็นผู้จัดการ ตกงานครอบครัวเดือดร้อน จะให้ไปขับรถแท็กซี่ ก็รู้สึกว่า ‘ลดตัว’ เกินไป
เรียกว่า “จมไม่ลง”
ชีวิตของโพธิ์เงินเป็นบทเรียนสำหรับคนทุกคน ทัศนคติจมไม่ลงเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขก่อนจะแก้ปัญหาเงินขาดแคลน
1
อาการจมไม่ลงเป็นภาวะทางความคิด ไม่สามารถปล่อยวางและเข้าใจสัจธรรมของความเปลี่ยนแปลงว่า ชีวิตมีขึ้นมีลง
1
มีงานก็ตกงานได้
1
ทางหนึ่งที่เราควรทำเป็นนิสัยคือใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท
1
รู้จักเก็บออม รู้จักประหยัด และเข้าใจโลกว่า ไม่มีอะไรอยู่ยั่งยืนถาวรตลอดกาล
ชีวิตก็เหมือนสภาพอากาศ วันนี้แดดอุ่นสบาย วันรุ่งขึ้นอาจเกิดฝนตกหนัก หรือกระทั่งเกิดพายุใหญ่
เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราจึงเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในทางลบ
1
เมื่อถึงวันฝนตก ก็ยอมรับ เพราะรู้ว่าฝนไม่ตกทุกวัน
คนไทยยุคใหม่เหนื่อยใจเมื่อเจอน้ำท่วม เกิดความทุกข์ ขณะที่คนไทยในยุคก่อนปลูกบ้านมีใต้ถุนเผื่อน้ำท่วม เพราะเมืองไทยเป็นพื้นที่ที่ราบลุ่ม น้ำท่วมเป็นเรื่องปกติ บ้านแต่ละหลังมีเรือแจว เมื่อน้ำมา ก็ใช้เรือสัญจรไปไหนมาไหน เมื่อน้ำลดก็ใช้เท้าเดิน
เพราะเข้าใจว่าความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศเป็นอย่างนั้นเอง ก็ไม่รู้สึกทุกข์ในวันที่ฝนตกหนักและน้ำท่วม
1
โฆษณา